นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงผลการพบหารือกับ ส.ส. จิมส์ แมคเดอมอด นางบาร์บารา ไวเซิล และนายสแตนฟอร์ด แมคคอย ผู้ช่วยผู้แทนการค้าสหรัฐ และองค์กรภาคประชาชน เมื่อวันที่ 11 มีนาคมที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา ว่า ได้แจ้งให้นายแมคเดอมอด ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอาวุโสของสหรัฐ ซึ่งเป็นพันธมิตรของไทยมานาน และสนับสนุนการใช้ CL ตลอดจนให้สหรัฐ ต่ออายุ GSP ให้แก่ไทย ได้เข้าใจ และเชื่อมั่นในสถานการณ์การเมืองของไทยที่กลับคืนสู่ประชาธิปไตย ซึ่งนายแมคเดอม็อดขานรับว่าจะสนับสนุนไทยต่อไป
ทั้งในเรื่อง GSP การขยายการค้าการลงทุนระหว่างกัน ตลอดจนสนับสนุนให้สหรัฐถอดไทยจากบัญชีประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ ( PWL) ซึ่งตนจะได้มีจดหมายแจ้งให้ ส.ส. และ ส.ว. ของสหรัฐ ได้ทราบความคืบหน้าเรื่องการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของไทย เพื่อขอเสียงสนับสนุนจาก ส.ส. และ ส.ว. อีกทางหนึ่งด้วย ทั้งนี้ นายแมดเดอมอดประเมินว่า สหรัฐ น่าจะปลดไทยออกจากการจัดสถานะตามมาตรา 301 พิเศษได้
สำหรับการหารือกับนางบาบาร์รา ผู้ช่วยผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ได้มีการหารือเรื่องความสัมพันธ์ทางการค้าของสองประเทศ เช่น โครงการไทยแลนด์โมเดล ที่จะดึงให้นักลงทุนสหรัฐ ใช้ไทยเป็นฐานการผลิตสินค้าแบรนด์เนม และขอบคุณที่ USTR ช่วยผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามผลการพิจารณาของ WTO เรื่องการยกเลิกมาตรการ zeroing กับ c-bond กับสินค้ากุ้งแช่แข็งส่งออกของไทย และสนับสนุนการต่ออายุสิทธิพิเศษทางภาษี GSP ให้สินค้าไทยที่ส่งออกไปสหรัฐฯ เช่น เม็ดพลาสติก กระเบื้องปูพื้น ธัญพืช
ทั้งนี้ USTR ให้ความสนใจในนโยบายของอาเซียน โดยเฉพาะปีนี้เป็นปีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีของไทย ดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน ทำให้ไทยมีบทบาทสำคัญในการดำเนินการเพื่อผลักดันให้อาเซียนเป็นประชาคมเศรษฐกิจในปี ค.ศ. 2015 ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งสหรัฐได้ให้ความสนใจในเรื่องลอจิสติกส์ของอาเซียน โดยเฉพาะการเชื่อมเส้นทางโทรคมนาคมในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง คือ พม่า จีน ลาว เวียดนาม กัมพูชา และไทย เพื่อให้ภูมิภาคนี้เป็นศูนย์กลางโทรคมนาคมขนส่งและธุรกิจต่อเนื่อง
นายอลงกรณ์ กล่าวอีกว่า ยังได้ชี้แจงให้สหรัฐ ทราบถึงนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาเป็นนโยบายแห่งชาติ โดยรัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการนโยบายด้านการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และตนเป็นรองประธาน ซึ่งได้ดำเนินการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างต่อเนื่องและจริงจังมาตลอด 2 เดือนที่รัฐบาลชุดนี้เข้ามาทำงาน จึงขอให้สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ พิจารณาข้อเท็จจริง และถอดไทยจากบัญชี PWL ต่อไป
ทั้งนี้ นางบาร์บาราเห็นว่าไทยมีความตั้งใจจริงในการแก้ไขปัญหา และเห็นว่าทั้งสองฝ่ายน่าจะมีการหารือร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการ โดยตนจะเดินทางไปเยือนไทยในช่วงปลายเดือนมีนาคมนี้ เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือระหว่างกันต่อไป
นอกจากนี้ ยังได้พบกับองค์กรภาคประชาชนของสหรัฐฯ เช่น องค์กรเคอีไอ (Knowledge Ecology International) Essential Action และมหาวิทยาลัยอเมริกัน เป็นต้น ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนไทยและประเทศกำลังพัฒนาให้ใช้ CL แก่ปัญหาการเข้าถึงยา ซึ่งตัวแทนองค์กรดังกล่าวได้ชื่นชมประเทศไทย และไทยจะทำหนังสือแจ้งให้สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ได้ประเมินปรับสถานะและถอดไทยจากบัญชี PWL ด้วย และยังได้มอบนโยบายให้กับหัวหน้าสำนักงานของส่วนราชการต่างๆ ที่ประจำอยู่ ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี ให้หาแนวทางใหม่ๆ ที่จะช่วยเพิ่มการส่งออกไทยไปสหรัฐ เช่น โครงการ Thailand Model การร่วมลงทุน การตั้งศูนย์กระจายสินค้า เป็นต้น
