กรีนพีซ - กรีนพีซเปิดเผยรายงานพื้นที่ และแหล่งน้ำที่เสี่ยงต่อการเกิดมลพิษทางน้ำในประเทศไทย ระบุประเทศไทยมีพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดมลพิษทางน้ำมากกว่าร้อยละ 92.68 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยเป็นพื้นที่เสี่ยงในระดับสูงร้อยละ 6.87 ของพื้นที่เสี่ยงทั้งหมด และโดยเฉลี่ยอาจสามารถส่งผลกระทบต่อประชากรได้มากถึง 4,440,049 คน
รายงาน “พื้นที่และแหล่งน้ำที่เสี่ยงต่อการเกิดมลพิษทางน้ำในประเทศไทย” เป็นการศึกษาโดยกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้วิธีการบูรณาการเทคนิคทางด้าน GIS และความรู้ทางด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อวิเคราะห์หาพื้นที่และแหล่งน้ำที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมลพิษทางน้ำ (1) ผลการศึกษาพบว่าจังหวัดที่มีพื้นที่เสี่ยงในระดับสูงต่อการเกิดมลพิษทางน้ำมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สมุทรสาคร ชลบุรี และระยอง
“ปัญหาการเพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษทางน้ำ การใช้สารเคมีทั้งในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม และปริมาณความหนาแน่นของประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดวิกฤตมลพิษทางน้ำ (2) บริเวณที่มีความเสี่ยงในระดับสูงส่วนใหญ่พบบริเวณที่มีความเป็นเมืองและอุตสาหกรรมสูง แม้จะเป็นอัตราส่วนไม่มากเมื่อเทียบกับพื้นที่ทั้งประเทศ แต่กลับส่งผลกระทบสูง เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น” นายพลาย ภิรมย์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสารพิษ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว
การศึกษาได้แบ่งระดับความเสี่ยงต่อการเกิดมลพิษทางน้ำเป็น 4 ระดับคือ ความเสี่ยงสูง ปานกลาง ต่ำ และไม่มีความเสี่ยง ข้อมูลศึกษาตามรายภาคพบว่า ภาคตะวันออกมีสัดส่วนพื้นที่เสี่ยงในระดับสูงมากที่สุดคือ ร้อยละ 35.64 ของพื้นที่ทั้งหมด รองลงมาคือภาคกลาง ร้อยละ 15.89 ของพื้นที่ทั้งหมด
ทั้งนี้กว่าร้อยละ 99 ของหมู่บ้านในประเทศไทยที่ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้แหล่งน้ำ มีความเสี่ยงจากมลพิษทางน้ำ ในจำนวนดังกล่าว พบความเสี่ยงในระดับสูงมีมากถึงร้อยละ 41.64 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประชากรเฉลี่ยมากถึง 4,440,049 คน
ในรายงานการศึกษายังระบุว่าจังหวัดระยองมีพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมลพิษทางน้ำในระดับสูงมากถึงร้อยละ 97.78 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด มีหมู่บ้านที่ได้รับความเสี่ยงในระดับสูง 302 แห่งหรือคิดเป็นร้อยละ 78.44 ของหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหามลพิษทางน้ำ ส่งผลกระทบต่อประชากรได้ถึง 454,551 คน ดังนั้นการประกาศบริเวณอุตสาหกรรมในจังหวัดระยองเป็นเขตควบคุมมลพิษ จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นและควรเร่งดำเนินการอย่างเร่งด่วน
สำหรับแหล่งน้ำที่มีความเสี่ยงในระดับสูงต่อการเกิดมลพิษทางน้ำ พบในภาคกลาง 7 สาย ภาคตะวันออก 8 สาย ภาคเหนือ 14 สายและแหล่งน้ำนิ่ง 2 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 14 สายและแหล่งน้ำนิ่ง 5 แห่ง ในจำนวนดังกล่าวนี้ มีแหล่งน้ำหลายแห่งที่ปัจจุบันยังไม่มีรายงานว่าพบปัญหาด้านคุณภาพแหล่งน้ำ แต่มีความเสี่ยงในระดับสูงที่อาจเกิดปัญหามลพิษทางน้ำได้ในอนาคต
“แหล่งน้ำที่มีความเสี่ยงในระดับสูงล้วนเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญมากของประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมถึงเป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคของประเทศ นอกจากนี้ปริมาณน้ำจืดต่อคนของคนไทยมีน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน กรีนพีซจึงเรียกร้องให้รัฐบาลลงมือแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำอย่างจริงจัง เพื่อปกป้องแหล่งน้ำของประเทศให้ปราศจากมลพิษ” นายพลายกล่าวเพิ่มเติม
**หมายเหตุ
ดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่ http://www.greenpeace.org/seasia/th/press/reports/water-pollution-risk-areas-thailand
