นักวิเคราะห์จากบล.เอเซียพลัสมองการแก้ไขปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรปส่อเค้ายุ่งยาก หลังสถาบันจัดอันดับเครดิต S&P มีแผนปรับลดเครดิตเรตติ้งของสมาชิกสหภาพยุโรปเพิ่ม
รายงานข่าวจากฝ่ายวิจัยบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซียพลัส จำกัด กล่าวถึงสถานการณ์เศรษฐกิจของกลุ่มยุโรปว่า ต้นทุนทางการเงินของประเทศในสภาพยุโรปยังมีแนวโน้มผันผวนในทิศทางขาขึ้น และน่าจะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะในสหสภาพยุโรป ตราบที่ S&P สถาบันจัดอันดับเครดิตชั้นนำของโลก ยังมีแผนที่จะปรับลดเครดิตเรตติ้งของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป เนื่องจากการแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มยังล่าช้า
โดยเฉพาะปัญหาหลักอยู่ที่ กรีซ ซึ่งล่าสุดยังมิได้นำเสนอแผนการตัดลดงบประเทศ และ ยังไม่มีข้อสรุปในการชักชวนให้ภาคเอกชน โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการผิดชำระหนี้สาธารณะของกรีซ ซึ่งปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ประกาศลดเครดิตเรตติ้งของ 9 ประเทศ จากจำนวนสมาชิก 17แห่ง และในประเทศที่ปรับลดเครดิตเรตติ้งได้รับประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ติดอัน 2-4 ด้วยคือ ฝรั่งเศส อิตาลี และ สเปน ตามลำดับส่วนที่เหลือเป็นประเทศขนาดเล็ก โดยเฉพาะฝรั่งเศสถูกลดเครดิตเรตติ้งลงจากระดับสูงสุดของโลกคือ AAA เหลือ AA+ (เท่ากับสหรัฐ)เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ S&P ยังมีมุมมองเชิงลบต่อเศรษฐกิจฝรั่งเศส และกังวลต่อตัวเลขอัตราการว่างงานที่สูง 9.3%
ขณะที่ S&Pยังมีแนวโน้มจะปรับลดเครดิตเรตติ้งของประเทศสมาชิกในกลุ่มสภาพยุโรปเพิ่มเติม หากการแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปยังเป็นไปอย่างล่าช้า ทั้งนี้ การปรับลดอันดับเครดิตเรตติ้ง ถือเป็นดัชนีชี้นำเศรษฐกิจที่สำคัญ ซึ่งน่าจะบ่งบอก ทิศทางเศรษฐกิจของประเทศในสภาพยุโรปยังน่าเป็นห่วงในปี 2555 โอกาสที่จะถูกปรับลด GDP Growth ในปี 2555 โดยเฉพาะ IMF คาดว่าจะประกาศตัวเลข GDP Growthของโลกครั้งใหม่ภายในเดือน ม.ค. 2555 ซึ่งประเด็นนี้น่าจะมีส่วนสำคัญที่จะกดดันให้ตลาดหุ้นโลกอยู่ในภาวะปรับฐานต่อไป
อย่างไรก็ตามความกังวลต่อวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรปดังกล่าวข้างต้น กดดันให้ค่าเงินยูโรยังคงดำดิ่งตามคาด โดยล่าสุดอ่อนค่าทำจุดต่ำสุดในรอบ 15 เดือนที่ 1.2651 เหรียญฯต่อยูโร และมีแนวโน้มอ่อนค่าลงสู่แนวรับ 1.25 เหรียญฯต่อยูโร ประกอบกับสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกลางคลี่คลายลงชั่วขณะ กล่าวคือ กลุ่มสหภาพแรงงานไนจีเรีย หยุดประท้วงชั่วคราว และอยู่ในระหว่างการเจรจากับรัฐบาลไนจีเรียเพื่อคลี่คลายความขัดแย้งเรื่องเงินอุดหนุนค่าเชื้อเพลิง และความพยายามของกลุ่มสหภาพยุโรปที่พยายาม ที่จะสกัดกั้นอิหร่านจากการปิดช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันหลักของโลก ราว 18.5% ของกำลังการผลิตทั่วโลก ช่วยลดความกังวลต่อปริมาณน้ำมันดิบในตะวันออกกลางที่จะขาดหายไปชั่วคราว
สำหรับการเคลื่อนไหวของสภาพยุโรป อาจจะทำให้มาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน ต้อง ชะลอออกไปก่อน โดยอาจจะมีผลบังคับใช้หลังจากผ่านพ้นไป 6 เดือน สำหรับน้ำมัน และ 3 เดือน สำหรับมาตรการห้ามการนำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี โดยล่าสุดราคาน้ำมันดิบดูไบลดลงจากระดับ 109 เหรียญฯต่อบาร์เรลในวันศุกร์ที่ 13 มกราคม ลงมาที่ 108 เหรียญฯต่อบาร์เรลในปัจจุบัน ฝ่ายวิจัยเชื่อว่าแนวโน้มราคาน้ำมันในช่วงถัดไปน่าจะแกว่งตัวในทิศทางอ่อนตัวลง ด้วยความเสี่ยงของปัญหาหนี้ในยุโรปเป็นประเด็นหลักที่มีน้ำหนักต่อราคาน้ำมันในปัจจุบัน ยังแนะนำให้นักลงทุนที่ชื่นชอบการลงทุนหุ้นกลุ่มปิโตรเลียม รอการปรับฐานในช่วงถัดไปเพื่อหาจังหวะเข้าลงทุนหุ้นในกลุ่มนี้รอบใหม่
รายงานข่าวจากฝ่ายวิจัยบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซียพลัส จำกัด กล่าวถึงสถานการณ์เศรษฐกิจของกลุ่มยุโรปว่า ต้นทุนทางการเงินของประเทศในสภาพยุโรปยังมีแนวโน้มผันผวนในทิศทางขาขึ้น และน่าจะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะในสหสภาพยุโรป ตราบที่ S&P สถาบันจัดอันดับเครดิตชั้นนำของโลก ยังมีแผนที่จะปรับลดเครดิตเรตติ้งของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป เนื่องจากการแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มยังล่าช้า
โดยเฉพาะปัญหาหลักอยู่ที่ กรีซ ซึ่งล่าสุดยังมิได้นำเสนอแผนการตัดลดงบประเทศ และ ยังไม่มีข้อสรุปในการชักชวนให้ภาคเอกชน โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการผิดชำระหนี้สาธารณะของกรีซ ซึ่งปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ประกาศลดเครดิตเรตติ้งของ 9 ประเทศ จากจำนวนสมาชิก 17แห่ง และในประเทศที่ปรับลดเครดิตเรตติ้งได้รับประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ติดอัน 2-4 ด้วยคือ ฝรั่งเศส อิตาลี และ สเปน ตามลำดับส่วนที่เหลือเป็นประเทศขนาดเล็ก โดยเฉพาะฝรั่งเศสถูกลดเครดิตเรตติ้งลงจากระดับสูงสุดของโลกคือ AAA เหลือ AA+ (เท่ากับสหรัฐ)เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ S&P ยังมีมุมมองเชิงลบต่อเศรษฐกิจฝรั่งเศส และกังวลต่อตัวเลขอัตราการว่างงานที่สูง 9.3%
ขณะที่ S&Pยังมีแนวโน้มจะปรับลดเครดิตเรตติ้งของประเทศสมาชิกในกลุ่มสภาพยุโรปเพิ่มเติม หากการแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปยังเป็นไปอย่างล่าช้า ทั้งนี้ การปรับลดอันดับเครดิตเรตติ้ง ถือเป็นดัชนีชี้นำเศรษฐกิจที่สำคัญ ซึ่งน่าจะบ่งบอก ทิศทางเศรษฐกิจของประเทศในสภาพยุโรปยังน่าเป็นห่วงในปี 2555 โอกาสที่จะถูกปรับลด GDP Growth ในปี 2555 โดยเฉพาะ IMF คาดว่าจะประกาศตัวเลข GDP Growthของโลกครั้งใหม่ภายในเดือน ม.ค. 2555 ซึ่งประเด็นนี้น่าจะมีส่วนสำคัญที่จะกดดันให้ตลาดหุ้นโลกอยู่ในภาวะปรับฐานต่อไป
อย่างไรก็ตามความกังวลต่อวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรปดังกล่าวข้างต้น กดดันให้ค่าเงินยูโรยังคงดำดิ่งตามคาด โดยล่าสุดอ่อนค่าทำจุดต่ำสุดในรอบ 15 เดือนที่ 1.2651 เหรียญฯต่อยูโร และมีแนวโน้มอ่อนค่าลงสู่แนวรับ 1.25 เหรียญฯต่อยูโร ประกอบกับสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกลางคลี่คลายลงชั่วขณะ กล่าวคือ กลุ่มสหภาพแรงงานไนจีเรีย หยุดประท้วงชั่วคราว และอยู่ในระหว่างการเจรจากับรัฐบาลไนจีเรียเพื่อคลี่คลายความขัดแย้งเรื่องเงินอุดหนุนค่าเชื้อเพลิง และความพยายามของกลุ่มสหภาพยุโรปที่พยายาม ที่จะสกัดกั้นอิหร่านจากการปิดช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันหลักของโลก ราว 18.5% ของกำลังการผลิตทั่วโลก ช่วยลดความกังวลต่อปริมาณน้ำมันดิบในตะวันออกกลางที่จะขาดหายไปชั่วคราว
สำหรับการเคลื่อนไหวของสภาพยุโรป อาจจะทำให้มาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน ต้อง ชะลอออกไปก่อน โดยอาจจะมีผลบังคับใช้หลังจากผ่านพ้นไป 6 เดือน สำหรับน้ำมัน และ 3 เดือน สำหรับมาตรการห้ามการนำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี โดยล่าสุดราคาน้ำมันดิบดูไบลดลงจากระดับ 109 เหรียญฯต่อบาร์เรลในวันศุกร์ที่ 13 มกราคม ลงมาที่ 108 เหรียญฯต่อบาร์เรลในปัจจุบัน ฝ่ายวิจัยเชื่อว่าแนวโน้มราคาน้ำมันในช่วงถัดไปน่าจะแกว่งตัวในทิศทางอ่อนตัวลง ด้วยความเสี่ยงของปัญหาหนี้ในยุโรปเป็นประเด็นหลักที่มีน้ำหนักต่อราคาน้ำมันในปัจจุบัน ยังแนะนำให้นักลงทุนที่ชื่นชอบการลงทุนหุ้นกลุ่มปิโตรเลียม รอการปรับฐานในช่วงถัดไปเพื่อหาจังหวะเข้าลงทุนหุ้นในกลุ่มนี้รอบใหม่