ยะลา - ที่ปรึกษาสมาคมยุวมุสลิมฯ ออกเสียง “เห็นด้วย” ขบวนการพูโล ตั้งนครรัฐปัตตานี อ้างสามารถแก้ไขปัญหาฐานะบ้านพี่เมืองน้อง แนะควรมีคนกลางเจรจา ยกกรณี ฟิลิปปินส์ โมโร อาเจะห์ ขึ้นเปรียบเทียบ ส่วนอดีตนายกฯ “จิ๋ว” จะเดินทางไปยังมาเลเซียนั้น แค่หวังดี สร้างสันติสุขสู่เมืองไทย
วันนี้ (4 พ.ย.) ที่จังหวัดยะลา นายอาซีส ตาเดอิน ที่ปรึกษาสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย กล่าวถึงการประกาศนโยบายการจัดตั้งนครรัฐปัตตานีของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีต นายกรัฐมนตรีว่า “เป็นแนวคิดที่ดี” ตนเองเห็นด้วย ทำให้หลายๆ กลุ่มเอาจริงเอาจังในการแก้ปัญหาในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้มากยิ่งขึ้น
“ในส่วนของการเสนอแนวความคิดนั้น จริงๆ แล้วในส่วนของภาคประชาชน ค่อนข้างที่จะเห็นด้วย ไม่ว่าจะเป็นการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นมากขึ้น ให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น รัฐบาลเองก็ควรจะเข้ามาจัดการปัญหาทุกอย่างอย่างจริงจัง และใช้ความกล้าหาญ เพราะปัญหาทั้งหมดทางรัฐบาลเองก็ทราบอยู่แล้วว่าเป็นอย่างไร ทางรัฐบาลควรที่จะพบปะพูดคุยกับภาคประชาชนอย่างจริงจัง”
นายอาซีสกล่าวต่อว่า ถ้าหากว่ารัฐบาลคิดว่าประชาชนไม่เห็นด้วย ควรที่จะทำประชามติ หรือประชาพิจารณ์ในเรื่องนี้ เพราะว่า 4-5 ปี ที่ผ่านมา การนำพระราชกำหนดว่าด้วยการบริหารราชในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.) หรือกฎอัยการศึกมาใช้ก็ดี ไม่สามารถที่จะมาแก้ปัญหาได้ การแก้ปัญหาที่ถูกต้องต้องมีความกล้าหาญและให้ประชาชนมีส่วนร่วมให้มากที่สุด
ส่วนในเรื่องที่ทางนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีของไทยได้เชิญ นายนาจิ๊บ ราซัก หรือดาโต๊ะศรีนาจิ๊บ นายกรัฐมนตรีของประเทศมาเลเซีย ในช่วงเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ นายอาซีสได้แสดงทัศนะว่า ในส่วนหนึ่งก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะประเทศมาเลเซียเป็นเหมือนบ้านพี่เมืองน้อง ที่รับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ดี ไม่แพ้คนในประเทศไทย
อีกส่วนหนึ่งคือ ประเทศมาเลเซียกับประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยเป็นมุสลิม เป็นชาวมาลายูเหมือนกัน น่าที่จะรับทราบถึงปัญหา ถ้าประเทศมาเลเซียได้เป็นอย่างดี ในการร่วมมือกันแก้ปัญหา คิดว่าแนวโน้มคงจะดีขึ้นหากรัฐบาลรับฟังข้อคิดเห็น เหมือนกับที่ทาง นายนาจิ๊บออกมาให้สัมภาษณ์ที่อาเซียนว่า ให้พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยให้เป็นเขตปกครองอิสระ
นายอาซีสกล่าวต่อว่า การให้พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยให้เป็นเขตปกครองอิสระนั้น สอดคล้องกับแนวคิดของหลายๆ คนในปัจจุบัน เพราะการปกครองอิสระ “ไม่ใช่เป็นรัฐอิสระ” แต่การกระจายอำนาจต่างๆ ให้ประชาชนมีสิทธิ์ มีเสียงมากขึ้น เพราะการกระจายอำนาจเป็นส่วนหนึ่งของประชาธิปไตย การปกครองพิเศษ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น การส่งเสริมอัตลักษณ์ (Identity) การใช้ภามลายู การใช้วัฒนธรรมท้องถิ่น ตรงนี้ต่างหากที่เป็นประเด็นหลักที่มีความสำคัญ รัฐบาลควรสนใจประเด็นนี้ให้มากที่สุด จึงเป็นเรื่องที่ดี ที่ทางขบวนการพูโล หรือ ขบวนการต่างๆ ที่เคลื่อนไหว อยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มาร่วมพบปะพูดคุย
นายอาซีสเสนอว่า กรณีนี้น่าจะมีคนกลางเข้ามาพูดคุยด้วย เช่น ประเทศมาเลเซีย หรือสหภาพยุโรป ว่าหากมองปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ แล้ว เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ โมโร หรืออาเจะห์ ต้องใช้คนกลาง ต้องมีการไกล่เกลี่ย การพูดคุยกัน เป็นการรับรู้ถึงปัญหา ข้อเสนอแนะ ของแต่ละฝ่าย แนวโน้มน่าจะเป็นสิ่งที่ดี จริงๆ แต่สิ่งที่วิตกคือ รัฐบาลไทย เมื่อเจรจาแล้ว ก็จะยกระดับขบวนการขึ้น แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ รัฐบาลไทยควรที่จะเจรจา เพราะพวกเขาเป็นพวกที่เคลื่อนไหวโดยตรง
ส่วนที่ทาง พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปยังประเทศมาเลเซียนั้น ให้ประเทศมาเชีย มีส่วนร่วม หรือเป็นการเฝ้าสังเกต เป็นแนวโน้มที่ดี เพราะทุกคนมีความหวังดี และมีความคิดที่จะให้ พื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความปกติสุข ต่อไปเหมือนในอดีต