ดาวน์โหลดรายงานฉบับย่อได้ที่ http://www.greenpeace.org/seasia/th/press/reports/water-pollution-risk-areas-thailand-briefing
รายงาน “พื้นที่และแหล่งน้ำที่เสี่ยงต่อการเกิดมลพิษทางน้ำในประเทศไทย” เป็นการศึกษาโดยกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้วิธีการบูรณาการเทคนิคทางด้าน GIS และความรู้ทางด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อวิเคราะห์หาพื้นที่และแหล่งน้ำที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมลพิษทางน้ำ (1) ผลการศึกษาพบว่าจังหวัดที่มีพื้นที่เสี่ยงในระดับสูงต่อการเกิดมลพิษทางน้ำมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สมุทรสาคร ชลบุรี และระยอง
“ปัญหาการเพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษทางน้ำ การใช้สารเคมีทั้งในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม และปริมาณความหนาแน่นของประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดวิกฤตมลพิษทางน้ำ (2) บริเวณที่มีความเสี่ยงในระดับสูงส่วนใหญ่พบบริเวณที่มีความเป็นเมืองและอุตสาหกรรมสูง แม้จะเป็นอัตราส่วนไม่มากเมื่อเทียบกับพื้นที่ทั้งประเทศ แต่กลับส่งผลกระทบสูง เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น” นายพลาย ภิรมย์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสารพิษ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว
การศึกษาได้แบ่งระดับความเสี่ยงต่อการเกิดมลพิษทางน้ำเป็น 4 ระดับคือ ความเสี่ยงสูง ปานกลาง ต่ำ และไม่มีความเสี่ยง ข้อมูลศึกษาตามรายภาคพบว่า ภาคตะวันออกมีสัดส่วนพื้นที่เสี่ยงในระดับสูงมากที่สุดคือ ร้อยละ 35.64 ของพื้นที่ทั้งหมด รองลงมาคือภาคกลาง ร้อยละ 15.89 ของพื้นที่ทั้งหมด
ทั้งนี้กว่าร้อยละ 99 ของหมู่บ้านในประเทศไทยที่ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้แหล่งน้ำ มีความเสี่ยงจากมลพิษทางน้ำ ในจำนวนดังกล่าว พบความเสี่ยงในระดับสูงมีมากถึงร้อยละ 41.64 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประชากรเฉลี่ยมากถึง 4,440,049 คน
ในรายงานการศึกษายังระบุว่าจังหวัดระยองมีพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมลพิษทางน้ำในระดับสูงมากถึงร้อยละ 97.78 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด มีหมู่บ้านที่ได้รับความเสี่ยงในระดับสูง 302 แห่งหรือคิดเป็นร้อยละ 78.44 ของหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหามลพิษทางน้ำ ส่งผลกระทบต่อประชากรได้ถึง 454,551 คน ดังนั้นการประกาศบริเวณอุตสาหกรรมในจังหวัดระยองเป็นเขตควบคุมมลพิษ จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นและควรเร่งดำเนินการอย่างเร่งด่วน
สำหรับแหล่งน้ำที่มีความเสี่ยงในระดับสูงต่อการเกิดมลพิษทางน้ำ พบในภาคกลาง 7 สาย ภาคตะวันออก 8 สาย ภาคเหนือ 14 สายและแหล่งน้ำนิ่ง 2 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 14 สายและแหล่งน้ำนิ่ง 5 แห่ง ในจำนวนดังกล่าวนี้ มีแหล่งน้ำหลายแห่งที่ปัจจุบันยังไม่มีรายงานว่าพบปัญหาด้านคุณภาพแหล่งน้ำ แต่มีความเสี่ยงในระดับสูงที่อาจเกิดปัญหามลพิษทางน้ำได้ในอนาคต
“แหล่งน้ำที่มีความเสี่ยงในระดับสูงล้วนเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญมากของประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมถึงเป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคของประเทศ นอกจากนี้ปริมาณน้ำจืดต่อคนของคนไทยมีน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน กรีนพีซจึงเรียกร้องให้รัฐบาลลงมือแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำอย่างจริงจัง เพื่อปกป้องแหล่งน้ำของประเทศให้ปราศจากมลพิษ” นายพลายกล่าวเพิ่มเติม
**หมายเหตุ
ดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่ http://www.greenpeace.org/seasia/th/press/reports/water-pollution-risk-areas-thailand
ดาวน์โหลดรายงานฉบับย่อได้ที่ http://www.greenpeace.org/seasia/th/press/reports/water-pollution-risk-areas-thailand-briefing