จับตาเศรษฐกิจเมืองลุงเเซม ภาคการผลิตยังทรุดต่อเนื่อง
หลังจากที่สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ เปิดเผยดัชนีกิจกรรมการผลิตของโรงงานในสหรัฐฯ (ISM Manufacturing) ในเดือนธ.ค. 2551 ปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน ไปอยู่ที่ระดับ 32.4 จุด ต่ำกว่าระดับการคาดการณ์ของตลาดที่คาดว่าจะอยู่ที่ 35.4 จุดค่อนข้างมาก และนอกจากนั้นยังถือได้ว่าเป็นระดับต่ำสุดในรอบกว่า 28 ปีและยังเป็นการลดลงในอัตราเร่งต่อเนื่องจากจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 36.2 โดยเป็นผลจากอุปสงค์ที่ซบเซาในกลุ่มสินค้าประเภทรถยนต์เครื่องใช้ไฟฟ้า และเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน
โดย มองว่าจากภาพรวมของภาคอุปทานของสหรัฐฯที่ยังคงมีทิศทางการปรับทรุดตัวลงเร็วเกินกว่าคาดการณ์ จะเป็นสัญญาณต่อเนื่องไปถึงแนวโน้มของภาคการจ้างงานของสหรัฐฯ ที่ประเมินว่าจะยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวลงในทิศทางเดียวกัน โดยจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯในช่วงเดือนที่ผ่านมาที่ยังคงมีทิศทางโดยรวมที่เป็นลบมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้เริ่มส่งผลกระทบเชิงลบเป็นวงกว้างไปสู่ภาคการผลิตมากขึ้นเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากปัจจัยการชะลอตัวลงของภาคอุปสงค์ในประเทศ ที่มีการปรับตัวลดลงต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงกลางปี 2551 และยังประกอบไปกับคำสั่งซื้อจากภายนอกประเทศที่คาดว่าจะเริ่มมีการชะลอตัวลงให้เห็นได้ชัดเจนมากขึ้นในช่วงถัดไป ตามการชะลอตัวลงของระบบเศรษฐกิจโลก และรวมไปถึงค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่ค่อนข้างจะมีการแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินหลายๆสกุล
ดังนั้นโดยรวมแล้วจึงถือได้ว่าเป็นปัจจัยลบที่สำคัญที่จะกดดันภาคการผลิตของสหรัฐฯให้จะยังคงมีการชะลอตัวลงได้ในช่วงถัดไป และนอกจากนั้นแล้วยังคาดว่าอาจจะส่งผลกระทบต่อเนื่องให้โรงงานหลายแห่งเตรียมปรับลดการผลิตและปลดพนักงานอีกหลายตำแหน่งเพื่อลดต้นทุน แต่อย่างไรก็ตาม มองว่าการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราการว่างงานไม่น่าจะเป็นการปรับตัวเร่งเพิ่มขึ้นอีกมากนัก โดยคาดว่าสถานการณ์ของภาคการจ้างงานของสหรัฐฯจะเข้าสู่สู่จุดต่ำสุดได้
ในช่วงกลางปี 2552 และจะเป็นการทรงตัวในระดับต่ำไปจนถึงช่วงปลายปี เนื่องจากปัจจัยสนับสนุนจากทางรัฐบาลกลางสหรัฐฯชุดใหม่ ภายใต้การนำของทางนายบารัก โอบามา ที่จะเข้ามาบริหารประเทศในช่วงต้นปี 2552 ได้มีเป้าหมายชัดเจนที่จะช่วยสนับสนุนภาคธุรกิจและแรงงานในประเทศให้อยู่รอดได้ ซึ่งจะส่งผลให้ภาพรวมของภาคการผลิตและภาคการจ้างงานในช่วงถัดไปคาดว่าจะยังคงไม่ย่ำแย่ลงไปจากนี้มากนัก โดยมองจุดสูงสุดของอัตราการว่างงานของสหรัฐฯในวิกฤติเศรษฐกิจในรอบนี้ไว้ที่ระดับ 8.0% จากระดับในปัจจุบันที่ 6.7%
