นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนธันวาคม และไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 ว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ติดลบร้อยละ 3-3.5 ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่าชะลอตัวลงมาก ทั้งในด้านอุปสงค์จากต่างประเทศ ปริมาณการส่งออกที่ลดลง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทยชะลอตัวลงเช่นกัน ประกอบกับผลกระทบจากการปิดสนามบินภายในประเทศ
โดยมูลค่าการส่งออกไตรมาส 4 อยู่ที่ 38.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี ที่ร้อยละ -10.6 สินค้านำเข้าการขยายตัวชะลอลง ส่งผลให้ดุลการค้าไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 ขาดดุล 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ขณะที่การบริโภคของภาคเอกชนยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง โดยวัดจากเครื่องชี้วัดการบริโภคภาษีมูลค่าเพิ่ม ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 ต่อปี ทั้งที่ไตรมาสก่อนขยายตัวร้อยละ 16.1 ต่อปี ส่วนการลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณอ่อนแอและปรับตัวลดลงจากไตรมาส 3 โดยสะท้อนมาจากภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ ไตรมาส 4 หดตัวร้อยละ -5.6/ปี จากไตรมาสก่อนขยายตัวร้อยละ 22.2
ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี จากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไทยสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของวิกฤตการเงินโลกได้ เมื่อเทียบจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2551 อยู่ในระดับสูงที่ 111 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประทศระยะสั้นประมาณ 4 เท่า
โดยมูลค่าการส่งออกไตรมาส 4 อยู่ที่ 38.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี ที่ร้อยละ -10.6 สินค้านำเข้าการขยายตัวชะลอลง ส่งผลให้ดุลการค้าไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 ขาดดุล 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ขณะที่การบริโภคของภาคเอกชนยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง โดยวัดจากเครื่องชี้วัดการบริโภคภาษีมูลค่าเพิ่ม ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 ต่อปี ทั้งที่ไตรมาสก่อนขยายตัวร้อยละ 16.1 ต่อปี ส่วนการลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณอ่อนแอและปรับตัวลดลงจากไตรมาส 3 โดยสะท้อนมาจากภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ ไตรมาส 4 หดตัวร้อยละ -5.6/ปี จากไตรมาสก่อนขยายตัวร้อยละ 22.2
ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี จากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไทยสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของวิกฤตการเงินโลกได้ เมื่อเทียบจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2551 อยู่ในระดับสูงที่ 111 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประทศระยะสั้นประมาณ 4 เท่า