นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาช้างเร่ร่อนใน กทม.ว่า หลังจากเริ่มโครงการช้างยิ้ม ซึ่งผลการดำเนินงานถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่หลายฝ่ายยังเป็นกังวลเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตช้างอย่างยั่งยืน หากไม่สามารถทำได้จริงปัญหาช้างเร่ร่อนอาจยังไม่หมดไป คงจะมีเพียงการเคลื่อนย้ายสถานที่ในการออกมาเดินเร่ร่อนเท่านั้น แม้ในพื้นที่ กทม.จะประสบความสำเร็จจากที่เคยมีช้างเข้ามาเร่ร่อนในพื้นที่กว่า 200 เชือก ขณะที่ปัจจุบันนี้มีไม่ถึง 10 เชือก และบางวันไม่มีเลย แต่ยังรู้สึกกังวลในส่วนของพื้นที่จังหวัดปริมณฑลรอบข้าง ที่บรรดาควาญเจ้าของช้างนำช้างย้ายที่ทำกินเข้าสู่พื้นที่ เสมือนเป็นการผลักภาระให้พื้นที่ใกล้เคียงแทน จึงเตรียมเสนอต่อที่ประชุมอนุกรรมาธิการป่าไม้และสัตว์ป่า ในกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา ซึ่งจะมีการประชุมในช่วงเดือนมกราคม 2553 พร้อมเสนอตัวเป็นจังหวัดต้นแบบให้จังหวัดหรือองค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) อื่นๆ เข้ามาศึกษาวิธีการ และแนวทางการแก้ไขปัญหาช้างเร่ร่อนในพื้นที่ต่อไป
ส่วนเรื่องงบประมาณ ต้องเป็นเรื่องของรัฐบาลที่จะต้องช่วยสนับสนุน กทม.คงไม่สามารถช่วยอะไรได้มากนัก นอกจากการให้คำปรึกษาแนะนำตามรูปแบบที่ กทม.ได้ดำเนินการมาจนประสบความสำเร็จ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในคณะกรรมการช้างแห่งชาติของทางรัฐบาล เช่นเดียวกับกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ที่มีหน้าที่ประสานผ่านงบฯ ลงไปยังจังหวัด หรือ อปท.อื่นๆ ที่อยู่ในความดูแลในฐานะหน่วยงานในสังกัด
ทั้งนี้ กทม.อาจช่วยงบประมาณด้านการปลูกพืชอาหารช้างที่ถิ่นกำเนิด คือ จ.สุรินทร์ และบุรีรัมย์ได้บ้าง ในฐานะที่สถาปนาเป็นบ้านพี่เมืองน้องกัน เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
นอกจากนี้ นายธีระชน กล่าวว่า ในช่วงต้นปี 2553 เตรียมหาโอกาสเข้าพบ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เพื่อหารือแนวทางแก้ไขปัญหาช้างเร่ร่อนอย่างยั่งยืน รวมถึงเข้าชี้แจงต่อรัฐสภาเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากโครงการไทยเข้มแข็ง หลังจากรัฐบาลได้ประกาศให้ปัญหาช้างไทยเป็นวาระแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 ก.ย.52
ส่วนเรื่องงบประมาณ ต้องเป็นเรื่องของรัฐบาลที่จะต้องช่วยสนับสนุน กทม.คงไม่สามารถช่วยอะไรได้มากนัก นอกจากการให้คำปรึกษาแนะนำตามรูปแบบที่ กทม.ได้ดำเนินการมาจนประสบความสำเร็จ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในคณะกรรมการช้างแห่งชาติของทางรัฐบาล เช่นเดียวกับกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ที่มีหน้าที่ประสานผ่านงบฯ ลงไปยังจังหวัด หรือ อปท.อื่นๆ ที่อยู่ในความดูแลในฐานะหน่วยงานในสังกัด
ทั้งนี้ กทม.อาจช่วยงบประมาณด้านการปลูกพืชอาหารช้างที่ถิ่นกำเนิด คือ จ.สุรินทร์ และบุรีรัมย์ได้บ้าง ในฐานะที่สถาปนาเป็นบ้านพี่เมืองน้องกัน เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
นอกจากนี้ นายธีระชน กล่าวว่า ในช่วงต้นปี 2553 เตรียมหาโอกาสเข้าพบ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เพื่อหารือแนวทางแก้ไขปัญหาช้างเร่ร่อนอย่างยั่งยืน รวมถึงเข้าชี้แจงต่อรัฐสภาเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากโครงการไทยเข้มแข็ง หลังจากรัฐบาลได้ประกาศให้ปัญหาช้างไทยเป็นวาระแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 ก.ย.52