บลจ.ไทยพาณิชย์ ชี้วิกฤติซับไพรม์ ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลง โดยนักลงทุนจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง คาดหากมีเงินไหลเข้าตลาดหุ้นไทยเพียง 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ดันดัชนีทะยาน 200-300 จุดทันที ส่วนราคาน้ำมันยังมีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น โดยคาดว่าจะอยู่ในระดับ 120 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล พร้อมมองว่าเงินวอนผันผวน ส่งผลพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีมีความน่าสนใจลดลง พร้อมแตะเบรกชะลอการออกกองทุนที่เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ออกไป
นางสาวพัชรินทร์ เตชะเคหะกิจ รองกรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยถึงปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพในสหรัฐ (ซับไพรม์) ว่า ปัญหาซับไพรม์ได้เริ่มเกิดขึ้นมาตั้งแต่กลางปี 2550 และเชื่อมมาถึงปี 2551 โดยมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น และลุกลาม เนื่องจากสถาบันการเงินส่วนใหญ่นำเงินไปลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ ประเภท CDO (Collateralized Debt Obligation) ค่อนข้างมาก จนส่งผลกระทบไปทั่วโลก โดยมองว่าประเทศในกลุ่มยุโรปจะกระทบหนักที่สุด รองลงมาเป็นประเทศในแถบเอเชียบางส่วน
อย่างไรก็ตาม การที่ธนาคารกลางของทุกประเทศมีการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าไปแก้ไขวิกฤติการณ์เลห์แมนบราเธอร์-เอไอจีรอบนี้ ถือว่าเป็นการช่วยเหลือที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ เนื่องจากหากปล่อยไว้อาจจะลามไปถึงส่วนของการออมระยะยาวเพื่อวัยเกษียณด้วย แม้ว่าสถานการณ์จะดีขึ้นบ้างแล้ว แต่เหตุการณ์ที่ดำเนินต่อเนื่องมาตลอด 1 ปีก็ยังคงจะค่อยเป็นค่อยไป ยังไม่จบลงง่ายๆ ในปีนี้แน่นอน โดยจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
สำหรับตลาดหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมามีเม็ดเงินไหลออกไปแล้วกว่า 1.2 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นเงินประมาณ 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่หากเมื่อใดที่มีแนวโน้มว่าสถานการณ์จะดีขึ้นและมีเงินทุนไหลเข้ามาเพียง 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ก็เป็นไปได้ว่าจะเห็นดัชนีวิ่งขึ้นได้ 200-300 จุด อย่างไม่น่าแปลกใจ
ส่วนราคาน้ำมันยังมีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น ราคาน้ำมันอุปสงค์ยังมีมาก อุปทานยังมีอยู่อย่างจำกัด เนื่องจากการขุดเจาะเพื่อหาแหล่งน้ำมันใหม่มีต้นทุนสูงขึ้นมากและอุปทานที่ผลิตขึ้นอาจจะกระทบจากภัยธรรมชาติ ทำให้ราคาน้ำมันยังมีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น แต่อาจจะไม่ได้ปรับสุงมาก โดยคาดว่าจะอยู่ในระดับ 120 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล
นางสาวพัชรินทร์ กล่าวว่า กองทุนเกาหลีของบริษัทนั้น จะเน้นลงทุนในภาครัฐ และธนาคารกลางของเกาหลีใต้ทั้งหมด โดยไม่มีตราสารหนี้อื่นๆ ผสมอยุ่ด้วย ซึ่งพันบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือสูงกว่าประเทศไทยด้วย ทั้งนี้ ปัจจุบันค่าเงินวอนได้อ่อนตัวลงไปมาก รวมถึงสภาพคล่องก็ลดลงเช่นกัน เนื่องจากถูกขายออกโดยนักลงทุนต่างชาติจึงไม่น่าที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากดังกล่าวในช่วงต่อจากนี้จะปรับขึ้นได้ต่อ แม้ว่ากองทุนที่เน้นลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้จะได้รับความนิยม แต่บริษัทได้ชะลอการออกกองทุนเปิดประเภทดังกล่าวออกไปก่อน เนื่องจากผลตอบแทนใกล้เคียงกับพันธบัตรภายในประเทศไทย อย่างไรก้ตาม บริษัทไม่ได้ลงทุนในตราสารหนี้ของเลห์แทน บราเธอร์ส และเมอร์ริล ลินช์ แต่อย่างใด
ส่วนการที่ธนาคารพาณิชย์มีการระดมเงินฝากส่งผลกระทบที่เกิดขึ้นกับกองทุนโดยรวมของบริษัทมีค่อนข้างน้อย โดยนักลงทุนได้มีการโยกย้ายเม็ดเงินออกไปเพียง 1 หมื่นล้านบาทเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมที่มีทั้งหมดประมาณ 2.8 แสนล้านบาท โดยเม็ดเงินส่วนใหญ่ได้ไหลไปยังธนาคารไทยพาณิชย์นั่นเอง โดยในช่วงใด้ที่มีผลตอบแทนดี บริษัทก็ไม่ได้มีการสกัดกั้นเม็ดเงินของนักลงทุน เพื่อให้นักลงทุนพอใจในเครื่องมือการเงินที่ให้ผลตอบแทนกลับมา
อาทิ เช่น กองทุนไทยพาณิชย์สะสมทรัพย์ตราสารหนี้ไทย (SCBSFF) สามารถให้ผลตอบแทนประมาณ 2.84% ขณะที่เกณฑ์มาตรฐาน Bend mark สามารถให้ผลตอบแทนที่ 2.6% โดยกองทุนได้เลือกลงทุนในเงินฝาก พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ โดยไม่มีตราสารหนี้ต่างประเทศอยู่ในพอร์ตลงทุนเลย โดยที่ผ่านมาไม่เคยมีปัญหาเรื่องมูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) ติดลบมากว่า 6 ปี แม้ในช่วงที่ผลตอบแทนปรับขึ้นอย่างรุนแรงในช่วงที่ภาครัฐมีการออกมาตรการ 30% ก็ตาม โดยปัจจุบัน กองทุนมีเม็ดเงินในพอร์ตลงทุนประมาณ 1 แสนล้านบาท และมีนักลงทุนประมาณ 1.36 แสนราย
ทั้งนี้ ภาพรวมของอุตสาหกรรมกองทนรวมคาดว่าจะมีอัตราการเจริญเติบโตประมาณ 5-10% โดยส่วนหนึ่งที่กองทุนไม่ได้มีอัตราการเจริญเติบโตมาก เนื่องจากกองทุนหุ้นระยะยาว (LTF) และกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ที่เน้นลงทุนในตราสารทุนได้ปรับตัวลดลงไปจากการที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวลดลงมาประมาณ 20% ทำให้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิปรับตัวลดลงตามไปด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีนักลงทุนให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในกองทุน LTF อย่างต่อเนื่องมากขึ้น แต่ก้ต้องยอมรับสภาพการลงทุนด้วย ขณะที่กองทุนตราสารหนี้ยังมีความผันผวนค่อนข้างมาก โดยยังปรับขึ้นและลดลงอยู่ในระดับ 5%
นางสาวพัชรินทร์ กล่าวทิ้งท้ายว่า นักลงทุนควรลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุ 6 เดือน - 1 ปีประมาณ 60% ส่วนอีก 20% ลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุ 3 เดือน 6 เดือน เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีขึ้นเมื่อครบกำหนด และจะมีกระแสเงินสดเข้ามาด้วย ส่วนที่เหลืออีก 20% ควรนำไปลงทุนตราสารทุน เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะกลางหรือระยะยาว โดยควรนำเข้าไปทยอยลงทุนครั้งละ 2-3% และไม่ควรนำไปลงทุนในตราสารทุนรวดเดียว 20% ซึ่งจะมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่สามารถชนะอัตราเงินเฟ้อได้
นางสาวพัชรินทร์ เตชะเคหะกิจ รองกรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยถึงปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพในสหรัฐ (ซับไพรม์) ว่า ปัญหาซับไพรม์ได้เริ่มเกิดขึ้นมาตั้งแต่กลางปี 2550 และเชื่อมมาถึงปี 2551 โดยมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น และลุกลาม เนื่องจากสถาบันการเงินส่วนใหญ่นำเงินไปลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ ประเภท CDO (Collateralized Debt Obligation) ค่อนข้างมาก จนส่งผลกระทบไปทั่วโลก โดยมองว่าประเทศในกลุ่มยุโรปจะกระทบหนักที่สุด รองลงมาเป็นประเทศในแถบเอเชียบางส่วน
อย่างไรก็ตาม การที่ธนาคารกลางของทุกประเทศมีการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าไปแก้ไขวิกฤติการณ์เลห์แมนบราเธอร์-เอไอจีรอบนี้ ถือว่าเป็นการช่วยเหลือที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ เนื่องจากหากปล่อยไว้อาจจะลามไปถึงส่วนของการออมระยะยาวเพื่อวัยเกษียณด้วย แม้ว่าสถานการณ์จะดีขึ้นบ้างแล้ว แต่เหตุการณ์ที่ดำเนินต่อเนื่องมาตลอด 1 ปีก็ยังคงจะค่อยเป็นค่อยไป ยังไม่จบลงง่ายๆ ในปีนี้แน่นอน โดยจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
สำหรับตลาดหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมามีเม็ดเงินไหลออกไปแล้วกว่า 1.2 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นเงินประมาณ 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่หากเมื่อใดที่มีแนวโน้มว่าสถานการณ์จะดีขึ้นและมีเงินทุนไหลเข้ามาเพียง 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ก็เป็นไปได้ว่าจะเห็นดัชนีวิ่งขึ้นได้ 200-300 จุด อย่างไม่น่าแปลกใจ
ส่วนราคาน้ำมันยังมีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น ราคาน้ำมันอุปสงค์ยังมีมาก อุปทานยังมีอยู่อย่างจำกัด เนื่องจากการขุดเจาะเพื่อหาแหล่งน้ำมันใหม่มีต้นทุนสูงขึ้นมากและอุปทานที่ผลิตขึ้นอาจจะกระทบจากภัยธรรมชาติ ทำให้ราคาน้ำมันยังมีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น แต่อาจจะไม่ได้ปรับสุงมาก โดยคาดว่าจะอยู่ในระดับ 120 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล
นางสาวพัชรินทร์ กล่าวว่า กองทุนเกาหลีของบริษัทนั้น จะเน้นลงทุนในภาครัฐ และธนาคารกลางของเกาหลีใต้ทั้งหมด โดยไม่มีตราสารหนี้อื่นๆ ผสมอยุ่ด้วย ซึ่งพันบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือสูงกว่าประเทศไทยด้วย ทั้งนี้ ปัจจุบันค่าเงินวอนได้อ่อนตัวลงไปมาก รวมถึงสภาพคล่องก็ลดลงเช่นกัน เนื่องจากถูกขายออกโดยนักลงทุนต่างชาติจึงไม่น่าที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากดังกล่าวในช่วงต่อจากนี้จะปรับขึ้นได้ต่อ แม้ว่ากองทุนที่เน้นลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้จะได้รับความนิยม แต่บริษัทได้ชะลอการออกกองทุนเปิดประเภทดังกล่าวออกไปก่อน เนื่องจากผลตอบแทนใกล้เคียงกับพันธบัตรภายในประเทศไทย อย่างไรก้ตาม บริษัทไม่ได้ลงทุนในตราสารหนี้ของเลห์แทน บราเธอร์ส และเมอร์ริล ลินช์ แต่อย่างใด
ส่วนการที่ธนาคารพาณิชย์มีการระดมเงินฝากส่งผลกระทบที่เกิดขึ้นกับกองทุนโดยรวมของบริษัทมีค่อนข้างน้อย โดยนักลงทุนได้มีการโยกย้ายเม็ดเงินออกไปเพียง 1 หมื่นล้านบาทเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมที่มีทั้งหมดประมาณ 2.8 แสนล้านบาท โดยเม็ดเงินส่วนใหญ่ได้ไหลไปยังธนาคารไทยพาณิชย์นั่นเอง โดยในช่วงใด้ที่มีผลตอบแทนดี บริษัทก็ไม่ได้มีการสกัดกั้นเม็ดเงินของนักลงทุน เพื่อให้นักลงทุนพอใจในเครื่องมือการเงินที่ให้ผลตอบแทนกลับมา
อาทิ เช่น กองทุนไทยพาณิชย์สะสมทรัพย์ตราสารหนี้ไทย (SCBSFF) สามารถให้ผลตอบแทนประมาณ 2.84% ขณะที่เกณฑ์มาตรฐาน Bend mark สามารถให้ผลตอบแทนที่ 2.6% โดยกองทุนได้เลือกลงทุนในเงินฝาก พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ โดยไม่มีตราสารหนี้ต่างประเทศอยู่ในพอร์ตลงทุนเลย โดยที่ผ่านมาไม่เคยมีปัญหาเรื่องมูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) ติดลบมากว่า 6 ปี แม้ในช่วงที่ผลตอบแทนปรับขึ้นอย่างรุนแรงในช่วงที่ภาครัฐมีการออกมาตรการ 30% ก็ตาม โดยปัจจุบัน กองทุนมีเม็ดเงินในพอร์ตลงทุนประมาณ 1 แสนล้านบาท และมีนักลงทุนประมาณ 1.36 แสนราย
ทั้งนี้ ภาพรวมของอุตสาหกรรมกองทนรวมคาดว่าจะมีอัตราการเจริญเติบโตประมาณ 5-10% โดยส่วนหนึ่งที่กองทุนไม่ได้มีอัตราการเจริญเติบโตมาก เนื่องจากกองทุนหุ้นระยะยาว (LTF) และกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ที่เน้นลงทุนในตราสารทุนได้ปรับตัวลดลงไปจากการที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวลดลงมาประมาณ 20% ทำให้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิปรับตัวลดลงตามไปด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีนักลงทุนให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในกองทุน LTF อย่างต่อเนื่องมากขึ้น แต่ก้ต้องยอมรับสภาพการลงทุนด้วย ขณะที่กองทุนตราสารหนี้ยังมีความผันผวนค่อนข้างมาก โดยยังปรับขึ้นและลดลงอยู่ในระดับ 5%
นางสาวพัชรินทร์ กล่าวทิ้งท้ายว่า นักลงทุนควรลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุ 6 เดือน - 1 ปีประมาณ 60% ส่วนอีก 20% ลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุ 3 เดือน 6 เดือน เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีขึ้นเมื่อครบกำหนด และจะมีกระแสเงินสดเข้ามาด้วย ส่วนที่เหลืออีก 20% ควรนำไปลงทุนตราสารทุน เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะกลางหรือระยะยาว โดยควรนำเข้าไปทยอยลงทุนครั้งละ 2-3% และไม่ควรนำไปลงทุนในตราสารทุนรวดเดียว 20% ซึ่งจะมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่สามารถชนะอัตราเงินเฟ้อได้