นายดำริ สุโขธนัง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้แต่งตั้งคณะทำงาน 3 ชุด ศึกษาแนวทางการจัดตั้งอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ตั้งของโรงงาน รวมทั้งช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน และเศรษฐกิจของท้องถิ่นให้ดีขึ้น โดยคณะทำงานแต่ละชุดมีรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน และผู้บริหารสูงสุดของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นผู้แทน มีสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย เป็นฝ่ายเลขานุการ กำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ชัดเจน แต่บทบาทของคณะทำงานแต่ละชุดจะสนับสนุนซึ่งกันและกัน มีการแลกเปลี่ยนบูรณาการด้านข้อมูล โดยมีจุดหมายเพื่อให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำในประเทศไทย โดยที่ชุมชนให้การยอมรับ
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า คณะทำงานทั้ง 3 ชุดประกอบด้วย คณะทำงานศึกษาแนวทางการเตรียมการเพื่อจัดตั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในประเทศ มีหน้าที่รวบรวมข้อมูลและศึกษาประสบการณ์ของต่างประเทศ บทเรียนในประเทศไทยที่ตั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อยู่ใกล้ชุมชน และจัดทำแผนปฏิบัติการจัดเตรียมให้หน่วยงานต่างๆ นำไปปฏิบัติ เพื่อสร้างความเข้าใจกับชุมชน
คณะทำงานศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ มีหน้าที่จัดทำขอบเขตการดำเนินงาน (TOR) จัดหางบประมาณ และคัดเลือกที่ปรึกษาฯ เพื่อศึกษารายละเอียดโครงการเช่น พื้นที่ที่เหมาะสมในการจัดตั้งโรงงาน ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยีการผลิต เทคโนโลยีควบคุมมลพิษ ผลกระทบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมผลกระทบต่อสังคมและชุมชม รวมทั้งสภาพเศรษฐกิจของท้องถิ่นและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ รวมถึงความคุ้มค่าในการลงทุน และนำเสนอผลการศึกษาเพื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
คณะทำงานมวลชนสัมพันธ์ มีหน้าที่ศึกษารูปแบบการทำประชาสัมพันธ์ มวลชนสัมพันธ์ การเข้าถึงชุมชน การสัมภาษณ์การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่โครงการ มากำหนดเป็นแนวทางการทำงานเพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งโครงการและกิจกรรมจะเน้นการสร้างความเข้าใจอันดี ทั้งบทบาทเชิงรุกและรับ
นอกจากนี้ นายดำริ ยังกล่าวอีกว่า อุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำหากจะเกิดขึ้นไม่ว่าจะพื้นที่ใดก็ตาม ชุมชนต้องให้การยอมรับ โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดตั้งคณะทำงานศึกษาโดยเฉพาะประเด็นในที่ชาวบ้านอาจจะยังไม่เข้าใจ เพื่อสร้างความเข้าใจล่วงหน้า โครงการลงทุนอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะนักลงทุนรายใดหากได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุนจะได้เดินหน้าได้ทันที
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า คณะทำงานทั้ง 3 ชุดประกอบด้วย คณะทำงานศึกษาแนวทางการเตรียมการเพื่อจัดตั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในประเทศ มีหน้าที่รวบรวมข้อมูลและศึกษาประสบการณ์ของต่างประเทศ บทเรียนในประเทศไทยที่ตั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อยู่ใกล้ชุมชน และจัดทำแผนปฏิบัติการจัดเตรียมให้หน่วยงานต่างๆ นำไปปฏิบัติ เพื่อสร้างความเข้าใจกับชุมชน
คณะทำงานศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ มีหน้าที่จัดทำขอบเขตการดำเนินงาน (TOR) จัดหางบประมาณ และคัดเลือกที่ปรึกษาฯ เพื่อศึกษารายละเอียดโครงการเช่น พื้นที่ที่เหมาะสมในการจัดตั้งโรงงาน ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยีการผลิต เทคโนโลยีควบคุมมลพิษ ผลกระทบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมผลกระทบต่อสังคมและชุมชม รวมทั้งสภาพเศรษฐกิจของท้องถิ่นและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ รวมถึงความคุ้มค่าในการลงทุน และนำเสนอผลการศึกษาเพื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
คณะทำงานมวลชนสัมพันธ์ มีหน้าที่ศึกษารูปแบบการทำประชาสัมพันธ์ มวลชนสัมพันธ์ การเข้าถึงชุมชน การสัมภาษณ์การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่โครงการ มากำหนดเป็นแนวทางการทำงานเพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งโครงการและกิจกรรมจะเน้นการสร้างความเข้าใจอันดี ทั้งบทบาทเชิงรุกและรับ
นอกจากนี้ นายดำริ ยังกล่าวอีกว่า อุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำหากจะเกิดขึ้นไม่ว่าจะพื้นที่ใดก็ตาม ชุมชนต้องให้การยอมรับ โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดตั้งคณะทำงานศึกษาโดยเฉพาะประเด็นในที่ชาวบ้านอาจจะยังไม่เข้าใจ เพื่อสร้างความเข้าใจล่วงหน้า โครงการลงทุนอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะนักลงทุนรายใดหากได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุนจะได้เดินหน้าได้ทันที