ทั้งในเรื่อง GSP การขยายการค้าการลงทุนระหว่างกัน ตลอดจนสนับสนุนให้สหรัฐถอดไทยจากบัญชีประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ ( PWL) ซึ่งตนจะได้มีจดหมายแจ้งให้ ส.ส. และ ส.ว. ของสหรัฐ ได้ทราบความคืบหน้าเรื่องการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของไทย เพื่อขอเสียงสนับสนุนจาก ส.ส. และ ส.ว. อีกทางหนึ่งด้วย ทั้งนี้ นายแมดเดอมอดประเมินว่า สหรัฐ น่าจะปลดไทยออกจากการจัดสถานะตามมาตรา 301 พิเศษได้
สำหรับการหารือกับนางบาบาร์รา ผู้ช่วยผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ได้มีการหารือเรื่องความสัมพันธ์ทางการค้าของสองประเทศ เช่น โครงการไทยแลนด์โมเดล ที่จะดึงให้นักลงทุนสหรัฐ ใช้ไทยเป็นฐานการผลิตสินค้าแบรนด์เนม และขอบคุณที่ USTR ช่วยผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามผลการพิจารณาของ WTO เรื่องการยกเลิกมาตรการ zeroing กับ c-bond กับสินค้ากุ้งแช่แข็งส่งออกของไทย และสนับสนุนการต่ออายุสิทธิพิเศษทางภาษี GSP ให้สินค้าไทยที่ส่งออกไปสหรัฐฯ เช่น เม็ดพลาสติก กระเบื้องปูพื้น ธัญพืช
ทั้งนี้ USTR ให้ความสนใจในนโยบายของอาเซียน โดยเฉพาะปีนี้เป็นปีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีของไทย ดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน ทำให้ไทยมีบทบาทสำคัญในการดำเนินการเพื่อผลักดันให้อาเซียนเป็นประชาคมเศรษฐกิจในปี ค.ศ. 2015 ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งสหรัฐได้ให้ความสนใจในเรื่องลอจิสติกส์ของอาเซียน โดยเฉพาะการเชื่อมเส้นทางโทรคมนาคมในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง คือ พม่า จีน ลาว เวียดนาม กัมพูชา และไทย เพื่อให้ภูมิภาคนี้เป็นศูนย์กลางโทรคมนาคมขนส่งและธุรกิจต่อเนื่อง
นายอลงกรณ์ กล่าวอีกว่า ยังได้ชี้แจงให้สหรัฐ ทราบถึงนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาเป็นนโยบายแห่งชาติ โดยรัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการนโยบายด้านการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และตนเป็นรองประธาน ซึ่งได้ดำเนินการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างต่อเนื่องและจริงจังมาตลอด 2 เดือนที่รัฐบาลชุดนี้เข้ามาทำงาน จึงขอให้สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ พิจารณาข้อเท็จจริง และถอดไทยจากบัญชี PWL ต่อไป
ทั้งนี้ นางบาร์บาราเห็นว่าไทยมีความตั้งใจจริงในการแก้ไขปัญหา และเห็นว่าทั้งสองฝ่ายน่าจะมีการหารือร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการ โดยตนจะเดินทางไปเยือนไทยในช่วงปลายเดือนมีนาคมนี้ เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือระหว่างกันต่อไป
นอกจากนี้ ยังได้พบกับองค์กรภาคประชาชนของสหรัฐฯ เช่น องค์กรเคอีไอ (Knowledge Ecology International) Essential Action และมหาวิทยาลัยอเมริกัน เป็นต้น ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนไทยและประเทศกำลังพัฒนาให้ใช้ CL แก่ปัญหาการเข้าถึงยา ซึ่งตัวแทนองค์กรดังกล่าวได้ชื่นชมประเทศไทย และไทยจะทำหนังสือแจ้งให้สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ได้ประเมินปรับสถานะและถอดไทยจากบัญชี PWL ด้วย และยังได้มอบนโยบายให้กับหัวหน้าสำนักงานของส่วนราชการต่างๆ ที่ประจำอยู่ ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี ให้หาแนวทางใหม่ๆ ที่จะช่วยเพิ่มการส่งออกไทยไปสหรัฐ เช่น โครงการ Thailand Model การร่วมลงทุน การตั้งศูนย์กระจายสินค้า เป็นต้น