นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงการที่คณะรัฐมนตรีจะเพิ่มงบกลางกระตุ้นเศรษฐกิจ 100,000 ล้านบาท และใช้งบประมาณช่วยเหลือการว่างงาน 5,200 ล้านบาท ว่า เห็นด้วยที่รัฐบาลอนุมัติงบกลางกระตุ้นเศรษฐกิจและงบประมาณช่วยเหลือแรงงาน เพราะเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องทำและดูแลในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แต่สิ่งสำคัญรัฐบาลจะต้องมีการใช้งบประมาณตรงจุดและถึงเป้าหมาย เพื่อให้งบประมาณมีผลทางเศรษฐกิจ
นายโฆสิต กล่าวว่า การใช้งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ สิ่งสำคัญ คือ จะต้องให้ถึงมือประชาชนระดับรากหญ้าและเกษตรกรที่รัฐบาลต้องเข้าไปดูแล ส่วนการต่ออายุ 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤต เพื่อไทยทุกคน มองว่าเป็นการบรรเทาผลกระทบให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว หากระยะยาวประชาชนปรับตัวได้รัฐบาลก็ควรยกเลิกมาตรการดังกล่าว เพราะไม่ทำให้เกิดผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยตรง
ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ กล่าวในการเสวนา เรื่อง "ทางออกวิกฤตประเทศไทย" ว่า 2-3 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะอยู่ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจโลกที่เติบโตช้า การค้าระหว่างประเทศขยายตัวต่ำกว่าในอดีต และประเทศไทยมีโอกาสเจอปัญหาเงินเฟ้อสลับภาวะราคาสินค้าตกต่ำ ทำให้การบริหารธุรกิจยากขึ้น เนื่องจากไม่มีตลาดรองรับและราคาไม่แน่นอน หากประเทศไทยจะผ่านพ้นปัญหาดังกล่าวได้จะต้องดำเนินการ 2 เรื่อง คือ ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น เนื่องจากเป็นหลักบริหารจัดการที่ทำให้เกิดการพอดีและไมใช่นโยบายการเงินการคลังสุดโต่งเกินไป เช่น การจัดทำงบประมาณขาดดุลก็จะทำให้รัฐบาลมีหนี้สินมากขึ้น ขณะที่การลดดอกเบี้ยมากเกินไป จะทำให้ผู้ออมลำบาก
นอกจากนี้ ให้เปลี่ยนแนวคิดที่จะเน้นการสร้างความร่ำรวย เพราะเป็นปัญหาที่ประเทศสหรัฐเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปัจจุบัน แต่ควรหันมาปรับปรุงประสิทธิภาพและเน้นการสร้างเทคโนโลยีสีเขียว เพื่อดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นแนวทางในการบริหารเศรษฐกิจให้เกิดความยั่งยืน
นายโฆสิต กล่าวว่า การใช้งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ สิ่งสำคัญ คือ จะต้องให้ถึงมือประชาชนระดับรากหญ้าและเกษตรกรที่รัฐบาลต้องเข้าไปดูแล ส่วนการต่ออายุ 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤต เพื่อไทยทุกคน มองว่าเป็นการบรรเทาผลกระทบให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว หากระยะยาวประชาชนปรับตัวได้รัฐบาลก็ควรยกเลิกมาตรการดังกล่าว เพราะไม่ทำให้เกิดผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยตรง
ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ กล่าวในการเสวนา เรื่อง "ทางออกวิกฤตประเทศไทย" ว่า 2-3 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะอยู่ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจโลกที่เติบโตช้า การค้าระหว่างประเทศขยายตัวต่ำกว่าในอดีต และประเทศไทยมีโอกาสเจอปัญหาเงินเฟ้อสลับภาวะราคาสินค้าตกต่ำ ทำให้การบริหารธุรกิจยากขึ้น เนื่องจากไม่มีตลาดรองรับและราคาไม่แน่นอน หากประเทศไทยจะผ่านพ้นปัญหาดังกล่าวได้จะต้องดำเนินการ 2 เรื่อง คือ ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น เนื่องจากเป็นหลักบริหารจัดการที่ทำให้เกิดการพอดีและไมใช่นโยบายการเงินการคลังสุดโต่งเกินไป เช่น การจัดทำงบประมาณขาดดุลก็จะทำให้รัฐบาลมีหนี้สินมากขึ้น ขณะที่การลดดอกเบี้ยมากเกินไป จะทำให้ผู้ออมลำบาก
นอกจากนี้ ให้เปลี่ยนแนวคิดที่จะเน้นการสร้างความร่ำรวย เพราะเป็นปัญหาที่ประเทศสหรัฐเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปัจจุบัน แต่ควรหันมาปรับปรุงประสิทธิภาพและเน้นการสร้างเทคโนโลยีสีเขียว เพื่อดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นแนวทางในการบริหารเศรษฐกิจให้เกิดความยั่งยืน