สหภาพยุโรป(อียู)มีมติในวันจันทร์(23) ห้ามนำเข้าน้ำมันจากอิหร่าน ตลอดจนบังคับใช้การลงโทษคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอย่างอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง เท่ากับเข้าร่วมกับสหรัฐฯในมาตรการรอบใหม่ซึ่งมุ่ง เพิ่มแรงกดดันให้เตหะรานยุติโครงการนิวเคลียร์และกลับสู่โต๊ะเจรจา ขณะเดียวกัน ในอีกด้านหนึ่ง กองเรือรบอเมริกัน ฝรั่งเศส และอังกฤษ ก็เคลื่อนขบวนผ่านช่องแคบฮอร์มุซ เข้าสู่อ่าวเปอร์เซีย ทั้งนี้หลังจากเตหะรานข่มขู่ที่จะปิดช่องทางเดินเรือยุทธศาสตร์นี้
รัฐมนตรีต่างประเทศ วิลเลียม เฮก ของอังกฤษ กล่าวว่า มติของอียูคราวนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยจะเพิ่มความเข้มแข็งขึ้นอีกมากให้แก่บรรดามาตรการลงโทษคว่ำบาตรอิหร่านทั้งหลาย
ทั้งนี้ภายหลังการเจรจาต่อรองกันอย่างทรหดมาหลายสัปดาห์เกี่ยวกับจังหวะเวลาและเงื่อนไขของการห้ามน้ำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่าน บรรดาเอกอัครราชทูตจาก 27 ชาติสมาชิกอียู ก็บรรลุข้อตกลงทางการเมืองในการหารือช่วงเช้าวันจันทร์ ซึ่งจะส่งต่อให้ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศอียูประกาศอย่างเป็นทางการภายในวันเดียวกันนี้
ข้อตกลงนี้ระบุให้ระงับการนำเข้าน้ำมันดิบอิหร่านทันที แต่ให้ค่อยๆ ยุติสัญญาที่มีอยู่จากนี้จนถึงวันที่ 1 กรกฎาคม
นอกจากนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอียูยังมีแผนคว่ำบาตรธนาคารกลางของอิหร่าน ตลอดจนผลิตภัณฑ์ ปิโตรเคมี และทองคำของอิหร่านอีกด้วย
ที่ผ่านมา อียูอายัดทรัพย์สินบริษัท 433 แห่งและบุคคล 133 ราย ตลอดจนถึงจำกัดการค้าและการลงทุนในอุตสาหกรรมก๊าซและน้ำมัน มาตรการในคราวนี้จึงเป็นการขยับการลงโทษคว่ำบาตรให้แรงขึ้น รวมทั้งคาดกันว่า ยังจะมีการห้ามขายทองคำ เพชร และโลหะมีค่าให้แก่อิหร่าน ตลอดจนห้ามส่งเหรียญกษาปณ์และธนบัตรที่ผลิตใหม่ให้แก่ประเทศนั้น
ช่วง 10 เดือนแรกของปีที่แล้ว อียูนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านราว 600,000 บาร์เรลต่อวัน ทำให้อียูเป็นตลาดสำคัญของเตหะราน เช่นเดียวกับอินเดียและจีน โดยปักกิ่งนั้นปฏิเสธการกดดันจากวอชิงตันซึ่งต้องการตัดรายได้จากน้ำมันของอิหร่าน
เมื่อเข้าร่วมการคว่ำบาตรเช่นนี้ อียูจึงต้องหาซัปพลายเออร์ใหม่ที่สามารถจัดหาน้ำมันให้ได้ในราคาที่ดึงดูดใจเมื่อเทียบกับราคาของอิหร่าน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการติดต่อกับซาอุดีอาระเบีย นอกจากนี้ยังมีความหวังสูงที่ลิเบียจะผลิตน้ำมันเพิ่มได้เร็วๆ นี้
รัฐมนตรีต่างประเทศ วิลเลียม เฮก ของอังกฤษ กล่าวว่า มติของอียูคราวนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยจะเพิ่มความเข้มแข็งขึ้นอีกมากให้แก่บรรดามาตรการลงโทษคว่ำบาตรอิหร่านทั้งหลาย
ทั้งนี้ภายหลังการเจรจาต่อรองกันอย่างทรหดมาหลายสัปดาห์เกี่ยวกับจังหวะเวลาและเงื่อนไขของการห้ามน้ำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่าน บรรดาเอกอัครราชทูตจาก 27 ชาติสมาชิกอียู ก็บรรลุข้อตกลงทางการเมืองในการหารือช่วงเช้าวันจันทร์ ซึ่งจะส่งต่อให้ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศอียูประกาศอย่างเป็นทางการภายในวันเดียวกันนี้
ข้อตกลงนี้ระบุให้ระงับการนำเข้าน้ำมันดิบอิหร่านทันที แต่ให้ค่อยๆ ยุติสัญญาที่มีอยู่จากนี้จนถึงวันที่ 1 กรกฎาคม
นอกจากนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอียูยังมีแผนคว่ำบาตรธนาคารกลางของอิหร่าน ตลอดจนผลิตภัณฑ์ ปิโตรเคมี และทองคำของอิหร่านอีกด้วย
ที่ผ่านมา อียูอายัดทรัพย์สินบริษัท 433 แห่งและบุคคล 133 ราย ตลอดจนถึงจำกัดการค้าและการลงทุนในอุตสาหกรรมก๊าซและน้ำมัน มาตรการในคราวนี้จึงเป็นการขยับการลงโทษคว่ำบาตรให้แรงขึ้น รวมทั้งคาดกันว่า ยังจะมีการห้ามขายทองคำ เพชร และโลหะมีค่าให้แก่อิหร่าน ตลอดจนห้ามส่งเหรียญกษาปณ์และธนบัตรที่ผลิตใหม่ให้แก่ประเทศนั้น
ช่วง 10 เดือนแรกของปีที่แล้ว อียูนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านราว 600,000 บาร์เรลต่อวัน ทำให้อียูเป็นตลาดสำคัญของเตหะราน เช่นเดียวกับอินเดียและจีน โดยปักกิ่งนั้นปฏิเสธการกดดันจากวอชิงตันซึ่งต้องการตัดรายได้จากน้ำมันของอิหร่าน
เมื่อเข้าร่วมการคว่ำบาตรเช่นนี้ อียูจึงต้องหาซัปพลายเออร์ใหม่ที่สามารถจัดหาน้ำมันให้ได้ในราคาที่ดึงดูดใจเมื่อเทียบกับราคาของอิหร่าน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการติดต่อกับซาอุดีอาระเบีย นอกจากนี้ยังมีความหวังสูงที่ลิเบียจะผลิตน้ำมันเพิ่มได้เร็วๆ นี้