xs
xsm
sm
md
lg

ขบวนการแรงงานแนะรัฐ วางโครงสร้างค่าจ้าง-ออก กม.ปรับเงินเดือนทุกปี

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ขบวนการแรงงาน ผลักดันโครงสร้างค่าจ้าง แนะรัฐออก กม.ปรับเงินเดือนทุกปี ชี้ ปัจจุบันแรงงานในกรุงเทพฯ มีค่าจ้างเพียง 215 บาท ซึ่งไม่พอต่อค่าครองชีพ และไม่สามารถเลี้ยงครอบครัวได้
                         

วันนี้ (20 เม.ย.) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และมูลนิธิฟรีดริก เอแบร็ท จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ข้อเสนอแนะในการกำหนดนโยบายค่าจ้างที่เป็นธรรม” ที่ โรงแรมอิสติน มักกะสัน โดยนายชาลี ลอยสูง ประธาน คสรท.กล่าวว่า ปัจจุบันแรงงานในกรุงเทพฯ มีค่าจ้างเพียง 215 บาท ซึ่งไม่พอต่อค่าครองชีพ และไม่สามารถเลี้ยงครอบครัวได้  เพราะราคาสินค้าและอัตราเงินเฟ้อถีบตัวสูงขึ้นมาก ลูกจ้างหลายส่วนเดือดร้อน ต้องทำงานนอกเวลาวันละ 2-3 ชั่วโมง ทำให้มีปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยตามมา ทั้งนี้ คสรท.เคยทำการสำรวจค่าจ้างขั้นต่ำควรจะอยู่ที่ 421 บาท จึงจะพอต่อค่าครองชีพของลูกจ้างและสามารถเลี้ยงครอบครัวได้ 2 คน

นายชาลี กล่าวต่อว่า รัฐบาลต้องทำโครงสร้างอัตราค่าจ้าง เพื่อให้มีค่าจ้างที่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง โดยอาจทำเป็นพระราชบัญญัติกำหนดให้มีกฎหมายปรับขึ้นเงินเดือนของแรงงานในทุกๆ ปี เพราะปัจจุบันยังมีแรงงานหลายส่วนที่ไม่เคยได้รับการขึ้นค่าจ้างประจำปี ได้แต่รอการขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ในส่วนของค่าจ้างขึ้นต่ำควรเปลี่ยนเป็นค่าจ้างแรกเข้าแทน เพราะจะทำให้ลูกจ้างมีความเป็นอยู่ที่ดี

“แนวโน้มของรัฐบาลที่จะปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ถือเป็นสัญญาณที่ดี แต่รัฐบาลต้องทำอย่างรวดเร็ว เพราะการออกมาประกาศแต่ละครั้ง ทำให้พ่อค้าในตลาดถือโอกาสขึ้นราคาสินค้า ทำให้ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น และไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลได้ประกาศขึ้นค่าจ้างให้กับพนักงานรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการแล้ว แต่ยังไม่ประกาศขึ้นค่าจ้างให้กับลูกจ้างเอกชนเสียที” นายชาลี กล่าว

 
นายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กล่าวว่า คณะรัฐบาลโดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีไม่เข้าใจการกำหนดอัตราค่าจ้าง ทำให้การประกาศแต่ละครั้งไม่แน่นอนในเรื่องตัวเลข และการขึ้นอัตราค่างจ้างขั้นต่ำร้อยละ 25 ภายใน 2 ปีนั้น เชื่อว่า ทำไม่ได้ เพราะตัวเลขที่ประกาศออกมาแต่ละครั้ง ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในสังคม

 
ขณะเดียวกัน ขบวนการแรงงานเองต้องชัดเจนในเรื่องการขึ้นค่าจ้างมากกว่านี้ ตัวเลข 421 บาท ที่ทำการสำรวจกันไว้ ยังไม่เคยมีการยืนยันที่แน่นอน ค่าจ้างจึงขึ้นไปไม่ถึงซักที ทั้งนี้แนวโน้มของการขึ้นอัตราค่าข้างขั้นต่ำคาดว่าจะใช้ระยะเวลาอีกนานใน การพัฒนาให้ขึ้นไปถึงตัวเลขที่ตั้งเป้าไว้ ซึ่งขบวนการแรงงานต้องดำเนินการต่อไปเพื่อให้ลูกจ้างได้ค่าจ้างที่เป็นธรรม

 
“หากไม่มีหน่วยงานใดจะเข้ามารับผิดชอบเรื่องโครงสร้างอัตราค่าจ้าง ขบวนการแรงงานต้องทำเองคิดเอง และผลักดันโครงสร้างดังกล่าว เพราะถ้าเราไม่ทำก็คงไม่มีหน่วยงานใดมาทำให้ และคงต้องรอไปอย่างนี้ ทั้งนี้ ควรรีบออกแบบโครงสร้างและกำหนดให้แน่นอนว่าต้องการค่าจ้างขั้นต่ำเท่าไร จากนั้นจึงใช้เป็นฐานในการพัฒนาโครงสร้างต่อไป” นายสาวิทย์ กล่าว

นายอุดมศักดิ์ บุพนิมิตร ประธานสภาองค์การลูกจ้างองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่าเราต้องพยายามผลักดันให้มีโครงสร้างอัตราค่าจ้างที่เป็นธรรม โดยมีอยู่ 2 ช่องทางที่สามารถทำได้ คือ จัดทำเป็น พ.ร.บ.โครงสร้างค่าจ้างแห่งชาติ หรือแทรกในส่วนของมาตรฐานแรงงานไทย (มรท.) เพื่อให้มีโครงสร้างอัตราค่าจ้างที่ตายตัว เป็นหลักประกันค่าจ้างให้กับแรงงานที่จะเข้ามาทำงานในอนาคต

 
นายยงยุทธ เม่นตะเภา ประธานสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ทุกครั้งที่มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ มักจะมาจากภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้เกิดความแน่นอนในค่าครองชีพของแรงงาน เพราะบางทีก็ไม่ได้รับการขึ้นค่าจ้าง  ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละสหภาพในการต่อรองขึ้นค่าจ้างกับนายจ้าง ในส่วนของลูกจ้างอุตสาหกรรมรถยนต์ไม่มีเงินเดือนที่สูง เพียงแต่ใช้ระบบจ้างเหมาค่าแรงเป็นส่วนใหญ่ มีค่าเฉลี่ยเงินเดือนประมาณ 12,000 บาท ที่คนอื่นเห็นว่าแรงงานอุตสาหกรรมรถยนต์มีรายได้สูงนั้น สาเหตุเพราะทำงานนอกเวลากันเยอะ และทำให้แรงงานส่วนใหญ่ไม่มีเวลาอยู่กับครอบครัว เป็นปัญหาสังคมตามมา ทั้งนี้ หากแนวโน้มการทำงานนอกเวลาของแรงงานยังมากเหมือนปัจจุบัน
กำลังโหลดความคิดเห็น