ทั้งนี้ คาดว่า ราคาสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกของเดือน ม.ค. หลังจากที่ความเชื่อมั่นของนักลงทุนเริ่มดีขึ้น สำหรับตลาดหุ้นเริ่มมีสัญญาณของการปรับลดลงของ VIX Index หรือ ดัชนีชี้วัดความกังวล (fear factor) ปรับลดลงต่ำกว่าระดับ 40 จุด ซึ่งทำให้เชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นได้ โดยนอกจากนี้ การปรับลดลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินระยะสั้น (money market) ทำให้มีมุมมองที่ผ่อนคลายลง ต่อความตึงตัวของสถาบันการเงินในต่างประเทศจากประเด็นความกังวลของสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อ
นโยบายทั้งการเงินและการคลังถูกใช้จนเต็มศักยภาพ
ก่อนหน้านี้รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ประกาศขยายมาตรการกอบกู้อุตสาหกรรมรถยนต์เพิ่มเติม โดยรัฐบาลสหรัฐฯ จะเข้าซื้อหุ้นในวงเงิน 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใน GMAC ซึ่งเป็นบริษัทไฟแนนซ์ด้านการจำนองและเช่าซื้อรถยนต์ในเครือบริษัทเจเนอรัล มอเตอร์ (GM) และจะเพิ่มการปล่อยกู้แก่ GMอีก 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่เรื่องนี้กลับมีมุมมองเป็นบวกต่อมาตรการความช่วยเหลือดังกล่าว ซึ่งในอนาคต รัฐบาลสหรัฐฯ ชุดต่อไปที่นำโดยประธานาธิบดีโอบามา ซึ่งจะเข้ารับตำแหน่งและมีอำนาจอย่างเป็นทางการในฐานะประธานาธิบดีตั้งแต่ 20 ม.ค. 2552 นี้จะต้องขยายขอบเขตมาตรการช่วยเหลืออุตสาหกรรมรถยนต์เพิ่มเติม รวมทั้งอาจจะต้องเผชิญกับข้อเรียกร้องให้ขยายขอบเขตความช่วยเหลือไปยังอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งสนับสนุนทางการเงินแก่รัฐบาลมลรัฐอย่างน้อย 43 รัฐซึ่งกำลังประสบปัญหางบประมาณขาดดุลอันเนื่องจากรายได้จากการจัดเก็บภาษีลดลง
ทั้งนี้มีความเห็นว่าสหรัฐฯ มีแนวโน้มทีจะออกพันธบัตรจำนวนมหาศาลเพื่อชดเชยการขาดดุลการคลัง ซึ่งรัฐบาลกลางทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะกระทำเช่นเดียวกับสหรัฐฯ คือเร่งออกพันธบัตรมาระดมทุนในตลาดการเงินโลกด้วยกันทั้งสิ้น ผลที่ตามมาคือปริมาณอุปทานพันธบัตรของรัฐบาลชาติต่างๆทั่วโลกนั้นจะมากกว่าจำนวนอุปสงค์พันธบัตรซึ่งอาจจะทำให้อัตราดอกเบี้ยเร่งตัวขึ้นได้โดยผลจากภาวะดังกล่าวนี้ถูกเรียกว่า "Crowding Out Effect"ซึ่งท้ายที่สุด ธนาคารกลางของแต่ละประเทศจะต้องเข้าไปทำการซื้อพันธบัตรรัฐบาลแทนภาคเอกชนอันเป็นผลจากภาคเอกชนไม่มีสภาพคล่องเพียงพอในการซื้อพันธบัตรรัฐบาล และธนาคารกลางต้องการลดทอนผลของCrowding Out Effect ไม่ให้อัตราดอกเบี้ยเร่งตัวขึ้นจนกระทบกระเทือนความสามารถในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของภาคเอกชน หรืออีกนัยหนึ่งคือ ธนาคารกลางของแต่ละประเทศจะช่วยพิมพ์ธนบัตรเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านการถือครองพันธบัตรรัฐบาลเมื่อคำนึงว่าธนาคารกลางของแต่ละประเทศทั่วโลกโดยส่วนใหญ่ ได้ใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง ผนวกกับธนาคารกลางชาติสำคัญเช่น สหรัฐฯและญี่ปุ่นกำลังเริ่มที่จะใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing) ซึ่งคือการเข้าไปซื้อตราสารหนี้หรือตราสารการเงินที่ออกและถือครองโดยธนาคารพาณิชย์เอกชนแล้ว ผนวกกับภาครัฐของประเทศต่างๆทั่วโลกเดินหน้าใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้นโยบายการคลังแบบขาดุลงบประมาณหรือนโยบายการคลังแบบขยายตัว จะเห็นว่าเครื่องมือเชิงนโยบายทั้งการเงินและการคลังนั้นถูกใช้จนเต็มศักยภาพของนโยบายรัฐในระบบทุนนิยมกลไกตลาดแล้วถ้าชาติเอเชียหันมาใช้นโยบายพันธบัตรเอเชีย (Asia Bond) โดยรัฐบาลเอเชียแต่ละประเทศระดมเงินทุนจากชาติเชียด้วยกันเองผ่านการออกพันธบัตรจะมีส่วนช่วยให้ชาติเอเชียด้วยกันเองฟื้นตัวเร็วกว่ารูปแบบเดิมที่ธนาคารกลางชาติเอเชียต่างๆ ไปทำการซื้อพันธบัตรชาติตะวันตกดังที่เคยเป็นมาในอดีต เรื่องนี้เห็นว่าความเสี่ยงแรกที่ต้องพึงระวัง คือ การที่อัตราแลกเปลี่ยนของประเทศที่พื้นฐานทางเศรษฐกิจอ่อนแอ จะอ่อนค่าลงอย่างมาก โดยประเทศที่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวคือประเทศเกิดใหม่ที่ตลาดการเงินยังไม่แข็งแรง มีการพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศจำนวนมาก รายได้ประชาชาติมีสัดส่วนมาจากการส่งออกในระดับสูงและมีทุนสำรองระหว่างประเทศในระดับที่ต่ำ
////ที่มา: สถาบันวิจัยนครหลวงไทย
หลังจากที่สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ เปิดเผยดัชนีกิจกรรมการผลิตของโรงงานในสหรัฐฯ (ISM Manufacturing) ในเดือนธ.ค. 2551 ปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน ไปอยู่ที่ระดับ 32.4 จุด ต่ำกว่าระดับการคาดการณ์ของตลาดที่คาดว่าจะอยู่ที่ 35.4 จุดค่อนข้างมาก และนอกจากนั้นยังถือได้ว่าเป็นระดับต่ำสุดในรอบกว่า 28 ปีและยังเป็นการลดลงในอัตราเร่งต่อเนื่องจากจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 36.2 โดยเป็นผลจากอุปสงค์ที่ซบเซาในกลุ่มสินค้าประเภทรถยนต์เครื่องใช้ไฟฟ้า และเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน
โดย มองว่าจากภาพรวมของภาคอุปทานของสหรัฐฯที่ยังคงมีทิศทางการปรับทรุดตัวลงเร็วเกินกว่าคาดการณ์ จะเป็นสัญญาณต่อเนื่องไปถึงแนวโน้มของภาคการจ้างงานของสหรัฐฯ ที่ประเมินว่าจะยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวลงในทิศทางเดียวกัน โดยจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯในช่วงเดือนที่ผ่านมาที่ยังคงมีทิศทางโดยรวมที่เป็นลบมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้เริ่มส่งผลกระทบเชิงลบเป็นวงกว้างไปสู่ภาคการผลิตมากขึ้นเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากปัจจัยการชะลอตัวลงของภาคอุปสงค์ในประเทศ ที่มีการปรับตัวลดลงต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงกลางปี 2551 และยังประกอบไปกับคำสั่งซื้อจากภายนอกประเทศที่คาดว่าจะเริ่มมีการชะลอตัวลงให้เห็นได้ชัดเจนมากขึ้นในช่วงถัดไป ตามการชะลอตัวลงของระบบเศรษฐกิจโลก และรวมไปถึงค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่ค่อนข้างจะมีการแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินหลายๆสกุล
ดังนั้นโดยรวมแล้วจึงถือได้ว่าเป็นปัจจัยลบที่สำคัญที่จะกดดันภาคการผลิตของสหรัฐฯให้จะยังคงมีการชะลอตัวลงได้ในช่วงถัดไป และนอกจากนั้นแล้วยังคาดว่าอาจจะส่งผลกระทบต่อเนื่องให้โรงงานหลายแห่งเตรียมปรับลดการผลิตและปลดพนักงานอีกหลายตำแหน่งเพื่อลดต้นทุน แต่อย่างไรก็ตาม มองว่าการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราการว่างงานไม่น่าจะเป็นการปรับตัวเร่งเพิ่มขึ้นอีกมากนัก โดยคาดว่าสถานการณ์ของภาคการจ้างงานของสหรัฐฯจะเข้าสู่สู่จุดต่ำสุดได้
ในช่วงกลางปี 2552 และจะเป็นการทรงตัวในระดับต่ำไปจนถึงช่วงปลายปี เนื่องจากปัจจัยสนับสนุนจากทางรัฐบาลกลางสหรัฐฯชุดใหม่ ภายใต้การนำของทางนายบารัก โอบามา ที่จะเข้ามาบริหารประเทศในช่วงต้นปี 2552 ได้มีเป้าหมายชัดเจนที่จะช่วยสนับสนุนภาคธุรกิจและแรงงานในประเทศให้อยู่รอดได้ ซึ่งจะส่งผลให้ภาพรวมของภาคการผลิตและภาคการจ้างงานในช่วงถัดไปคาดว่าจะยังคงไม่ย่ำแย่ลงไปจากนี้มากนัก โดยมองจุดสูงสุดของอัตราการว่างงานของสหรัฐฯในวิกฤติเศรษฐกิจในรอบนี้ไว้ที่ระดับ 8.0% จากระดับในปัจจุบันที่ 6.7%
ทั้งนี้ คาดว่า ราคาสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกของเดือน ม.ค. หลังจากที่ความเชื่อมั่นของนักลงทุนเริ่มดีขึ้น สำหรับตลาดหุ้นเริ่มมีสัญญาณของการปรับลดลงของ VIX Index หรือ ดัชนีชี้วัดความกังวล (fear factor) ปรับลดลงต่ำกว่าระดับ 40 จุด ซึ่งทำให้เชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นได้ โดยนอกจากนี้ การปรับลดลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินระยะสั้น (money market) ทำให้มีมุมมองที่ผ่อนคลายลง ต่อความตึงตัวของสถาบันการเงินในต่างประเทศจากประเด็นความกังวลของสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อ
นโยบายทั้งการเงินและการคลังถูกใช้จนเต็มศักยภาพ
ก่อนหน้านี้รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ประกาศขยายมาตรการกอบกู้อุตสาหกรรมรถยนต์เพิ่มเติม โดยรัฐบาลสหรัฐฯ จะเข้าซื้อหุ้นในวงเงิน 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใน GMAC ซึ่งเป็นบริษัทไฟแนนซ์ด้านการจำนองและเช่าซื้อรถยนต์ในเครือบริษัทเจเนอรัล มอเตอร์ (GM) และจะเพิ่มการปล่อยกู้แก่ GMอีก 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่เรื่องนี้กลับมีมุมมองเป็นบวกต่อมาตรการความช่วยเหลือดังกล่าว ซึ่งในอนาคต รัฐบาลสหรัฐฯ ชุดต่อไปที่นำโดยประธานาธิบดีโอบามา ซึ่งจะเข้ารับตำแหน่งและมีอำนาจอย่างเป็นทางการในฐานะประธานาธิบดีตั้งแต่ 20 ม.ค. 2552 นี้จะต้องขยายขอบเขตมาตรการช่วยเหลืออุตสาหกรรมรถยนต์เพิ่มเติม รวมทั้งอาจจะต้องเผชิญกับข้อเรียกร้องให้ขยายขอบเขตความช่วยเหลือไปยังอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งสนับสนุนทางการเงินแก่รัฐบาลมลรัฐอย่างน้อย 43 รัฐซึ่งกำลังประสบปัญหางบประมาณขาดดุลอันเนื่องจากรายได้จากการจัดเก็บภาษีลดลง