วันนี้ (4 พ.ย.) ที่จังหวัดยะลา นายอาซีส ตาเดอิน ที่ปรึกษาสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย กล่าวถึงการประกาศนโยบายการจัดตั้งนครรัฐปัตตานีของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีต นายกรัฐมนตรีว่า “เป็นแนวคิดที่ดี” ตนเองเห็นด้วย ทำให้หลายๆ กลุ่มเอาจริงเอาจังในการแก้ปัญหาในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้มากยิ่งขึ้น
“ในส่วนของการเสนอแนวความคิดนั้น จริงๆ แล้วในส่วนของภาคประชาชน ค่อนข้างที่จะเห็นด้วย ไม่ว่าจะเป็นการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นมากขึ้น ให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น รัฐบาลเองก็ควรจะเข้ามาจัดการปัญหาทุกอย่างอย่างจริงจัง และใช้ความกล้าหาญ เพราะปัญหาทั้งหมดทางรัฐบาลเองก็ทราบอยู่แล้วว่าเป็นอย่างไร ทางรัฐบาลควรที่จะพบปะพูดคุยกับภาคประชาชนอย่างจริงจัง”
นายอาซีสกล่าวต่อว่า ถ้าหากว่ารัฐบาลคิดว่าประชาชนไม่เห็นด้วย ควรที่จะทำประชามติ หรือประชาพิจารณ์ในเรื่องนี้ เพราะว่า 4-5 ปี ที่ผ่านมา การนำพระราชกำหนดว่าด้วยการบริหารราชในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.) หรือกฎอัยการศึกมาใช้ก็ดี ไม่สามารถที่จะมาแก้ปัญหาได้ การแก้ปัญหาที่ถูกต้องต้องมีความกล้าหาญและให้ประชาชนมีส่วนร่วมให้มากที่สุด
ส่วนในเรื่องที่ทางนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีของไทยได้เชิญ นายนาจิ๊บ ราซัก หรือดาโต๊ะศรีนาจิ๊บ นายกรัฐมนตรีของประเทศมาเลเซีย ในช่วงเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ นายอาซีสได้แสดงทัศนะว่า ในส่วนหนึ่งก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะประเทศมาเลเซียเป็นเหมือนบ้านพี่เมืองน้อง ที่รับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ดี ไม่แพ้คนในประเทศไทย
อีกส่วนหนึ่งคือ ประเทศมาเลเซียกับประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยเป็นมุสลิม เป็นชาวมาลายูเหมือนกัน น่าที่จะรับทราบถึงปัญหา ถ้าประเทศมาเลเซียได้เป็นอย่างดี ในการร่วมมือกันแก้ปัญหา คิดว่าแนวโน้มคงจะดีขึ้นหากรัฐบาลรับฟังข้อคิดเห็น เหมือนกับที่ทาง นายนาจิ๊บออกมาให้สัมภาษณ์ที่อาเซียนว่า ให้พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยให้เป็นเขตปกครองอิสระ
นายอาซีสกล่าวต่อว่า การให้พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยให้เป็นเขตปกครองอิสระนั้น สอดคล้องกับแนวคิดของหลายๆ คนในปัจจุบัน เพราะการปกครองอิสระ “ไม่ใช่เป็นรัฐอิสระ” แต่การกระจายอำนาจต่างๆ ให้ประชาชนมีสิทธิ์ มีเสียงมากขึ้น เพราะการกระจายอำนาจเป็นส่วนหนึ่งของประชาธิปไตย การปกครองพิเศษ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น การส่งเสริมอัตลักษณ์ (Identity) การใช้ภามลายู การใช้วัฒนธรรมท้องถิ่น ตรงนี้ต่างหากที่เป็นประเด็นหลักที่มีความสำคัญ รัฐบาลควรสนใจประเด็นนี้ให้มากที่สุด จึงเป็นเรื่องที่ดี ที่ทางขบวนการพูโล หรือ ขบวนการต่างๆ ที่เคลื่อนไหว อยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มาร่วมพบปะพูดคุย
นายอาซีสเสนอว่า กรณีนี้น่าจะมีคนกลางเข้ามาพูดคุยด้วย เช่น ประเทศมาเลเซีย หรือสหภาพยุโรป ว่าหากมองปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ แล้ว เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ โมโร หรืออาเจะห์ ต้องใช้คนกลาง ต้องมีการไกล่เกลี่ย การพูดคุยกัน เป็นการรับรู้ถึงปัญหา ข้อเสนอแนะ ของแต่ละฝ่าย แนวโน้มน่าจะเป็นสิ่งที่ดี จริงๆ แต่สิ่งที่วิตกคือ รัฐบาลไทย เมื่อเจรจาแล้ว ก็จะยกระดับขบวนการขึ้น แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ รัฐบาลไทยควรที่จะเจรจา เพราะพวกเขาเป็นพวกที่เคลื่อนไหวโดยตรง
ส่วนที่ทาง พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปยังประเทศมาเลเซียนั้น ให้ประเทศมาเชีย มีส่วนร่วม หรือเป็นการเฝ้าสังเกต เป็นแนวโน้มที่ดี เพราะทุกคนมีความหวังดี และมีความคิดที่จะให้ พื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความปกติสุข ต่อไปเหมือนในอดีต