เจ้าหน้าที่สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร และการประปานครหลวง ขุดเปิดถนนพระราม 4 บริเวณแยกวิทยุ ใต้สะพานไทย-เบลเยียม ในจุดที่มีการทรุดตัว ลึกประมาณ 3 เมตร กลางดึกวานนี้ โดยใช้เวลานานกว่า 5 ชั่วโมง พบว่าสาเหตุที่ทำให้ถนนพระราม 4 ทรุดตัว เกิดจากท่อระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร โดยเป็นท่อที่ต่อเชื่อมมาจากทางเท้า ระหว่างรอยต่อของท่อมีลักษณะแตกเป็นช่อง ทำให้น้ำไหลออกมาจากระบบระบายน้ำหลัก และไหลลงสู่อุโมงค์พระราม 4 กลางถนนพระราม 4
ผศ.สุรศักดิ์ ศรลัมพ์ อนุกรรมการสาขาวิศวกรรมปฐพี วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือ วสท. กล่าวว่า เป็นความบกพร่องในการก่อสร้างซ่อมแซม ของผู้รับเหมาในอดีต ที่ทำให้เกิดความเสียหายบริเวณรอยต่อของท่อ และเป็นสาเหตุให้ทรายใต้ถนนไหลไปกับน้ำ จนเกิดเป็นโพรงขนาดใหญ่ และทำให้ถนนทรุดตัว
อนุกรรมการสาขาวิศวกรรมปฐพี วสท. กล่าวด้วยว่า แม้สาเหตุที่พบจะสรุปว่าเกิดขึ้นเฉพาะจุด แต่ถนนหลายสายในกรุงเทพมหานคร ที่มีการซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภคอยู่บ่อยครั้ง ถือเป็นพื้นที่เสี่ยงเกิดเหตุถนนทรุดตัวได้
เบื้องต้น เจ้าหน้าที่สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร เร่งซ่อมแซมรอยแตกของท่อโดยใช้ซีเมนต์ปิดทับ ขณะเจ้าหน้าที่สำนักการโยธา เร่งซ่อมผิวการจราจรให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ ตั้งแต่เวลา 05.00 น.ที่ผ่านมา ส่วนการซ่อมแซมจุดที่พบโพรงใต้ดินเพิ่มเติมบริเวณถนนพระราม 4 ฝั่งขาออก ซึ่งอยู่ใกล้กับจุดเดิมนั้น คาดว่าภายในสัปดาห์หน้า หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะร่วมกันวางแผนดำเนินการซ่อมแซม ต่อไป ขณะเดียวกัน กรุงเทพมหานครจะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสาธารณูปโภค หารือร่วมกันเพื่อวางระบบ และเตรียมเสนอแบบการก่อสร้างถนนบูรณาการ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำขึ้นอีกในอนาคต
สำหรับการตรวจสอบถนนจุดเสี่ยงที่มีการซ่อมแซมถนนและระบบสาธารณูปโภคบ่อยครั้ง มีประมาณ 50 แห่ง ซึ่งสำนักการโยธาธิการ เตรียมนำเสนอที่ประชุมผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ในวันพรุ่งนี้(23 เม.ย.)
ผศ.สุรศักดิ์ ศรลัมพ์ อนุกรรมการสาขาวิศวกรรมปฐพี วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือ วสท. กล่าวว่า เป็นความบกพร่องในการก่อสร้างซ่อมแซม ของผู้รับเหมาในอดีต ที่ทำให้เกิดความเสียหายบริเวณรอยต่อของท่อ และเป็นสาเหตุให้ทรายใต้ถนนไหลไปกับน้ำ จนเกิดเป็นโพรงขนาดใหญ่ และทำให้ถนนทรุดตัว
อนุกรรมการสาขาวิศวกรรมปฐพี วสท. กล่าวด้วยว่า แม้สาเหตุที่พบจะสรุปว่าเกิดขึ้นเฉพาะจุด แต่ถนนหลายสายในกรุงเทพมหานคร ที่มีการซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภคอยู่บ่อยครั้ง ถือเป็นพื้นที่เสี่ยงเกิดเหตุถนนทรุดตัวได้
เบื้องต้น เจ้าหน้าที่สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร เร่งซ่อมแซมรอยแตกของท่อโดยใช้ซีเมนต์ปิดทับ ขณะเจ้าหน้าที่สำนักการโยธา เร่งซ่อมผิวการจราจรให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ ตั้งแต่เวลา 05.00 น.ที่ผ่านมา ส่วนการซ่อมแซมจุดที่พบโพรงใต้ดินเพิ่มเติมบริเวณถนนพระราม 4 ฝั่งขาออก ซึ่งอยู่ใกล้กับจุดเดิมนั้น คาดว่าภายในสัปดาห์หน้า หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะร่วมกันวางแผนดำเนินการซ่อมแซม ต่อไป ขณะเดียวกัน กรุงเทพมหานครจะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสาธารณูปโภค หารือร่วมกันเพื่อวางระบบ และเตรียมเสนอแบบการก่อสร้างถนนบูรณาการ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำขึ้นอีกในอนาคต
สำหรับการตรวจสอบถนนจุดเสี่ยงที่มีการซ่อมแซมถนนและระบบสาธารณูปโภคบ่อยครั้ง มีประมาณ 50 แห่ง ซึ่งสำนักการโยธาธิการ เตรียมนำเสนอที่ประชุมผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ในวันพรุ่งนี้(23 เม.ย.)