นายสง่า ดามาพงษ์ โฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ย้ำเตือนคนไทยใส่ใจการกินอาหารและดื่มน้ำในฤดูร้อนและช่วงสงกรานต์ ให้เพิ่มความระมัดระวังมากกว่าปกติ เพราะในฤดูร้อนเป็นช่วงที่อุณหภูมิเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์และพาหะนำโรค โดยเฉพาะในอาหาร 8 ชนิด ได้แก่ 1. อาหารปรุงด้วยกะทิ 2. ขนมจีน 3. อาหารทะเลสด 4. อาหารปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ เช่น ลาบ ก้อย ยำ พล่า 5. อาหารถุง/กล่อง/ห่อ 6.ส้มตำ 7. อาหารค้างคืน 8. น้ำดื่มและน้ำแข็ง อาหารเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ อุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ โรคอหิวาต์ และไข้ไทฟอยด์
ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์สถิติโรคอุจจาระร่วงในปีที่ผ่านมา ซึ่งมี 1 ล้านกว่าราย เสียชีวิต 106 ราย มักจะเกิดในผู้สูงอายุ ร้อยละ 10 และเกิดในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ร้อยละ 33 ในปี 2551 นี้มีรายงานป่วยแล้วเกือบ 30,000 ราย เสียชีวิต 46 ราย กลุ่มที่ป่วยมากที่สุดเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี พบได้ถึง 1 ใน 3 ของผู้ป่วยทั้งหมด เนื่องจากเด็กวัยนี้นอกจากจะมีภูมิคุ้มกันโรคต่ำแล้ว ยังดูแลตัวเองไม่ได้ กินและหยิบอาหารเข้าปากแบบไร้เดียงสา โอกาสติดเชื้อจึงเกิดขึ้นง่าย ดังนั้นพ่อแม่ควรต้องดูแลเด็กใกล้ชิด
นายสง่า กล่าวว่า อาหารปรุงด้วยกะทิ ควรกินเฉพาะที่ปรุงสุกใหม่ หากเหลือไม่ควรเก็บไว้เพราะจะบูดเน่าง่าย ในหน้าร้อนเส้นขนมจีนแป้งหมักมักจะเสียง่าย ต้องมั่นใจว่าไม่ค้างคืน อาหารทะเลหน้าร้อนจะบูดเสียง่าย ไม่ควรกินแบบลวกหรือพล่าสุก ๆ ดิบ ๆ โดยเฉพาะ กุ้ง หอย ปลาหมึก เช่นเดียวกับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ หมู ไก่ ต้องมั่นใจว่าปรุงสุกเท่านั้นจึงจะกิน อาหารถุง อาหารกล่องหรืออาหารห่อ ควรแยกกับข้าวออกจากข้าว ส่วนอาหารยอดฮิตทุกฤดูกาล คือ ส้มตำ ต้องระวังให้มากเป็นพิเศษ เพราะความไม่ปลอดภัยในส้มตำมีมากมาย อาทิ ปลาร้า ปูดองดิบหรือต้มไม่สุก มะละกอดิบ ผักดิบแกล้ม พริกขี้หนูที่ล้างไม่สะอาดหรือไม่ได้ล้าง ย่อมมีเชื้อโรคและสารเคมีตกค้าง ทำให้ท้องเดินและอาหารเป็นพิษ ส่วนเรื่องน้ำดื่มและน้ำแข็ง หน้าร้อนคนมักจะดื่มน้ำมากกว่าปกติ น้ำดื่มบรรจุขวดขอให้มั่นใจว่าเป็นยี่ห้อที่ไว้ใจได้ มี อย.รับรอง เลือกขวดที่มีฝาปิดสนิท ไม่มีรอยเปิด ส่วนน้ำแข็งก็เช่นเดียวกัน ควรเลือกชนิดบรรจุถุงที่มีเครื่องหมาย อย. และต้องขอร้องผู้ผลิตน้ำแข็งให้มีคุณธรรม ใช้น้ำสะอาดและผ่านกรรมวิธีการผลิตที่ถูกสุขลักษณะ ผู้ประกอบการร้านอาหารไม่ควรนำอาหารอื่นไปแช่ในถังน้ำแข็งที่ให้ลูกค้าบริโภค
ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์สถิติโรคอุจจาระร่วงในปีที่ผ่านมา ซึ่งมี 1 ล้านกว่าราย เสียชีวิต 106 ราย มักจะเกิดในผู้สูงอายุ ร้อยละ 10 และเกิดในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ร้อยละ 33 ในปี 2551 นี้มีรายงานป่วยแล้วเกือบ 30,000 ราย เสียชีวิต 46 ราย กลุ่มที่ป่วยมากที่สุดเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี พบได้ถึง 1 ใน 3 ของผู้ป่วยทั้งหมด เนื่องจากเด็กวัยนี้นอกจากจะมีภูมิคุ้มกันโรคต่ำแล้ว ยังดูแลตัวเองไม่ได้ กินและหยิบอาหารเข้าปากแบบไร้เดียงสา โอกาสติดเชื้อจึงเกิดขึ้นง่าย ดังนั้นพ่อแม่ควรต้องดูแลเด็กใกล้ชิด
นายสง่า กล่าวว่า อาหารปรุงด้วยกะทิ ควรกินเฉพาะที่ปรุงสุกใหม่ หากเหลือไม่ควรเก็บไว้เพราะจะบูดเน่าง่าย ในหน้าร้อนเส้นขนมจีนแป้งหมักมักจะเสียง่าย ต้องมั่นใจว่าไม่ค้างคืน อาหารทะเลหน้าร้อนจะบูดเสียง่าย ไม่ควรกินแบบลวกหรือพล่าสุก ๆ ดิบ ๆ โดยเฉพาะ กุ้ง หอย ปลาหมึก เช่นเดียวกับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ หมู ไก่ ต้องมั่นใจว่าปรุงสุกเท่านั้นจึงจะกิน อาหารถุง อาหารกล่องหรืออาหารห่อ ควรแยกกับข้าวออกจากข้าว ส่วนอาหารยอดฮิตทุกฤดูกาล คือ ส้มตำ ต้องระวังให้มากเป็นพิเศษ เพราะความไม่ปลอดภัยในส้มตำมีมากมาย อาทิ ปลาร้า ปูดองดิบหรือต้มไม่สุก มะละกอดิบ ผักดิบแกล้ม พริกขี้หนูที่ล้างไม่สะอาดหรือไม่ได้ล้าง ย่อมมีเชื้อโรคและสารเคมีตกค้าง ทำให้ท้องเดินและอาหารเป็นพิษ ส่วนเรื่องน้ำดื่มและน้ำแข็ง หน้าร้อนคนมักจะดื่มน้ำมากกว่าปกติ น้ำดื่มบรรจุขวดขอให้มั่นใจว่าเป็นยี่ห้อที่ไว้ใจได้ มี อย.รับรอง เลือกขวดที่มีฝาปิดสนิท ไม่มีรอยเปิด ส่วนน้ำแข็งก็เช่นเดียวกัน ควรเลือกชนิดบรรจุถุงที่มีเครื่องหมาย อย. และต้องขอร้องผู้ผลิตน้ำแข็งให้มีคุณธรรม ใช้น้ำสะอาดและผ่านกรรมวิธีการผลิตที่ถูกสุขลักษณะ ผู้ประกอบการร้านอาหารไม่ควรนำอาหารอื่นไปแช่ในถังน้ำแข็งที่ให้ลูกค้าบริโภค