น.พ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ไทยจะร่วมกับ 9 ประเทศสมาชิกอาเซียนจัดทำกฎระเบียบและวิธีการรับรองมาตรฐานยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ให้สอดคล้องกันเป็นมาตรฐานกลางของอาเซียน เพิ่มความเชื่อมั่นคุณภาพ คุ้มครองความปลอดภัยประชากรอาเซียน 500 ล้านคน และเพิ่มศักยภาพการส่งออกตลาดโลกด้วย
น.พ.ปราชญ์ กล่าวว่า ในการจัดประชุมอาเซียน ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ สธ.นอกจากจะดูแลด้านความปลอดภัยทางสุขภาพ อาหารและที่พักแล้ว ยังได้เป็นคณะทำงานเพื่อปรับกฎระเบียบ และวิธีการรับรองผลิตภัณฑ์ยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในกลุ่มประเทศสมาชิกให้สอดคล้องเป็นมาตรฐานกลางหนึ่งเดียว เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยสุขภาพประชากรอาเซียน ประมาน 500 ล้านคน และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในด้านของอุตสาหกรรมยาสมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนในตลาดโลก รวมทั้งการค้าขายภายในเขตเศรษฐกิจเสรี หรืออาฟตา ตั้งเป้าจะให้สำเร็จภายใน พ.ศ.2558 เนื่องจากขณะนี้ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจสมุนไพร โดยประชากรร้อยละ 70-80 ในประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ ใช้การแพทย์ผสมผสานและสมุนไพร ซึ่งประเทศอาเซียนเป็นแหล่งที่มีสมุนไพรนับหมื่นชนิดเป็นจุดแข็งของภูมิภาคนี้
ทั้งนี้ จากข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ล่าสุด ยาสมุนไพรและเครื่องเทศของไทยได้รับความนิยมจากต่างประเทศสูงขึ้น ในปี 2548 สมาชิกอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และ ฟิลิปปินส์ มีการส่งออกสมุนไพรในตลาดอาเซียนด้วยกันมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไทยมีรายได้จากการส่งออกสมุนไพรทั้งยาและเครื่องเทศในปี 2551 รวม 2,498 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 8 ขณะที่ ปี 2548 ไทยส่งออกสมุนไพรรวม 1,692 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
น.พ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า สมุนไพรเป็นได้ทั้งยาและอาหารบำรุงร่างกาย ขณะนี้มีประมาณ 100 ประเทศทั่วโลกที่มีกฎหมายควบคุมการใช้สมุนไพร ในการปรับกฎระเบียบและวิธีการรับรองผลิตภัณฑ์ยาแผนโบราณมีข้อกำหนดกลางมุ่งเน้นที่คุณภาพความปลอดภัย ตั้งแต่กระบวนการตรวจสอบ กระบวนการผลิตตามมาตรฐานสากลจีเอ็มพี (GMP) การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ ความปลอดภัยจากสารปนเปื้อนทั้งเชื้อโรค สารพิษ ยากำจัดศัตรูพืช ข้อห้ามในการใช้ รวมทั้งการกำหนดปริมาณของวิตามิน เกลือแร่ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารขั้นสูงสุด โดยจะนำเสนอความก้าวหน้าในที่ประชุมอาเซียนครั้งนี้ด้วย
น.พ.ปราชญ์ กล่าวว่า ในการจัดประชุมอาเซียน ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ สธ.นอกจากจะดูแลด้านความปลอดภัยทางสุขภาพ อาหารและที่พักแล้ว ยังได้เป็นคณะทำงานเพื่อปรับกฎระเบียบ และวิธีการรับรองผลิตภัณฑ์ยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในกลุ่มประเทศสมาชิกให้สอดคล้องเป็นมาตรฐานกลางหนึ่งเดียว เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยสุขภาพประชากรอาเซียน ประมาน 500 ล้านคน และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในด้านของอุตสาหกรรมยาสมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนในตลาดโลก รวมทั้งการค้าขายภายในเขตเศรษฐกิจเสรี หรืออาฟตา ตั้งเป้าจะให้สำเร็จภายใน พ.ศ.2558 เนื่องจากขณะนี้ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจสมุนไพร โดยประชากรร้อยละ 70-80 ในประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ ใช้การแพทย์ผสมผสานและสมุนไพร ซึ่งประเทศอาเซียนเป็นแหล่งที่มีสมุนไพรนับหมื่นชนิดเป็นจุดแข็งของภูมิภาคนี้
ทั้งนี้ จากข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ล่าสุด ยาสมุนไพรและเครื่องเทศของไทยได้รับความนิยมจากต่างประเทศสูงขึ้น ในปี 2548 สมาชิกอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และ ฟิลิปปินส์ มีการส่งออกสมุนไพรในตลาดอาเซียนด้วยกันมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไทยมีรายได้จากการส่งออกสมุนไพรทั้งยาและเครื่องเทศในปี 2551 รวม 2,498 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 8 ขณะที่ ปี 2548 ไทยส่งออกสมุนไพรรวม 1,692 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
น.พ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า สมุนไพรเป็นได้ทั้งยาและอาหารบำรุงร่างกาย ขณะนี้มีประมาณ 100 ประเทศทั่วโลกที่มีกฎหมายควบคุมการใช้สมุนไพร ในการปรับกฎระเบียบและวิธีการรับรองผลิตภัณฑ์ยาแผนโบราณมีข้อกำหนดกลางมุ่งเน้นที่คุณภาพความปลอดภัย ตั้งแต่กระบวนการตรวจสอบ กระบวนการผลิตตามมาตรฐานสากลจีเอ็มพี (GMP) การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ ความปลอดภัยจากสารปนเปื้อนทั้งเชื้อโรค สารพิษ ยากำจัดศัตรูพืช ข้อห้ามในการใช้ รวมทั้งการกำหนดปริมาณของวิตามิน เกลือแร่ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารขั้นสูงสุด โดยจะนำเสนอความก้าวหน้าในที่ประชุมอาเซียนครั้งนี้ด้วย