ญี่ปุ่นประสบกับการขาดดุลการค้าในเดือนตุลาคม ทั้งนี้ตามข้อมูลของรัฐบาลที่นำออกเผยแพร่เมื่อวันจันทร์(21) โดยที่อุทกภัยใหญ่ในไทยถูกระบุเป็นสาเหตุประการหนึ่งด้วย เนื่องจากทำให้เกิดการขาดแคลนชิ้นส่วนจนการผลิตทางอุตสาหกรรมชะงักงัน สำหรับปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้แดนอาทิตย์อุทัยตกอยู่ในภาวะส่งออกน้อยกว่านำเข้าในเดือนดังกล่าว ยังได้แก่การที่เงินเยนแข็งโป๊กไม่ยอมเลิก, และอุปสงค์ของทั่วโลกกำลังอ่อนตัวลง
ตามตัวเลขข้อมูลของกระทรวงการคลัง ในเดือนตุลาคม ญี่ปุ่นส่งออกลดลง 3.7% มาอยู่ที่ 5.51 ล้านล้านเยน ถือเป็นการตกลงมาครั้งแรกในรอบ 3 เดือน ขณะที่นำเข้าสูงขึ้น 17.9% มาอยู่ที่ 5.79 ล้านล้านเยน นับเป็นการขยับขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า เป็นเดือนที่ 22 ติดต่อกันแล้ว โดยปัจจัยสำคัญคือราคาของน้ำมันและก๊าซที่สูงขึ้น
ในสภาพเช่นนี้ทำให้เดือนตุลาคม ญี่ปุ่นขาดดุลการค้าเป็นจำนวน 273,800 ล้านเยน (3,600 ล้านดอลลาร์) นับเป็นครั้งแรกในรอบ 2 เดือน และกลับตาลปัตรจากช่วงเดือนเดียวกันของปี 2010 ซึ่งได้เปรียบดุลการค้า 812,600 ล้านเยน อีกทั้งผิดความคาดหมายของพวกนักเศรษฐศาสตร์ ที่สำรวจความคิดเห็นโดยสำนักข่าวดาวโจนส์ นิวส์ไวร์ และหนังสือพิมพ์นิกเกอิ ซึ่งทำนายว่าจะได้เปรียบดุลการค้าเป็นจำนวน 55,600 ล้านเยน
“การส่งออกอ่อนตัวลงเนื่องจากเศรษฐกิจโลกกำลังชะลอตัว ขณะที่การนำเข้ายังคงเพิ่มขึ้นสืบเนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติมีราคาสูงขึ้น ญี่ปุ่นกำลังถลำลงสู่ตัวเลขสีแดงในลักษณะที่น่าวิตกทีเดียว” นักเศรษฐศาสตร์แห่งสถาบันวิจัยไดวา นาม ซาโตชิ โอซานาอิ ให้ความเห็น
ตามตัวเลขข้อมูลของกระทรวงการคลัง ในเดือนตุลาคม ญี่ปุ่นส่งออกลดลง 3.7% มาอยู่ที่ 5.51 ล้านล้านเยน ถือเป็นการตกลงมาครั้งแรกในรอบ 3 เดือน ขณะที่นำเข้าสูงขึ้น 17.9% มาอยู่ที่ 5.79 ล้านล้านเยน นับเป็นการขยับขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า เป็นเดือนที่ 22 ติดต่อกันแล้ว โดยปัจจัยสำคัญคือราคาของน้ำมันและก๊าซที่สูงขึ้น
ในสภาพเช่นนี้ทำให้เดือนตุลาคม ญี่ปุ่นขาดดุลการค้าเป็นจำนวน 273,800 ล้านเยน (3,600 ล้านดอลลาร์) นับเป็นครั้งแรกในรอบ 2 เดือน และกลับตาลปัตรจากช่วงเดือนเดียวกันของปี 2010 ซึ่งได้เปรียบดุลการค้า 812,600 ล้านเยน อีกทั้งผิดความคาดหมายของพวกนักเศรษฐศาสตร์ ที่สำรวจความคิดเห็นโดยสำนักข่าวดาวโจนส์ นิวส์ไวร์ และหนังสือพิมพ์นิกเกอิ ซึ่งทำนายว่าจะได้เปรียบดุลการค้าเป็นจำนวน 55,600 ล้านเยน
“การส่งออกอ่อนตัวลงเนื่องจากเศรษฐกิจโลกกำลังชะลอตัว ขณะที่การนำเข้ายังคงเพิ่มขึ้นสืบเนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติมีราคาสูงขึ้น ญี่ปุ่นกำลังถลำลงสู่ตัวเลขสีแดงในลักษณะที่น่าวิตกทีเดียว” นักเศรษฐศาสตร์แห่งสถาบันวิจัยไดวา นาม ซาโตชิ โอซานาอิ ให้ความเห็น