สสว. เผยดัชนี TSSI SMEs ประจำเดือนตุลาคม เพิ่มขึ้นทั้งปัจจุบันและคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า เป็น 43.3 และ 46.8 ชี้ธุรกิจที่มีค่าดัชนีเพิ่มขึ้นระดับสูงอยู่ในกลุ่ม บริการขนส่ง และค้าปลีกรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ผลจากราคาน้ำมันในประเทศที่ลดต่ำลงมาก ฉุดให้ต้นทุนประกอบกิจการและค่าครองชีพของประชาชนลดลง คาด 3 เดือนข้างหน้า ภาคการค้า และบริการยังโตต่อเนื่อง
นายภักดิ์ ทองส้ม รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยถึง ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคการค้าและบริการ (Trade & Service Sentiment Index : TSSI) ประจำเดือนตุลาคม 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน ที่ผ่านมา พบว่า ดัชนี TSSI SMEs รวมภาคการค้าและบริการ ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 43.3 จากระดับ 41.8 โดยภาคการค้าปลีก และภาคบริการ ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 44.0 และ 43.5 จากระดับ 41.7 และ 42.1 ขณะที่ภาคการค้าส่ง ค่าดัชนีปรับตัวลดลงเล็กน้อย อยู่ที่ 40.6 จากระดับ 41.3 ส่วนความเชื่อมั่นต่อธุรกิจตนเองค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 42.4 จากระดับ 40.0 ขณะที่ความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจประเทศปรับตัวลดลงอยู่ที่ 28.3 จากระดับ 29.7
“ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ค่าดัชนีความเชื่อมั่นของเดือนตุลาคม ปรับตัวเพิ่มขึ้น ยังคงมีผลมาจากระดับราคาน้ำมันขายปลีกภายในประเทศที่ปรับตัวลดลงอย่างมาก เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ส่งผลดีต่อทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภค เพราะทำให้มีต้นทุนในการประกอบกิจการลดลงเช่นเดียวกับค่าครองชีพของประชาชนที่ลดลง แต่ปัจจัยลบยังคงเป็นเรื่องของสถานการณ์ทางการเมือง ที่บั่นทอนความเชื่อมั่นด้านต่างๆ ในปัจจุบัน” นายภักดิ์ กล่าว
โดยเมื่อพิจารณาแยกเป็นประเภทกิจการ พบว่า ภาคการค้าปลีก กิจการค้าปลีกรถยนต์ รถจักรยานยนต์ มีค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด อยู่ที่ 43.4 จากระดับ 40.6 (เพิ่มขึ้น 2.8) โดยมีผลมาจากการที่ยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์ในช่วง 9 เดือนแรกของปี ยังคงขยายตัวค่อนข้างดี ประกอบกับราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นเพิ่มมากขึ้น
ส่วนภาคบริการ กิจการด้านการขนส่ง มีค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด และนับว่าเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับทุกประเภทกิจการที่ทำการสำรวจ ที่สำคัญยังเป็นสาขาเดียวที่ค่าดัชนีเกินกว่า 50 โดยมีค่าดัชนีอยู่ที่ 52.1 จากระดับ 45.6 (เพิ่มขึ้น 6.5) ซึ่งมีผลมาจากราคาค้าปลีกน้ำมันในภายประเทศที่ปรับตัวลดลงมาก ส่งผลดีต่อกิจการขนส่งเนื่องจากน้ำมันนับเป็นต้นทุนหลักสำคัญของธุรกิจ
ขณะที่ภาคการค้าส่ง เป็นกลุ่มที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลง โดยมีกิจการค้าส่งสินค้าเกษตร มีค่าดัชนีปรับตัวลดลงมากที่สุดอยู่ที่ 42.4 จากระดับ 43.2 (ลดลง 0.8) ซึ่งมีผลมาจากสินค้าเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา และปาล์มน้ำมัน มีระดับราคาปรับตัวลดลงมากซึ่งเป็นไปตามความต้องการของอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ลดลง
ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า รวมภาคการค้าและบริการ ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ 46.8 จากระดับ 46.5 โดยภาคการค้าส่ง และภาคการค้าปลีก ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 46.5 และ 47.1 จากระดับ 45.5 และ 46.5 ส่วนภาคบริการ ปรับตัวลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ 46.6 จากระดับ 46.9 ขณะที่ความเชื่อมั่นต่อธุรกิจประเทศ และธุรกิจตนเอง ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 41.5 และ 49.4 จากระดับ 40.4 และ 48.6 ตามลำดับ
