นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธานเปิดเวทีนโยบายสาธารณะ "ร่วมสร้างโรงเรียนให้เป็นพื้นที่ปลอดความรุนแรง" จัดโดยมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ซึ่งมีครูอาจารย์ นักเรียน รวมถึงเครือข่ายองค์กรชุมชน ภาครัฐ และเอกชนเข้าร่วมงาน
นายจุรินทร์ กล่าวว่า กระทรวงฯ พร้อมที่จะรับผลการระดมความเห็นจากเวทีสาธารณะครั้งนี้และพิจารณาสั่งการเชิงนโยบาย เพื่อแก้ปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนที่ในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบยิ่งขึ้น เบื้องต้นต้องมีทั้งการป้องกัน ป้องปราม และลงโทษอย่างรุนแรง โดยเฉพาะการกระทำที่ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะการละเมิดทางเพศต่อเด็กนักเรียน จะปล่อยให้ลอยนวล หรือช่วยกันปกปิดความผิดเพราะเห็นเป็นพวกเดียวกันไม่ได้
นายจุรินทร์ กล่าวว่า หากพบการกระทำรุนแรงต่อนักเรียนภายในโรงเรียน จะถือว่าเป็นความผิดของผู้บริหารโรงเรียน และผู้ที่รับทราบรับรู้ และร่วมกันปกปิดด้วย จะต้องมีการดำเนินคดีและดำเนินการทางจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างเด็ดขาด และด้วยแนวทางการดำเนินโครงการสามดีซึ่งจะเดินหน้าสร้างคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียน ตนเชื่อว่าจะทำให้ความรุนแรงในสถานศึกษาลดลงได้
นอกจากนี้ ภายในงานมีการเผยแพร่ผลสำรวจเกี่ยวกับสถานการณ์ความรุนแรงในโรงเรียนระหว่างนักเรียนด้วยกัน สำรวจเมื่อปี 2549 ในกลุ่มนักเรียนชั้น ป.4-ม.2 ในโรงเรียน 8 จังหวัดทุกภูมิภาค พบว่านักเรียนร้อยละ 40 เคยถูกรังแก โดยพฤติกรรมที่พบมากที่สุด คือ การทำร้ายจิตใจด้วยวาจา เช่น ล้อเลียนให้อับอาย การเหยียดหยามดูถูกเชื้อชาติหรือผิวพรรณ ขณะที่บางส่วนถูกรังแกโดยการแย่งสิ่งของและเงิน โดยนักเรียนชายมีการทำร้ายร่างกาย ขู่บังคับ และรุกรานทางเพศมากกว่านักเรียนหญิง ขณะที่นักเรียนส่วนใหญ่ไม่บอกใครว่าถูกรังแก ขณะที่ครูบางส่วนละเลยที่จะหยุดพฤติกรรมการรังแกกัน
นายจุรินทร์ กล่าวว่า กระทรวงฯ พร้อมที่จะรับผลการระดมความเห็นจากเวทีสาธารณะครั้งนี้และพิจารณาสั่งการเชิงนโยบาย เพื่อแก้ปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนที่ในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบยิ่งขึ้น เบื้องต้นต้องมีทั้งการป้องกัน ป้องปราม และลงโทษอย่างรุนแรง โดยเฉพาะการกระทำที่ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะการละเมิดทางเพศต่อเด็กนักเรียน จะปล่อยให้ลอยนวล หรือช่วยกันปกปิดความผิดเพราะเห็นเป็นพวกเดียวกันไม่ได้
นายจุรินทร์ กล่าวว่า หากพบการกระทำรุนแรงต่อนักเรียนภายในโรงเรียน จะถือว่าเป็นความผิดของผู้บริหารโรงเรียน และผู้ที่รับทราบรับรู้ และร่วมกันปกปิดด้วย จะต้องมีการดำเนินคดีและดำเนินการทางจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างเด็ดขาด และด้วยแนวทางการดำเนินโครงการสามดีซึ่งจะเดินหน้าสร้างคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียน ตนเชื่อว่าจะทำให้ความรุนแรงในสถานศึกษาลดลงได้
นอกจากนี้ ภายในงานมีการเผยแพร่ผลสำรวจเกี่ยวกับสถานการณ์ความรุนแรงในโรงเรียนระหว่างนักเรียนด้วยกัน สำรวจเมื่อปี 2549 ในกลุ่มนักเรียนชั้น ป.4-ม.2 ในโรงเรียน 8 จังหวัดทุกภูมิภาค พบว่านักเรียนร้อยละ 40 เคยถูกรังแก โดยพฤติกรรมที่พบมากที่สุด คือ การทำร้ายจิตใจด้วยวาจา เช่น ล้อเลียนให้อับอาย การเหยียดหยามดูถูกเชื้อชาติหรือผิวพรรณ ขณะที่บางส่วนถูกรังแกโดยการแย่งสิ่งของและเงิน โดยนักเรียนชายมีการทำร้ายร่างกาย ขู่บังคับ และรุกรานทางเพศมากกว่านักเรียนหญิง ขณะที่นักเรียนส่วนใหญ่ไม่บอกใครว่าถูกรังแก ขณะที่ครูบางส่วนละเลยที่จะหยุดพฤติกรรมการรังแกกัน