นายแพทย์ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายวิชาการเตือนภัยสารเคมีเกษตร เปิดเผยว่า ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป หรือ อียู แจ้งเตือนเกี่ยวกับปัญหาสารเคมีตกค้างในผักและผลไม้ส่งออกจากประเทศไทยมาแล้วหลายครั้ง ในปี 2551 จำนวน 25 ครั้ง ปี 2552 จำนวน 26 ครั้ง และปี 2553 เพิ่มสูงเท่าตัว เป็น 55 ครั้ง แต่หน่วยงานรับผิดชอบของไทยกลับไม่มีมาตรการควบคุม จนทำให้สหภาพยุโรปเตรียมระงับการนำเข้าพืชผักจากไทยหลายชนิด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและผู้ส่งออก แต่ปัญหาที่เครือข่ายฯ เป็นห่วงมากกว่าคือ คุณภาพชีวิตของคนไทย เพราะมาตรฐานการตรวจสารตกค้างในพืชผักภายในประเทศไม่เข้มงวดเท่ากับการตรวจเพื่อส่งออก สะท้อนให้เห็นด้วยสถิติผู้ป่วยโรคมะเร็ง สูงเป็นอันดับ 1 มาหลายปี และพบผู้ป่วยจากสารเคมีเกษตร ปีละ 2-4 แสนราย
ด้านมูลนิธิชีววิถี เห็นว่า ประเทศไทยมีระบบการขึ้นทะเบียนสารเคมีที่ย่อหย่อน โดยอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนการค้าสารเคมีเกษตร กว่า 27,000 รายการ ซึ่งถือว่ามากที่สุดในโลก และรัฐควรใช้วิกฤตนี้เป็นโอกาสในการปรับปรุง พ.ร.บ.วัตถุอันตราย ที่จะต้องมีการขึ้นทะเบียนสารเคมีใหม่ ภายในวันที่ 31 สิงหาคมนี้ ด้วยการแบนสารเคมีการเกษตรที่อันตราย ที่หลายประเทศเลิกใช้ไปแล้ว
ด้านมูลนิธิชีววิถี เห็นว่า ประเทศไทยมีระบบการขึ้นทะเบียนสารเคมีที่ย่อหย่อน โดยอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนการค้าสารเคมีเกษตร กว่า 27,000 รายการ ซึ่งถือว่ามากที่สุดในโลก และรัฐควรใช้วิกฤตนี้เป็นโอกาสในการปรับปรุง พ.ร.บ.วัตถุอันตราย ที่จะต้องมีการขึ้นทะเบียนสารเคมีใหม่ ภายในวันที่ 31 สิงหาคมนี้ ด้วยการแบนสารเคมีการเกษตรที่อันตราย ที่หลายประเทศเลิกใช้ไปแล้ว