สสว. เผยดัชนี TSSI SMEs ประจำเดือนกันยายน เพิ่มขึ้นทั้งปัจจุบันและคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า เป็น 41.8 และ 46.5 และเพิ่มขึ้นทุกประเภทกิจการ โดยธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน ครองแชมป์เพิ่มขึ้นมากที่สุด รองลงมาคือ ค้าส่งวัสดุก่อสร้าง บริการการท่องเที่ยว และร้านอาหาร/ภัตตาคาร เหตุระดับราคาน้ำมันลดลงต่อเนื่อง
นายภักดิ์ ทองส้ม รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยถึง ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคการค้าและบริการ (Trade & Service Sentiment Index : TSSI) ประจำเดือนกันยายน 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา พบว่า ดัชนี TSSI SMEs รวมภาคการค้าและบริการ ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 41.8 จากระดับ 40.3 ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกประเภทกิจการ โดยภาคการค้าส่ง ภาคการค้าปลีก และภาคบริการ ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 41.3 41.7 และ 42.1 จากระดับ 38.1 40.4 และ 41.0 ขณะที่ความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจประเทศและธุรกิจตนเอง ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกันอยู่ที่ 29.7 และ 40.0 จากระดับ 25.1 และ 35.9 ตามลำดับ
“ดัชนีความเชื่อมั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือนกันยายนนี้ มีปัจจัยสำคัญมาจากระดับราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีผลมาจากการใช้ 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาล ประกอบกับระดับราคาน้ำมันในตลาดโลกก็ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนของผู้ประกอบการลดลง รวมทั้งค่าครองชีพของประชาชนลดลงซึ่งเป็นการเพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชนอีกด้วย นอกจากนี้ยังเป็นช่วงที่เริ่มเข้าสู่ฤดูการท่องเที่ยว ส่งผลให้นักท่องเที่ยวทยอยเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น” นายภักดิ์ กล่าว
โดยเมื่อพิจารณาแยกเป็นประเภทกิจการ พบว่า ในภาคการค้าส่ง กิจการค้าส่งวัสดุก่อสร้าง มีค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดอยู่ที่ 38.6 จากระดับ 34.7 (เพิ่มขึ้น 3.9) เนื่องจากราคาวัสดุก่อสร้างโดยเฉพาะเหล็ก มีราคาปรับตัวลดลง ซึ่งมีผลมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลง ประกอบกับปริมาณเหล็กในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ส่วนภาคการค้าปลีก กิจการสถานีบริการน้ำมัน มีค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด และนับว่าเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับทุกประเภทกิจการที่ทำการสำรวจ โดยอยู่ที่ 48.5 จากระดับ 41.6 (เพิ่มขึ้น 6.9) โดยมีผลมาจากระดับราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง
ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า รวมภาคการค้าและบริการ ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 46.5 จากระดับ 45.5 และเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกประเภทกิจการ โดยภาคการค้าส่ง ภาคการค้าปลีก และภาคบริการ ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 45.5 46.5 และ 46.9 จากระดับ 45.1 44.3 และ 46.8 ตามลำดับ
นายภักดิ์ ทองส้ม รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยถึง ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคการค้าและบริการ (Trade & Service Sentiment Index : TSSI) ประจำเดือนกันยายน 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา พบว่า ดัชนี TSSI SMEs รวมภาคการค้าและบริการ ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 41.8 จากระดับ 40.3 ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกประเภทกิจการ โดยภาคการค้าส่ง ภาคการค้าปลีก และภาคบริการ ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 41.3 41.7 และ 42.1 จากระดับ 38.1 40.4 และ 41.0 ขณะที่ความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจประเทศและธุรกิจตนเอง ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกันอยู่ที่ 29.7 และ 40.0 จากระดับ 25.1 และ 35.9 ตามลำดับ
“ดัชนีความเชื่อมั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือนกันยายนนี้ มีปัจจัยสำคัญมาจากระดับราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีผลมาจากการใช้ 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาล ประกอบกับระดับราคาน้ำมันในตลาดโลกก็ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนของผู้ประกอบการลดลง รวมทั้งค่าครองชีพของประชาชนลดลงซึ่งเป็นการเพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชนอีกด้วย นอกจากนี้ยังเป็นช่วงที่เริ่มเข้าสู่ฤดูการท่องเที่ยว ส่งผลให้นักท่องเที่ยวทยอยเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น” นายภักดิ์ กล่าว
โดยเมื่อพิจารณาแยกเป็นประเภทกิจการ พบว่า ในภาคการค้าส่ง กิจการค้าส่งวัสดุก่อสร้าง มีค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดอยู่ที่ 38.6 จากระดับ 34.7 (เพิ่มขึ้น 3.9) เนื่องจากราคาวัสดุก่อสร้างโดยเฉพาะเหล็ก มีราคาปรับตัวลดลง ซึ่งมีผลมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลง ประกอบกับปริมาณเหล็กในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ส่วนภาคการค้าปลีก กิจการสถานีบริการน้ำมัน มีค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด และนับว่าเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับทุกประเภทกิจการที่ทำการสำรวจ โดยอยู่ที่ 48.5 จากระดับ 41.6 (เพิ่มขึ้น 6.9) โดยมีผลมาจากระดับราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง
ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า รวมภาคการค้าและบริการ ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 46.5 จากระดับ 45.5 และเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกประเภทกิจการ โดยภาคการค้าส่ง ภาคการค้าปลีก และภาคบริการ ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 45.5 46.5 และ 46.9 จากระดับ 45.1 44.3 และ 46.8 ตามลำดับ