นายวีรชัย พลาศัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ สรุปการชี้แจงด้วยวาจาต่อศาลโลก ย้ำถึงสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างไทยและกัมพูชาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ว่า เป็นความพยายามในการสร้างสถานการณ์ของกัมพูชา และฝ่ายกัมพูชาก็วางกองกำลังติดอาวุธอยู่ในพื้นที่ตัวปราสาทเช่นเดียวกัน
ขณะที่ฝ่ายกัมพูชาได้นำประเด็นการปะทะตามแนวชายแดนด้านปราสาทตาเมือนธม และปราสาทตาควาย ที่เกิดขึ้น เพื่อพยายามชี้ให้ศาลเห็นว่าเรื่องนี้เกี่ยวเนื่องกับเรื่องเขตแดนบริเวณปราสาทพระวิหาร
อย่างไรก็ตาม ตัวแทนฝ่ายไทยชี้แจงว่า จะไม่มีเหตุการณ์รุนแรงในลักษณะนี้ หากกัมพูชาไม่มีความพยายามในการสร้างสถานการณ์
ประเด็นที่กัมพูชาพยายามให้ศาลพิจารณาคำพิพากษาของศาลโลกเมื่อปี 2505 ซึ่งไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการกำหนดเขตแดนที่ถูกระบุว่าเป็นพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร กัมพูชานั้นอ้างแผนที่ 1:200,000 ตารางกิโลเมตร เพื่อให้ศาลพิจารณาในประเด็นของเขตแดน ซึ่งตัวแทนฝ่ายไทยชี้แจงว่า ศาลโลกไม่มีอำนาจตัดสินกรณีเขตแดนระหว่างไทยและกัมพูชา ซึ่งเป็นข้อตกลงในกลไกแก้ปัญหาร่วมกันในระดับทวิภาคี ตามข้อตกลง หรือ MOU ปี 2543
นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญคือ ไทยและกัมพูชามีกลไกการเจรจาของกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา หรือ เจบีซี และคณะกรรมการชายแดนทั่วไป หรือ จีบีซี ซึ่งได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว
ทั้งนี้ อีก 3 สัปดาห์คาดว่าศาลโลกจะมีผลการพิจารณาในประเด็นที่กัมพูชายื่นคำร้องให้ออกคำสั่งคุ้มครอง
ขณะที่ฝ่ายกัมพูชาได้นำประเด็นการปะทะตามแนวชายแดนด้านปราสาทตาเมือนธม และปราสาทตาควาย ที่เกิดขึ้น เพื่อพยายามชี้ให้ศาลเห็นว่าเรื่องนี้เกี่ยวเนื่องกับเรื่องเขตแดนบริเวณปราสาทพระวิหาร
อย่างไรก็ตาม ตัวแทนฝ่ายไทยชี้แจงว่า จะไม่มีเหตุการณ์รุนแรงในลักษณะนี้ หากกัมพูชาไม่มีความพยายามในการสร้างสถานการณ์
ประเด็นที่กัมพูชาพยายามให้ศาลพิจารณาคำพิพากษาของศาลโลกเมื่อปี 2505 ซึ่งไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการกำหนดเขตแดนที่ถูกระบุว่าเป็นพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร กัมพูชานั้นอ้างแผนที่ 1:200,000 ตารางกิโลเมตร เพื่อให้ศาลพิจารณาในประเด็นของเขตแดน ซึ่งตัวแทนฝ่ายไทยชี้แจงว่า ศาลโลกไม่มีอำนาจตัดสินกรณีเขตแดนระหว่างไทยและกัมพูชา ซึ่งเป็นข้อตกลงในกลไกแก้ปัญหาร่วมกันในระดับทวิภาคี ตามข้อตกลง หรือ MOU ปี 2543
นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญคือ ไทยและกัมพูชามีกลไกการเจรจาของกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา หรือ เจบีซี และคณะกรรมการชายแดนทั่วไป หรือ จีบีซี ซึ่งได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว
ทั้งนี้ อีก 3 สัปดาห์คาดว่าศาลโลกจะมีผลการพิจารณาในประเด็นที่กัมพูชายื่นคำร้องให้ออกคำสั่งคุ้มครอง