กลุ่มกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดกิจกรรมเก็บขยะในลำน้ำตามโครงการคืนรอยยิ้มสู่สายน้ำ เจ้าพระยาปลอดมลพิษ โดยมีชาวบ้านที่สนใจ และเครือข่ายกรีนพีซ กว่า 300 คน ร่วมเก็บขยะในลำน้ำบริเวณคลองคูเมือง เขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ไปจนถึงปากน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา รวมระยะทางกว่า 2 กิโลเมตร และมีแผนเก็บขยะด้วยการพายเรือจากแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ ไปจนถึงกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้เพื่อรณรงค์ให้ภาคประชาชน และท้องถิ่น ตระหนักถึงปัญหามลพิษทางน้ำ และเฝ้าระวังแหล่งกำเนิดมลพิษในทุกรูปแบบ
นายพลาย ภิรมย์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสารพิษ กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดเผยว่า กรีนพีซ ได้ตรวจสอบและศึกษาผลกระทบของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่จังหวัดอ่างทอง มาจนถึงจังหวัดสมุทรปราการ พบว่า โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งปล่อยสารพิษอันตรายปนเปื้อนมากับน้ำทิ้งลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะสะสมในระบบนิเวศและปนเปื้อนในห่วงโซ่อาหาร จึงเรียกร้อง 4 ข้อ ให้รัฐบาลบังคับใช้กฎหมายกับโรงงานอุตสาหกรรมโดยให้ทุกแห่งเปิดเผยข้อมูลปริมาณการปล่อยสารพิษสู่สิ่งแวดล้อม เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการกำหนดเป้าหมายลดการใช้สารเคมีอันตรายในกระบวนการผลิต ตรวจหา ลงโทษ และปิดโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยน้ำทิ้งปนเปื้อนสารเคมีอันตรายลงสู่แหล่งน้ำ ปิดหลุมฝังกลบขยะชุมชนบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งหมด และดำเนินโครงการฟื้นฟูแม่น้ำเจ้าพระยาโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
นอกจากนี้ กรีนพีซยังตรวจสอบพบว่า น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ ไปจนถึงจังหวัดสมุทรปราการ มีการปนเปื้อนของสารเคมีตลอดสาย แต่จุดที่อันตรายที่สุด คือ บริเวณ จ.สมุทปราการ เนื่องจากมีน้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรมลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาจำนวนมาก ที่สำคัญจังหวัดสมุทรปราการ ยังเป็นท้ายน้ำที่เป็นจุดรวมของแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนไหลลงสู่อ่าวไทย ทำให้ตะกอนและสารพิษไปรวมตัวกันอยู่เป็นจำนวนมากเช่นกัน
นายพลาย ภิรมย์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสารพิษ กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดเผยว่า กรีนพีซ ได้ตรวจสอบและศึกษาผลกระทบของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่จังหวัดอ่างทอง มาจนถึงจังหวัดสมุทรปราการ พบว่า โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งปล่อยสารพิษอันตรายปนเปื้อนมากับน้ำทิ้งลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะสะสมในระบบนิเวศและปนเปื้อนในห่วงโซ่อาหาร จึงเรียกร้อง 4 ข้อ ให้รัฐบาลบังคับใช้กฎหมายกับโรงงานอุตสาหกรรมโดยให้ทุกแห่งเปิดเผยข้อมูลปริมาณการปล่อยสารพิษสู่สิ่งแวดล้อม เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการกำหนดเป้าหมายลดการใช้สารเคมีอันตรายในกระบวนการผลิต ตรวจหา ลงโทษ และปิดโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยน้ำทิ้งปนเปื้อนสารเคมีอันตรายลงสู่แหล่งน้ำ ปิดหลุมฝังกลบขยะชุมชนบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งหมด และดำเนินโครงการฟื้นฟูแม่น้ำเจ้าพระยาโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
นอกจากนี้ กรีนพีซยังตรวจสอบพบว่า น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ ไปจนถึงจังหวัดสมุทรปราการ มีการปนเปื้อนของสารเคมีตลอดสาย แต่จุดที่อันตรายที่สุด คือ บริเวณ จ.สมุทปราการ เนื่องจากมีน้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรมลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาจำนวนมาก ที่สำคัญจังหวัดสมุทรปราการ ยังเป็นท้ายน้ำที่เป็นจุดรวมของแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนไหลลงสู่อ่าวไทย ทำให้ตะกอนและสารพิษไปรวมตัวกันอยู่เป็นจำนวนมากเช่นกัน