ภาคแรงงาน โวยกองทุน สปส. รีดเงินจากค่าหยาดเหงื่อแรงงานไปเล่นหุ้นต่างประเทศขาดทุนกว่า 40 ล้านบาท แนะบอร์ด ควรพิจารณาตนเอง พร้อมจับตาขนเงินไปนอกอีก 1.9 หมื่นล้านบาท ซื้อหนี้เสียเลห์แมนฯ 19 ก.ย.นี้ เป็นบทเรียนซ้ำซาก ทั้งที่เคยขาดทุนบักโกรกจากหุ้นไทยธนาคาร
นายชาลี ลอยสูง เลขาธิการสหพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิคส์แห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ประสบภาวะขาดทุนกว่า 40 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลกระทบจากบริษัทเลห์แมน บราเธอร์ส ว่า เมื่อ สปส.นำเงินของผู้ประกันตนไปลงทุนแล้วขาดทุน คณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) ควรพิจารณาตัวเองว่าควรบริหารงานต่อหรือไม่ เพราะการนำเงินกองทุนไปลงทุนนั้นจะต้องให้เกิดผลกำไร
ส่วนการที่ สปส.จะนำเงินในกองทุนประกันสังคมไปซื้อหนี้เสียของ บริษัทเลห์แมน ในประเทศไทยนั้น มองว่าจะต้องพิจารณาให้รอบคอบและต้องดูด้วยว่าแนวโน้มการลงทุนในขณะนั้นเป็นอย่างไรมีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน และหากนำเงินกองทุนไปลงทุนแล้วขาดทุนอีก คณะกรรมการประกันสังคม ต้องพิจารณาตัวเองด้วยการลาออก
ด้าน นายบุญสม ทาวิจิตร ประธานกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง กล่าวว่า เรื่องนี้ผู้บริหารและคณะกรรมการประกันสังคม ต้องรับผิดชอบด้วยการลาออก เนื่องจากนำเงินของผู้ประกันตนไปลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยงสูง ส่งผลให้ขาดทุนกว่า 40 ล้านบาท และครั้งนี้ไม่ใช่ความผิดพลาดครั้งแรก เพราะเคยขาดทุนจากการซื้อขายหุ้นของไทยธนาคารมาแล้ว
ทั้งที่ทางเครือข่ายแรงงานเคยคัดค้านมาตลอด แต่ผู้บริหารยังคงไม่รับฟัง ส่วนคณะกรรมการฝ่ายลูกจ้างเองก็ไม่ได้ทำหน้าที่ของตนเองปล่อยให้มีการอนุมัติเงินเป็นจำนวนหลายหมื่นล้านบาทนำไปลงทุนต่างประเทศ ทั้งนี้ยอมรับว่าการลงทุนต้องมีความเสี่ยง แต่สมควรพิจารณาลงทุนในประเภทที่มีความเสี่ยงต่อการขาดทุนน้อยที่สุด
โดยต่อจากนี้ไปกลุ่มองค์กรแรงงานต้องทำหน้าที่ตรวจสอบ สปส.อย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเงินไปลงทุนต่างประเทศ และคณะกรรมการประกันสังคม ควรชะลอการอนุมัติเงินจำนวน 1.9 หมื่นล้านบาท ไปลงทุนในต่างประเทศ ที่ สปส.จะเสนออนุมัติในวันที่ 22 กันยายนนี้
ก่อนหน้านี้ ในส่วนของการซื้อหุ้น ธนาคาร ไทยธนาคาร นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่าสำหรับข่าวที่ลงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ซึ่งสำนักงานประกันสังคมได้ลงทุนซื้อหุ้นธนาคารไทยธนาคาร เพื่อจัดตั้งธนาคารแรงงาน จำนวน 63 ล้านหุ้น หรือราคาเฉลี่ยหุ้นละ 7.59 บาทตลอดเวลาที่ผ่านมาสำนักงานประกันสังคมไม่ได้นิ่งนอนและหาทางแก้ไขปัญหามาโดยตลอด จนกระทั่งได้ความชัดเจนว่ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จะขายหุ้นไทยธนาคารให้กับธนาคาร CIMB ของประเทศมาเลเซีย สำนักงานประกันสังคมจึงได้นำเรื่องนี้เข้าหารือในคณะอนุกรรมการบริหารการลงทุน เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา และคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาแล้ว เพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด และเห็นสมควรหารือกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อขายหุ้นไทยธนาคารให้ CIMB ไปพร้อมๆ กัน
โดยหลักเกณฑ์การลงทุนในหุ้นช่วงที่ผ่านมาของสำนักงานประกันสังคม ณ สิ้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 กองทุนประกันสังคมมีเงินลงทุนรวม 535,485 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นสามัญ 8.78% คิดเป็นเงินลงทุนประมาณ 47,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการประกันสังคม ว่าด้วยการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนประกันสังคม พ.ศ. 2549 ที่ให้ลงทุนในหุ้นได้ไม่เกิน 20% ของเงินกองทุน นับตั้งแต่เริ่มลงทุนในหุ้น กองทุนได้รับผลกำไรจากการลงทุนมาโดยตลอด โดยในครึ่งปีแรกของปี 2551 กองทุนได้รับผลตอบแทนจากหุ้น 1,747 ล้านบาท จากผลตอบแทนรวม 12,285 ล้านบาท
นายสุรินทร์ กล่าวต่อว่า ในฐานะนักลงทุนสถาบัน สำนักงานประกันสังคมตระหนักดีว่า การลงทุนในหุ้นนั้นแม้จะมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาในระยะสั้น แต่หากมีวินัยการลงทุนที่เคร่งครัด คัดเลือกลงทุนเฉพาะในหุ้นของบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานดี เน้นรับผลตอบแทนเป็นเงินปันผล และเน้นลงทุนระยะยาวตั้งแต่ 5-10 ปีขึ้นไป การลงทุนในหุ้นจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในเงินฝากธนาคารและพันธบัตรมาก ซึ่งกองทุนประกันสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีชราภาพจำเป็นต้องแสวงหาดอกผลจากการลงทุนในระดับที่เหมาะสมเพื่อให้กองทุนมีเงินเพียงพอสำหรับการจ่ายบำนาญชราภาพในอนาคต
ดังนั้นในแต่ละปี คณะกรรมการประกันสังคมจะอนุมัติแผนการลงทุนประจำปี ซึ่งจะกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อคัดกรองหุ้นสามัญที่ลงทุนได้ (Stock Universe) โดยพิจารณาคัดเลือกเฉพาะบริษัทที่มีผลประกอบการและปัจจัยพื้นฐานดี และเป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องสูง ซึ่งจากจำนวนหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมดเกือบ 500 บริษัท จะถูกคัดเลือกให้เหลือหุ้นที่ลงทุนได้เพียงประมาณ 70 บริษัท หลังจากนั้น ทีมนักวิเคราะห์และทีมผู้จัดการกองทุนของสำนักงานจะทำการวิเคราะห์ฐานะทางการเงินและความสามารถในการทำกำไรของ 70 บริษัท โดยการเลือกลงทุนในหุ้นตัวใดจะเป็นไปตามราคาและภาวะการลงทุนในแต่ละช่วงตามที่ได้วางกลยุทธ์การลงทุนไว้ ทั้งนี้ หากมีหุ้นที่น่าสนใจลงทุนแต่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อหุ้นที่ลงทุนได้ สำนักงานจะต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการประกันสังคมเป็นรายกรณี
ดังนั้น จากหลักเกณฑ์ที่เข้มงวดข้างต้น ทำให้สำนักงานมีการลงทุนเฉพาะในหุ้นที่มีความมั่นคงและมีปัจจัยพื้นฐานดีเท่านั้น โดยหุ้นสามัญที่กองทุนประกันสังคมลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ บริษัท. ปตท. จำกัด (มหาชน), ธนาคารไทยพาณิชย์, บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน), บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารกรุงเทพ
นายชาลี ลอยสูง เลขาธิการสหพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิคส์แห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ประสบภาวะขาดทุนกว่า 40 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลกระทบจากบริษัทเลห์แมน บราเธอร์ส ว่า เมื่อ สปส.นำเงินของผู้ประกันตนไปลงทุนแล้วขาดทุน คณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) ควรพิจารณาตัวเองว่าควรบริหารงานต่อหรือไม่ เพราะการนำเงินกองทุนไปลงทุนนั้นจะต้องให้เกิดผลกำไร
ส่วนการที่ สปส.จะนำเงินในกองทุนประกันสังคมไปซื้อหนี้เสียของ บริษัทเลห์แมน ในประเทศไทยนั้น มองว่าจะต้องพิจารณาให้รอบคอบและต้องดูด้วยว่าแนวโน้มการลงทุนในขณะนั้นเป็นอย่างไรมีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน และหากนำเงินกองทุนไปลงทุนแล้วขาดทุนอีก คณะกรรมการประกันสังคม ต้องพิจารณาตัวเองด้วยการลาออก
ด้าน นายบุญสม ทาวิจิตร ประธานกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง กล่าวว่า เรื่องนี้ผู้บริหารและคณะกรรมการประกันสังคม ต้องรับผิดชอบด้วยการลาออก เนื่องจากนำเงินของผู้ประกันตนไปลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยงสูง ส่งผลให้ขาดทุนกว่า 40 ล้านบาท และครั้งนี้ไม่ใช่ความผิดพลาดครั้งแรก เพราะเคยขาดทุนจากการซื้อขายหุ้นของไทยธนาคารมาแล้ว
ทั้งที่ทางเครือข่ายแรงงานเคยคัดค้านมาตลอด แต่ผู้บริหารยังคงไม่รับฟัง ส่วนคณะกรรมการฝ่ายลูกจ้างเองก็ไม่ได้ทำหน้าที่ของตนเองปล่อยให้มีการอนุมัติเงินเป็นจำนวนหลายหมื่นล้านบาทนำไปลงทุนต่างประเทศ ทั้งนี้ยอมรับว่าการลงทุนต้องมีความเสี่ยง แต่สมควรพิจารณาลงทุนในประเภทที่มีความเสี่ยงต่อการขาดทุนน้อยที่สุด
โดยต่อจากนี้ไปกลุ่มองค์กรแรงงานต้องทำหน้าที่ตรวจสอบ สปส.อย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเงินไปลงทุนต่างประเทศ และคณะกรรมการประกันสังคม ควรชะลอการอนุมัติเงินจำนวน 1.9 หมื่นล้านบาท ไปลงทุนในต่างประเทศ ที่ สปส.จะเสนออนุมัติในวันที่ 22 กันยายนนี้
