นายภักดิ์ ทองส้ม รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยถึงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคการค้าและบริการ เดือนมกราคม 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2551 พบว่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 43.0 จากระดับ 44.4 ซึ่งเป็นการลดลงเกือบทุกประเภทกิจการ
ทั้งนี้ ภาคการค้าปลีกและภาคบริการ ค่าดัชนีปรับตัวลดลงอยู่ที่ 43.1 และ 42.6 จากระดับ 44.5 และ 44.5 ส่วนภาคการค้าส่ง ค่าดัชนีคงตัวอยู่ที่ 44.0 ในส่วนความเชื่อมั่นต่อธุรกิจตนเอง ค่าดัชนีปรับตัวลดลงอยู่ที่ 33.6 จากระดับ 39.3 ขณะที่ความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจประเทศ ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 24.6 จากระดับ 20.8
สำหรับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ค่าดัชนีในเดือน มกราคม 2552 ปรับตัวลดลงนั้น มีผลมาจากสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจภายในประเทศที่เริ่มได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกชัดเจนมากขึ้นผ่านการส่งออกของไทยที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551 เป็นต้นมา ส่งผลให้กิจการที่ผลิตสินค้า เพื่อการส่งออกหลายแห่งมีการปลดคนงาน ประกอบกับระดับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งผลมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และการที่รัฐบาลจะเริ่มเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมัน นับเป็นแรงกดดันต่อต้นทุนการประกอบธุรกิจในเดือนนี้ ซึ่งส่งผลกระทบในเชิงจิตวิทยาต่อผู้ประกอบการในด้านต้นทุน
นอกจากนี้ การสิ้นสุดระยะเวลาของโครงการ 6 มาตรการ 6 เดือน ยังส่งผลกระทบในเชิงจิตวิทยาของผู้บริโภคในการระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น
ทั้งนี้ ภาคการค้าปลีกและภาคบริการ ค่าดัชนีปรับตัวลดลงอยู่ที่ 43.1 และ 42.6 จากระดับ 44.5 และ 44.5 ส่วนภาคการค้าส่ง ค่าดัชนีคงตัวอยู่ที่ 44.0 ในส่วนความเชื่อมั่นต่อธุรกิจตนเอง ค่าดัชนีปรับตัวลดลงอยู่ที่ 33.6 จากระดับ 39.3 ขณะที่ความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจประเทศ ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 24.6 จากระดับ 20.8
สำหรับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ค่าดัชนีในเดือน มกราคม 2552 ปรับตัวลดลงนั้น มีผลมาจากสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจภายในประเทศที่เริ่มได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกชัดเจนมากขึ้นผ่านการส่งออกของไทยที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551 เป็นต้นมา ส่งผลให้กิจการที่ผลิตสินค้า เพื่อการส่งออกหลายแห่งมีการปลดคนงาน ประกอบกับระดับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งผลมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และการที่รัฐบาลจะเริ่มเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมัน นับเป็นแรงกดดันต่อต้นทุนการประกอบธุรกิจในเดือนนี้ ซึ่งส่งผลกระทบในเชิงจิตวิทยาต่อผู้ประกอบการในด้านต้นทุน
นอกจากนี้ การสิ้นสุดระยะเวลาของโครงการ 6 มาตรการ 6 เดือน ยังส่งผลกระทบในเชิงจิตวิทยาของผู้บริโภคในการระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น