นายภักดิ์ ทองส้ม รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยถึง ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคการค้าและบริการ (Trade & Service Sentiment Index : TSSI) ประจำเดือนตุลาคม 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน ที่ผ่านมา พบว่า ดัชนี TSSI SMEs รวมภาคการค้าและบริการ ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 43.3 จากระดับ 41.8 โดยภาคการค้าปลีก และภาคบริการ ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 44.0 และ 43.5 จากระดับ 41.7 และ 42.1 ขณะที่ภาคการค้าส่ง ค่าดัชนีปรับตัวลดลงเล็กน้อย อยู่ที่ 40.6 จากระดับ 41.3 ส่วนความเชื่อมั่นต่อธุรกิจตนเองค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 42.4 จากระดับ 40.0 ขณะที่ความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจประเทศปรับตัวลดลงอยู่ที่ 28.3 จากระดับ 29.7
“ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ค่าดัชนีความเชื่อมั่นของเดือนตุลาคม ปรับตัวเพิ่มขึ้น ยังคงมีผลมาจากระดับราคาน้ำมันขายปลีกภายในประเทศที่ปรับตัวลดลงอย่างมาก เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ส่งผลดีต่อทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภค เพราะทำให้มีต้นทุนในการประกอบกิจการลดลงเช่นเดียวกับค่าครองชีพของประชาชนที่ลดลง แต่ปัจจัยลบยังคงเป็นเรื่องของสถานการณ์ทางการเมือง ที่บั่นทอนความเชื่อมั่นด้านต่างๆ ในปัจจุบัน” นายภักดิ์ กล่าว
โดยเมื่อพิจารณาแยกเป็นประเภทกิจการ พบว่า ภาคการค้าปลีก กิจการค้าปลีกรถยนต์ รถจักรยานยนต์ มีค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด อยู่ที่ 43.4 จากระดับ 40.6 (เพิ่มขึ้น 2.8) โดยมีผลมาจากการที่ยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์ในช่วง 9 เดือนแรกของปี ยังคงขยายตัวค่อนข้างดี ประกอบกับราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นเพิ่มมากขึ้น
ส่วนภาคบริการ กิจการด้านการขนส่ง มีค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด และนับว่าเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับทุกประเภทกิจการที่ทำการสำรวจ ที่สำคัญยังเป็นสาขาเดียวที่ค่าดัชนีเกินกว่า 50 โดยมีค่าดัชนีอยู่ที่ 52.1 จากระดับ 45.6 (เพิ่มขึ้น 6.5) ซึ่งมีผลมาจากราคาค้าปลีกน้ำมันในภายประเทศที่ปรับตัวลดลงมาก ส่งผลดีต่อกิจการขนส่งเนื่องจากน้ำมันนับเป็นต้นทุนหลักสำคัญของธุรกิจ
ขณะที่ภาคการค้าส่ง เป็นกลุ่มที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลง โดยมีกิจการค้าส่งสินค้าเกษตร มีค่าดัชนีปรับตัวลดลงมากที่สุดอยู่ที่ 42.4 จากระดับ 43.2 (ลดลง 0.8) ซึ่งมีผลมาจากสินค้าเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา และปาล์มน้ำมัน มีระดับราคาปรับตัวลดลงมากซึ่งเป็นไปตามความต้องการของอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ลดลง
ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า รวมภาคการค้าและบริการ ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ 46.8 จากระดับ 46.5 โดยภาคการค้าส่ง และภาคการค้าปลีก ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 46.5 และ 47.1 จากระดับ 45.5 และ 46.5 ส่วนภาคบริการ ปรับตัวลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ 46.6 จากระดับ 46.9 ขณะที่ความเชื่อมั่นต่อธุรกิจประเทศ และธุรกิจตนเอง ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 41.5 และ 49.4 จากระดับ 40.4 และ 48.6 ตามลำดับ