กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยผลสรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - อาเซียน ปี 2551 (ม.ค.-พ.ย.) พบว่ามูลค่าการค้ารวม 66,146.88 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นการนำเข้า 28,260.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การส่งออก 37,886.28 ดุลการค้า 9,625.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยสินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ เคมีภัณฑ์ น้ำมันดิบ เครื่องจักรไฟฟ้า ขณะที่การส่งออก ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป รถยนต์ อุปกรณ์ฯ เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ เหล็ก เหล็กกล้าฯ และแผงวงจรไฟฟ้า
รายงานดังกล่าว ยอมรับว่า เวียดนามเอาจริงเอาจังกับการผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำขึ้นในประเทศอย่างครบวงจร ทำให้ผู้เล่นรายใหญ่ในอุตสาหกรรมเหล็กในตลาดโลกอย่าง บริษัท พอสโก สตีล บริษัท ทาทา สตีล และบริษัท บาวน์ ให้ความสนใจเข้าไปลงทุน โดยมีเป้าหมายเดียวกันคือ ต้องการเจาะตลาดอาเซียนให้มากขึ้น และสนใจที่จะตั้งโรงถลุงเหล็กเพื่อรองรับกำลังซื้อในตลาดเอเชียทั้งหมด ซึ่งรวมๆ กันแล้วมีมากกว่าครึ่ง (500-600 ล้านตัน/ปี) ของการใช้เหล็กในตลาดโลกที่มีอยู่ในขณะนี้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,200 ล้านตันต่อปี
สำหรับประเทศไท ยสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าฯ ได้ศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ ว่าเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่น่าลงทุน เพราะนอกจากจะทำให้ต้นทุนการผลิตเหล็กในประเทศลดลง สามารถทดแทนการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็ก เทียบเท่ากับปริมาณเหล็กกึ่งสำเร็จรูปได้ถึง 16.21 ล้านตัน และยังมีโอกาสส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กไปยังตลาดกลุ่มเป้าหมาย เช่น กลุ่มอาเซียน รวมถึงการมีความได้เปรียบประเทศคู่แข่งหลายประการ เช่น ค่าขนส่งที่ถูกกว่า เมื่อเฉลี่ยค่าขนส่งจากประเทศไทยไปยังอาเซียนเฉลี่ย 20 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน
ด้านพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของประเทศที่เอื้อต่อการขนส่งสินค้าและสถานที่ตั้งโรงถลุงเหล็ก ที่เหมาะสมทั้งพื้นที่ทางฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก โดยพื้นที่ฝั่งตะวันออก มีผู้ผลิตเหล็กที่มีเตาหลอมอยู่ 3 ราย ที่จะได้รับประโยชน์จากการใช้วัตถุดิบจากโรงถลุงแทนการนำเข้าเศษเหล็กถลุงจากต่างประเทศ
รายงานดังกล่าว ยอมรับว่า เวียดนามเอาจริงเอาจังกับการผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำขึ้นในประเทศอย่างครบวงจร ทำให้ผู้เล่นรายใหญ่ในอุตสาหกรรมเหล็กในตลาดโลกอย่าง บริษัท พอสโก สตีล บริษัท ทาทา สตีล และบริษัท บาวน์ ให้ความสนใจเข้าไปลงทุน โดยมีเป้าหมายเดียวกันคือ ต้องการเจาะตลาดอาเซียนให้มากขึ้น และสนใจที่จะตั้งโรงถลุงเหล็กเพื่อรองรับกำลังซื้อในตลาดเอเชียทั้งหมด ซึ่งรวมๆ กันแล้วมีมากกว่าครึ่ง (500-600 ล้านตัน/ปี) ของการใช้เหล็กในตลาดโลกที่มีอยู่ในขณะนี้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,200 ล้านตันต่อปี
สำหรับประเทศไท ยสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าฯ ได้ศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ ว่าเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่น่าลงทุน เพราะนอกจากจะทำให้ต้นทุนการผลิตเหล็กในประเทศลดลง สามารถทดแทนการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็ก เทียบเท่ากับปริมาณเหล็กกึ่งสำเร็จรูปได้ถึง 16.21 ล้านตัน และยังมีโอกาสส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กไปยังตลาดกลุ่มเป้าหมาย เช่น กลุ่มอาเซียน รวมถึงการมีความได้เปรียบประเทศคู่แข่งหลายประการ เช่น ค่าขนส่งที่ถูกกว่า เมื่อเฉลี่ยค่าขนส่งจากประเทศไทยไปยังอาเซียนเฉลี่ย 20 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน
ด้านพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของประเทศที่เอื้อต่อการขนส่งสินค้าและสถานที่ตั้งโรงถลุงเหล็ก ที่เหมาะสมทั้งพื้นที่ทางฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก โดยพื้นที่ฝั่งตะวันออก มีผู้ผลิตเหล็กที่มีเตาหลอมอยู่ 3 ราย ที่จะได้รับประโยชน์จากการใช้วัตถุดิบจากโรงถลุงแทนการนำเข้าเศษเหล็กถลุงจากต่างประเทศ