นายแพทย์วิชัย ขัตติยวิทยากุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) นครราชสีมา เปิดเผยว่า ในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงจากหนาวช่วงกลางคืนถึงเช้ามืด สลับกับอากาศร้อนในช่วงกลางวัน สสจ.นครราชสีมา ขอเตือนประชาชนให้ดูแลส่งเสริมสุขภาพรักษาสุขภาพให้ร่างกายแข็งแรง ด้วยวิธี 3 อ. คือ 1. อ.อาหาร ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ เน้นผักผลไม้ที่มีกากใยสูงๆ ควรรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ๆ ควรเลี่ยงอาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารค้างคืน อาหารที่มีรสจัด อาหารหมักดอง และดื่มน้ำที่สะอาด 2. อ.ออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรงอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 30 นาที และ 3. อ.อารมณ์ ทำจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ หาวิธีคลายเครียดหรือทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว เช่น ปลูกต้นไม้ เล่นดนตรี วาดภาพ ท่องเที่ยว เป็นต้น รวมทั้งควรพักผ่อนให้พอเพียงวันละ 6-8 ชั่วโมง
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กล่าวอีกว่า ในปี 2551 จังหวัดนครราชสีมา พบอัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงสูงเป็นอันดับ 1 เท่ากับ 1699.25 ต่อแสนประชากร รองลงมา คือ ไข้ไม่ทราบสาเหตุ 342.1 ต่อแสนประชากร ปอดอักเสบ 218.15 ต่อแสนประชากร และอาหารเป็นพิษ 213.74 ต่อแสนประชากร
ในปี 2552 ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา พบแนวโน้มการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำดื่มยังคงสูงเช่นเดิม โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อนนี้ ดังนั้น สสจ.นครราชสีมาจึงขอเตือนให้ประชาชนระมัดระวัง ในการเลือกรับประทานอาหารเป็นพิเศษ เน้นการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ และควรระวังเป็นพิเศษในการใช้น้ำเพื่อเตรียมอาหารเด็กทารก รวมถึงการดื่มน้ำที่สะอาด หากประชาชนหรือเด็กในครอบครัวมีอาการของโรคอุจจาระร่วง ก็สามารถเริ่มต้นรักษาได้ที่บ้านโดยให้สารน้ำละลายเกลือแร่โออาร์เอส หรืออาหารเหลวมากกว่าปกติ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ กินอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก หรือน้ำข้าว หรือแกงจืด ไม่งดอาหาร เพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร หากอาการของโรคอุจจาระร่วงไม่ดีขึ้น ได้แก่ ถ่ายเป็นน้ำมากขึ้น ถ่ายอุจจาระเป็นมูกหรือปนเลือด อาเจียนบ่อย กินอาหารไม้ได้ กระหายน้ำกว่าปกติ มีไข้สูง ควรไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือแพทย์ที่สถานบริการตามหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าใกล้บ้าน
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กล่าวอีกว่า ในปี 2551 จังหวัดนครราชสีมา พบอัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงสูงเป็นอันดับ 1 เท่ากับ 1699.25 ต่อแสนประชากร รองลงมา คือ ไข้ไม่ทราบสาเหตุ 342.1 ต่อแสนประชากร ปอดอักเสบ 218.15 ต่อแสนประชากร และอาหารเป็นพิษ 213.74 ต่อแสนประชากร
ในปี 2552 ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา พบแนวโน้มการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำดื่มยังคงสูงเช่นเดิม โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อนนี้ ดังนั้น สสจ.นครราชสีมาจึงขอเตือนให้ประชาชนระมัดระวัง ในการเลือกรับประทานอาหารเป็นพิเศษ เน้นการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ และควรระวังเป็นพิเศษในการใช้น้ำเพื่อเตรียมอาหารเด็กทารก รวมถึงการดื่มน้ำที่สะอาด หากประชาชนหรือเด็กในครอบครัวมีอาการของโรคอุจจาระร่วง ก็สามารถเริ่มต้นรักษาได้ที่บ้านโดยให้สารน้ำละลายเกลือแร่โออาร์เอส หรืออาหารเหลวมากกว่าปกติ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ กินอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก หรือน้ำข้าว หรือแกงจืด ไม่งดอาหาร เพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร หากอาการของโรคอุจจาระร่วงไม่ดีขึ้น ได้แก่ ถ่ายเป็นน้ำมากขึ้น ถ่ายอุจจาระเป็นมูกหรือปนเลือด อาเจียนบ่อย กินอาหารไม้ได้ กระหายน้ำกว่าปกติ มีไข้สูง ควรไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือแพทย์ที่สถานบริการตามหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าใกล้บ้าน