นายณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจถึงหลักการของนโยบายประชานิยมและรัฐสวัสดิการ ทั้งนี้รัฐสวัสดิการเปรียบเสมือนประชาชนเป็นผู้ลงทุน และให้รัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการ อย่างไรก็ตาม สภาพของสังคมไทยปัจจุบันหากจะดำเนินนโยบายรัฐสวัสดิการจำเป็นต้องยกรายได้และสิทธิต่างๆ ของกลุ่มคนระดับล่าง หรือรากหญ้าให้มีความเท่าเทียมกับผู้ที่มีอำนาจในสังคม ส่วนนโยบายประชานิยมและรัฐสวัสดิการของพรรคการเมืองต่างๆ นับเป็นเรื่องที่ดี แต่เมื่อพิจารณาแล้วพบว่ามีความเป็นไปได้ยาก เพราะไม่ได้ระบุแหล่งที่มาของรายได้ในการดำเนินการ อีกทั้งหากไม่ดูแลจัดการให้ดีจะส่งผลให้ระดับหนี้สาธารณะอยู่ในภาวะเสี่ยง อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าสนใจคือพรรคการเมืองต่างๆ ไม่มีนโยบายเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่มีอำนาจอยู่เหนือตลาด
นายณรงค์ ยังกล่าวอีกว่า จากเศรษฐกิจที่มีความผันผวนอย่างต่อเนื่องและเงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งมีแนวโน้มอ่อนค่าลง เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศ ขณะเดียวกันการค้าในอาเซียนนั้นจะมีความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะในจีน ดังนั้นจึงเสนอให้รัฐบาลใหม่ใช้อัตราแรกเปลี่ยนที่สะดวกต่อการค้าและมีความเสี่ยงน้อยกว่าเงินดอลลาร์สหรัฐ อย่างอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทและเงินหยวน
นายณรงค์ ยังกล่าวอีกว่า จากเศรษฐกิจที่มีความผันผวนอย่างต่อเนื่องและเงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งมีแนวโน้มอ่อนค่าลง เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศ ขณะเดียวกันการค้าในอาเซียนนั้นจะมีความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะในจีน ดังนั้นจึงเสนอให้รัฐบาลใหม่ใช้อัตราแรกเปลี่ยนที่สะดวกต่อการค้าและมีความเสี่ยงน้อยกว่าเงินดอลลาร์สหรัฐ อย่างอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทและเงินหยวน