การเสวนาวิกฤตเศรษฐกิจกับผลกระทบของผู้ใช้แรงงาน ทางออกกับความร่วมมือระหว่างรัฐกับขบวนการแรงงาน นางวิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า ภาพรวมการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของรัฐบาลล้มเหลว ภาคแรงงานพยายามเสนอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการที่เป็นที่ยอมรับ ของทั้งภาคนายจ้างและลูกจ้าง ขึ้นมาตรวจสอบสถานประกอบการที่จะเลิกจ้าง เพื่อหาหนทางออกร่วมกัน และให้รัฐจัดตั้งกองทุนสำรองจ่ายเงินให้ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และรัฐค่อยดำเนินการตามกฎหมายกับนายจ้างที่เลิกจ้าง แต่ผ่านไปแล้ว 6 เดือน ข้อเสนอดังกล่าวก็ยังไม่ได้รับการตอบรับ
นอกจากนี้ รัฐบาลไม่มีมาตรการการแก้ไขปัญหาการเลิกจ้าง หรือการปิดกิจการได้ เช่นการลดการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ไม่สามารถแก้ปัญหาการเลิกจ้างได้ รัฐบาลภายใต้ กระทรวงแรงงานไม่รับฟังปัญหาของลูกจ้างเพื่อหาทางออกร่วมกัน แต่กลับผลักดันปัญหาที่เกิดขึ้นเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายอย่างเดียว เช่น โครงการต้นกล้าอาชีพ ก็มีข้อจำกัดทำให้แรงงานไม่สามารถเข้าถึงได้ จึงประเมินผลงานรัฐบาล 6 เดือน ในการแก้ปัญหาแรงงาน คือ สอบไม่ผ่าน
นายชาลี ลอยสูง เลขาธิการสหภาพแรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้า กล่าวว่า การดำเนินงานของศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์และช่วยเหลือคนงานที่มีประมาณ 20 ศูนย์ ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม ถึง 20 สิงหาคม มีแรงงาน 16,467 คน มาร้องทุกข์ ทั้งแรงงานในระบบ แรงงานข้ามชาติ และแรงงานหญิง โดยมีข้อร้องเรียนหลักใน 5 เรื่อง ได้แก่ แรงงานในระบบถูกนายจ้างฉวยโอกาสใช้ข้ออ้างวิกฤตเศรษฐกิจมาเลิกจ้าง และนายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เช่น การลดเวลาทำงาน ลดค่าจ้าง ไม่ได้รับค่าชดเชย ผู้ใช้แรงงานนอกระบบและแรงงานข้ามชาติไม่ได้รับการคุ้มครองจากภาครัฐ ผู้ใช้แรงงานหญิงต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายของสมาชิกในครอบครัวที่ยังไม่สามารถทำงานได้เพิ่มขึ้น และผู้ใช้แรงงานทุกกลุ่มขาดการรับรู้ข้อมูลจากส่วนราชการ และเข้าไม่ถึงการช่วยเหลือจากภาครัฐ
นอกจากนี้ รัฐบาลไม่มีมาตรการการแก้ไขปัญหาการเลิกจ้าง หรือการปิดกิจการได้ เช่นการลดการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ไม่สามารถแก้ปัญหาการเลิกจ้างได้ รัฐบาลภายใต้ กระทรวงแรงงานไม่รับฟังปัญหาของลูกจ้างเพื่อหาทางออกร่วมกัน แต่กลับผลักดันปัญหาที่เกิดขึ้นเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายอย่างเดียว เช่น โครงการต้นกล้าอาชีพ ก็มีข้อจำกัดทำให้แรงงานไม่สามารถเข้าถึงได้ จึงประเมินผลงานรัฐบาล 6 เดือน ในการแก้ปัญหาแรงงาน คือ สอบไม่ผ่าน
นายชาลี ลอยสูง เลขาธิการสหภาพแรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้า กล่าวว่า การดำเนินงานของศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์และช่วยเหลือคนงานที่มีประมาณ 20 ศูนย์ ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม ถึง 20 สิงหาคม มีแรงงาน 16,467 คน มาร้องทุกข์ ทั้งแรงงานในระบบ แรงงานข้ามชาติ และแรงงานหญิง โดยมีข้อร้องเรียนหลักใน 5 เรื่อง ได้แก่ แรงงานในระบบถูกนายจ้างฉวยโอกาสใช้ข้ออ้างวิกฤตเศรษฐกิจมาเลิกจ้าง และนายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เช่น การลดเวลาทำงาน ลดค่าจ้าง ไม่ได้รับค่าชดเชย ผู้ใช้แรงงานนอกระบบและแรงงานข้ามชาติไม่ได้รับการคุ้มครองจากภาครัฐ ผู้ใช้แรงงานหญิงต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายของสมาชิกในครอบครัวที่ยังไม่สามารถทำงานได้เพิ่มขึ้น และผู้ใช้แรงงานทุกกลุ่มขาดการรับรู้ข้อมูลจากส่วนราชการ และเข้าไม่ถึงการช่วยเหลือจากภาครัฐ