ก่อนหน้านี้ ในส่วนของการซื้อหุ้น ธนาคาร ไทยธนาคาร นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่าสำหรับข่าวที่ลงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ซึ่งสำนักงานประกันสังคมได้ลงทุนซื้อหุ้นธนาคารไทยธนาคาร เพื่อจัดตั้งธนาคารแรงงาน จำนวน 63 ล้านหุ้น หรือราคาเฉลี่ยหุ้นละ 7.59 บาทตลอดเวลาที่ผ่านมาสำนักงานประกันสังคมไม่ได้นิ่งนอนและหาทางแก้ไขปัญหามาโดยตลอด จนกระทั่งได้ความชัดเจนว่ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จะขายหุ้นไทยธนาคารให้กับธนาคาร CIMB ของประเทศมาเลเซีย สำนักงานประกันสังคมจึงได้นำเรื่องนี้เข้าหารือในคณะอนุกรรมการบริหารการลงทุน เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา และคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาแล้ว เพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด และเห็นสมควรหารือกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อขายหุ้นไทยธนาคารให้ CIMB ไปพร้อมๆ กัน
โดยหลักเกณฑ์การลงทุนในหุ้นช่วงที่ผ่านมาของสำนักงานประกันสังคม ณ สิ้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 กองทุนประกันสังคมมีเงินลงทุนรวม 535,485 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นสามัญ 8.78% คิดเป็นเงินลงทุนประมาณ 47,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการประกันสังคม ว่าด้วยการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนประกันสังคม พ.ศ. 2549 ที่ให้ลงทุนในหุ้นได้ไม่เกิน 20% ของเงินกองทุน นับตั้งแต่เริ่มลงทุนในหุ้น กองทุนได้รับผลกำไรจากการลงทุนมาโดยตลอด โดยในครึ่งปีแรกของปี 2551 กองทุนได้รับผลตอบแทนจากหุ้น 1,747 ล้านบาท จากผลตอบแทนรวม 12,285 ล้านบาท
นายสุรินทร์ กล่าวต่อว่า ในฐานะนักลงทุนสถาบัน สำนักงานประกันสังคมตระหนักดีว่า การลงทุนในหุ้นนั้นแม้จะมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาในระยะสั้น แต่หากมีวินัยการลงทุนที่เคร่งครัด คัดเลือกลงทุนเฉพาะในหุ้นของบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานดี เน้นรับผลตอบแทนเป็นเงินปันผล และเน้นลงทุนระยะยาวตั้งแต่ 5-10 ปีขึ้นไป การลงทุนในหุ้นจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในเงินฝากธนาคารและพันธบัตรมาก ซึ่งกองทุนประกันสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีชราภาพจำเป็นต้องแสวงหาดอกผลจากการลงทุนในระดับที่เหมาะสมเพื่อให้กองทุนมีเงินเพียงพอสำหรับการจ่ายบำนาญชราภาพในอนาคต
ดังนั้นในแต่ละปี คณะกรรมการประกันสังคมจะอนุมัติแผนการลงทุนประจำปี ซึ่งจะกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อคัดกรองหุ้นสามัญที่ลงทุนได้ (Stock Universe) โดยพิจารณาคัดเลือกเฉพาะบริษัทที่มีผลประกอบการและปัจจัยพื้นฐานดี และเป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องสูง ซึ่งจากจำนวนหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมดเกือบ 500 บริษัท จะถูกคัดเลือกให้เหลือหุ้นที่ลงทุนได้เพียงประมาณ 70 บริษัท หลังจากนั้น ทีมนักวิเคราะห์และทีมผู้จัดการกองทุนของสำนักงานจะทำการวิเคราะห์ฐานะทางการเงินและความสามารถในการทำกำไรของ 70 บริษัท โดยการเลือกลงทุนในหุ้นตัวใดจะเป็นไปตามราคาและภาวะการลงทุนในแต่ละช่วงตามที่ได้วางกลยุทธ์การลงทุนไว้ ทั้งนี้ หากมีหุ้นที่น่าสนใจลงทุนแต่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อหุ้นที่ลงทุนได้ สำนักงานจะต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการประกันสังคมเป็นรายกรณี
ดังนั้น จากหลักเกณฑ์ที่เข้มงวดข้างต้น ทำให้สำนักงานมีการลงทุนเฉพาะในหุ้นที่มีความมั่นคงและมีปัจจัยพื้นฐานดีเท่านั้น โดยหุ้นสามัญที่กองทุนประกันสังคมลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ บริษัท. ปตท. จำกัด (มหาชน), ธนาคารไทยพาณิชย์, บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน), บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารกรุงเทพ