นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีคณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักการร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ ที่กระทรวงการคลังกู้ เพื่อช่วยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (เอฟไอดีเอฟ) พ.ศ..... โดยโอนหนี้เอฟไอดีเอฟให้ ธปท.รับผิดชอบเงินต้นและดอกเบี้ย 1.14 ล้านล้านบาท ว่า จะมีผลไปหักล้างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เงินตรา และ พ.ร.บ. ธปท. ที่เกี่ยวข้องกับฐานะของธนาคารกลาง โดยเฉพาะมาตรา 7 (3) ที่ให้โอนเงิน หรือสินทรัพย์ของ ธปท.หรือเอฟไอดีเอฟ เข้าบัญชีตามมาตรา 5 ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ซึ่งทำให้คณะรัฐมนตรี สามารถสั่งให้ ธปท.โอนเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ หรือที่ดิน และทุกอย่างที่เป็นสินทรัพย์ได้ โดยเฉพาะคำว่าสินทรัพย์ของ ธปท.ไม่มีความชัดเจนว่า จะหมายรวมถึงทุนสำรองเงินตราด้วยหรือไม่ จึงเป็นห่วงว่า จะส่งผลกระทบความเชื่อมั่นต่อการทำงานของธนาคารกลางในสายตาต่างชาติ
ส่วนกรณีการออก พ.ร.ก.ให้อำนาจ ธปท.เรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากสถาบันการเงิน สุดท้ายจะส่งผ่านภาระไปยังผู้ฝากเงินที่อาจได้ดอกเบี้ยต่ำกว่าที่ควร หรือผู้กู้เงินอาจถูกเรียกเก็บดอกเบี้ยแพงกว่าที่ควรจะเป็น และอาจทำให้ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ มีความสามารถในการแข่งขันลดลง ส่งผลให้การทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างเงินออมกับนักลงทุนลดประสิทธิภาพลง ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบสถาบันการเงินในอนาคต
ส่วนกรณีการออก พ.ร.ก.ให้อำนาจ ธปท.เรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากสถาบันการเงิน สุดท้ายจะส่งผ่านภาระไปยังผู้ฝากเงินที่อาจได้ดอกเบี้ยต่ำกว่าที่ควร หรือผู้กู้เงินอาจถูกเรียกเก็บดอกเบี้ยแพงกว่าที่ควรจะเป็น และอาจทำให้ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ มีความสามารถในการแข่งขันลดลง ส่งผลให้การทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างเงินออมกับนักลงทุนลดประสิทธิภาพลง ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบสถาบันการเงินในอนาคต