นายพิชัย ชุณหวชิร ประธานคณะกรรมการบริหารแผนฟื้นฟูธุรกิจของการบินไทย เปิดเผยว่า การบินไทย ได้จัดทำแผนฟื้นฟูธุรกิจแล้วเสร็จ และได้นำเสนอให้แก่กระทรวงคมนาคมและกระทรวงการคลังแล้ว เมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา ทั้งนี้สาระสำคัญในแผนฟื้นฟูธุรกิจของการบินไทย แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่
แผนฟื้นฟูธุรกิจระยะเร่งด่วน ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ การรักษาและเพิ่มคุณภาพรายได้ ทั้งในด้านราคาและผลิตภัณฑ์ ซึ่งเน้นเกี่ยวกับการปรับปรุงการขาย ด้วยการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายและการบริหารรายได้ การควบคุมค่าใช้จ่ายและการลงทุน โดยตั้งเป้าลดค่าใช้จ่ายในปี 2552 เป็นเงินประมาณ 10,000 ล้านบาท โดยเน้นการลดค่าใช้จ่ายการดำเนินการอื่นที่ไม่เกี่ยวกับค่าน้ำมันเชื้อเพลิงการบิน แต่ให้คงรักษามาตรฐานด้านความปลอดภัย และการให้บริการที่เป็นเลิศไว้ นอกจากนี้ในแผนดังกล่าว ยังมุ่งเน้นการปรับปรุงการบริหารความเสี่ยงจากต้นทุนเชื้อเพลิง และอัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงการชะลอการลงทุนที่ไม่จำเป็นเร่งด่วน และการสร้างความมั่นใจให้แก่ตลาดเงิน ตลาดทุน รวมทั้งการดูแลสภาพคล่องของกิจการ ทั้งนี้ แผนเร่งด่วนจะต้องดำเนินการในทันที และให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมภายในปี 2552 นี้
แผนฟื้นฟูระยะที่ 2 เป็นกรอบแนวทางที่จะดำเนินการจัดทำต่อไป ทั้งนี้ แนวทางในแผนฟื้นฟูระยะที่ 2 ประกอบด้วย การจัดทำยุทธศาสตร์เครือข่ายการบินและฝูงบิน การปรับโครงสร้างธุรกิจและโครงสร้างต้นทุน การพัฒนาองค์กร บุคลากรและวัฒนธรรม การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการปรับโครงสร้างทางการเงินระยะยาว ทั้งนี้แผนฟื้นฟูระยะที่ 2 ดังกล่าว จะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2-3 ปี ซึ่งจะต้องดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงจะเห็นผลสำเร็จเป็นรูปธรรม
นอกจากนี้ คณะกรรมการบริหารแผนฟื้นฟูธุรกิจ ยังได้แต่งตั้งคณะทำงานชุดต่างๆ เพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนให้การดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูธุรกิจของการบินไทย บรรลุวัตถุประสงค์และสัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายและกรอบเวลาที่กำหนด ได้แก่ คณะทำงานวางแผนการเงิน คณะทำงานพิจารณาเครือข่ายการบินและฝูงบิน คณะทำงานปรับปรุงรายได้ คณะทำงานลดค่าใช้จ่าย คณะทำงานด้านงานประชาสัมพันธ์ และคณะทำงานสนับสนุนการบริหารจัดการแผนฟื้นฟูธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม จากการดำเนินการจัดทำแผนฟื้นฟูธุรกิจนี้ การบินไทย หวังว่าจะได้รับการสนับสนุนเชิงนโยบายจากภาครัฐ ทั้งกระทรวงคมนาคม และกระทรวงการคลัง ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มั่นใจว่า การบินไทยจะสามารถนำแผนฟื้นฟูนี้สู่การปฏิบัติ และประสบผลสำเร็จด้วยดี ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กร รวมถึงการสร้างความเชื่อถือจากผู้ใช้บริการ เพื่อให้การบินไทยเป็นสายการบินชั้นนำของโลกต่อไป
แผนฟื้นฟูธุรกิจระยะเร่งด่วน ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ การรักษาและเพิ่มคุณภาพรายได้ ทั้งในด้านราคาและผลิตภัณฑ์ ซึ่งเน้นเกี่ยวกับการปรับปรุงการขาย ด้วยการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายและการบริหารรายได้ การควบคุมค่าใช้จ่ายและการลงทุน โดยตั้งเป้าลดค่าใช้จ่ายในปี 2552 เป็นเงินประมาณ 10,000 ล้านบาท โดยเน้นการลดค่าใช้จ่ายการดำเนินการอื่นที่ไม่เกี่ยวกับค่าน้ำมันเชื้อเพลิงการบิน แต่ให้คงรักษามาตรฐานด้านความปลอดภัย และการให้บริการที่เป็นเลิศไว้ นอกจากนี้ในแผนดังกล่าว ยังมุ่งเน้นการปรับปรุงการบริหารความเสี่ยงจากต้นทุนเชื้อเพลิง และอัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงการชะลอการลงทุนที่ไม่จำเป็นเร่งด่วน และการสร้างความมั่นใจให้แก่ตลาดเงิน ตลาดทุน รวมทั้งการดูแลสภาพคล่องของกิจการ ทั้งนี้ แผนเร่งด่วนจะต้องดำเนินการในทันที และให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมภายในปี 2552 นี้
แผนฟื้นฟูระยะที่ 2 เป็นกรอบแนวทางที่จะดำเนินการจัดทำต่อไป ทั้งนี้ แนวทางในแผนฟื้นฟูระยะที่ 2 ประกอบด้วย การจัดทำยุทธศาสตร์เครือข่ายการบินและฝูงบิน การปรับโครงสร้างธุรกิจและโครงสร้างต้นทุน การพัฒนาองค์กร บุคลากรและวัฒนธรรม การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการปรับโครงสร้างทางการเงินระยะยาว ทั้งนี้แผนฟื้นฟูระยะที่ 2 ดังกล่าว จะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2-3 ปี ซึ่งจะต้องดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงจะเห็นผลสำเร็จเป็นรูปธรรม
นอกจากนี้ คณะกรรมการบริหารแผนฟื้นฟูธุรกิจ ยังได้แต่งตั้งคณะทำงานชุดต่างๆ เพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนให้การดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูธุรกิจของการบินไทย บรรลุวัตถุประสงค์และสัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายและกรอบเวลาที่กำหนด ได้แก่ คณะทำงานวางแผนการเงิน คณะทำงานพิจารณาเครือข่ายการบินและฝูงบิน คณะทำงานปรับปรุงรายได้ คณะทำงานลดค่าใช้จ่าย คณะทำงานด้านงานประชาสัมพันธ์ และคณะทำงานสนับสนุนการบริหารจัดการแผนฟื้นฟูธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม จากการดำเนินการจัดทำแผนฟื้นฟูธุรกิจนี้ การบินไทย หวังว่าจะได้รับการสนับสนุนเชิงนโยบายจากภาครัฐ ทั้งกระทรวงคมนาคม และกระทรวงการคลัง ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มั่นใจว่า การบินไทยจะสามารถนำแผนฟื้นฟูนี้สู่การปฏิบัติ และประสบผลสำเร็จด้วยดี ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กร รวมถึงการสร้างความเชื่อถือจากผู้ใช้บริการ เพื่อให้การบินไทยเป็นสายการบินชั้นนำของโลกต่อไป