ทั้งนี้มีความเห็นว่าสหรัฐฯ มีแนวโน้มทีจะออกพันธบัตรจำนวนมหาศาลเพื่อชดเชยการขาดดุลการคลัง ซึ่งรัฐบาลกลางทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะกระทำเช่นเดียวกับสหรัฐฯ คือเร่งออกพันธบัตรมาระดมทุนในตลาดการเงินโลกด้วยกันทั้งสิ้น ผลที่ตามมาคือปริมาณอุปทานพันธบัตรของรัฐบาลชาติต่างๆทั่วโลกนั้นจะมากกว่าจำนวนอุปสงค์พันธบัตรซึ่งอาจจะทำให้อัตราดอกเบี้ยเร่งตัวขึ้นได้โดยผลจากภาวะดังกล่าวนี้ถูกเรียกว่า "Crowding Out Effect"ซึ่งท้ายที่สุด ธนาคารกลางของแต่ละประเทศจะต้องเข้าไปทำการซื้อพันธบัตรรัฐบาลแทนภาคเอกชนอันเป็นผลจากภาคเอกชนไม่มีสภาพคล่องเพียงพอในการซื้อพันธบัตรรัฐบาล และธนาคารกลางต้องการลดทอนผลของCrowding Out Effect ไม่ให้อัตราดอกเบี้ยเร่งตัวขึ้นจนกระทบกระเทือนความสามารถในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของภาคเอกชน หรืออีกนัยหนึ่งคือ ธนาคารกลางของแต่ละประเทศจะช่วยพิมพ์ธนบัตรเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านการถือครองพันธบัตรรัฐบาลเมื่อคำนึงว่าธนาคารกลางของแต่ละประเทศทั่วโลกโดยส่วนใหญ่ ได้ใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง ผนวกกับธนาคารกลางชาติสำคัญเช่น สหรัฐฯและญี่ปุ่นกำลังเริ่มที่จะใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing) ซึ่งคือการเข้าไปซื้อตราสารหนี้หรือตราสารการเงินที่ออกและถือครองโดยธนาคารพาณิชย์เอกชนแล้ว ผนวกกับภาครัฐของประเทศต่างๆทั่วโลกเดินหน้าใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้นโยบายการคลังแบบขาดุลงบประมาณหรือนโยบายการคลังแบบขยายตัว จะเห็นว่าเครื่องมือเชิงนโยบายทั้งการเงินและการคลังนั้นถูกใช้จนเต็มศักยภาพของนโยบายรัฐในระบบทุนนิยมกลไกตลาดแล้วถ้าชาติเอเชียหันมาใช้นโยบายพันธบัตรเอเชีย (Asia Bond) โดยรัฐบาลเอเชียแต่ละประเทศระดมเงินทุนจากชาติเชียด้วยกันเองผ่านการออกพันธบัตรจะมีส่วนช่วยให้ชาติเอเชียด้วยกันเองฟื้นตัวเร็วกว่ารูปแบบเดิมที่ธนาคารกลางชาติเอเชียต่างๆ ไปทำการซื้อพันธบัตรชาติตะวันตกดังที่เคยเป็นมาในอดีต เรื่องนี้เห็นว่าความเสี่ยงแรกที่ต้องพึงระวัง คือ การที่อัตราแลกเปลี่ยนของประเทศที่พื้นฐานทางเศรษฐกิจอ่อนแอ จะอ่อนค่าลงอย่างมาก โดยประเทศที่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวคือประเทศเกิดใหม่ที่ตลาดการเงินยังไม่แข็งแรง มีการพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศจำนวนมาก รายได้ประชาชาติมีสัดส่วนมาจากการส่งออกในระดับสูงและมีทุนสำรองระหว่างประเทศในระดับที่ต่ำ
////ที่มา: สถาบันวิจัยนครหลวงไทย