วันนี้ (20 ต.ค.) เมื่อเวลา 13.30 น. ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ ได้มีการสัมมนาเชิงวิชาการเรื่อง "ไขรหัส 291 ทางออกวิกฤติการเมืองไทยจริงหรือไม่" ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันพระปกเกล้า และมีนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.สรรหา นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายอนุสรณ์ ธรรมใจ จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เข้าร่วม
นายสาทิตย์ กล่าวว่า ความขัดแย้งที่เป็นวิกฤติสะสมมา 6 ปี มาจากคนที่เห็นด้วยและต่อต้านระบอบทักษิณ ดังนั้น การตั้ง ส.ส.ร.ขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ อาจไม่ใช่ทางออกที่แท้จริงของปัญหา ยิ่ง ส.ส.ร. มาจากองค์ประชุมไม่ครบ 4 ฝ่าย จึงไม่ใช่ทางออกที่จะแก้ไขปัญหาได้ ในขณะที่ทุกภาคส่วนของสังคมต้องการให้รัฐบาลรับผิดชอบในเหตุการณ์สลายการชุมนุม 7 ตุลาคม จึงเห็นว่า ส.ส.ร.ชุดใหม่ อาจจะสร้างปมปัญหามากกว่าแก้ปัญหา
นายสาทิตย์ กล่าวต่อว่า การออกมาผลักดันตั้ง ส.ส.ร.ดังกล่าว อาจต้องการทำให้บ้านเมืองถึงทางตัน เพื่อให้เกิดทฤษฎีอะไรจะเกิดก็ต้องเกิด เพื่อบีบทหารออกมาปฏิวัติ เพื่ออาศัยเงื่อนไขมาสร้างการต่อสู้คล้ายกับช่วงที่มีการต่อสู้กับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และชูธงแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อหาเสียงเลือกตั้ง ดังนั้น จึงขอเสนอให้ยุบสภาเพื่อพักความขัดแย้ง และหากวิกฤติการเมืองยังแก้ไขไม่ได้ค่อยหยิบแนวทางการตั้ง ส.ส.ร.ชุดใหม่มาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ถือว่ายังไม่สาย
ด้าน น.ส.รสนา กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญช่วงนี้ จะทำให้ถูกมองว่าทำเพื่อประโยชน์ฝ่ายการเมือง ปลดล็อกแก้คดีให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ทำให้คนบางกลุ่มไม่เชื่อว่ารัฐบาลจะทำเพื่อส่วนรวม และจะทำให้เกิดแรงบีบจากคนที่ไม่เห็นด้วย ดังนั้น การแก้ไขรัฐธรรมนุญไม่ใช่การแก้วิกฤติ ซึ่งส่วนตัวมองว่า เป็นการรัฐประหารในรูปแบบของสภามากกว่า
นายอนุสรณ์ กล่าวว่า แม้บางคนจะมองว่า ส.ส.ร. ไม่ใช่ทางออกของปัญหา แต่ยังดีกว่าไม่มีคนกลไกที่จะช่วยคลี่คลายวิกฤติ ทั้งนี้ ในสัดส่วนของ ส.ส.ร.ชุดใหม่ ควรมีฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน ส.ว.สรรหา ส.ว.เลือกตั้ง พันธมิตรฯ และกลุ่ม นปช. เปิดใจหาทางออก และแสดงความเป็นห่วงประเทศอย่างจริงใจ เพื่อให้เกิดการปฏิรูปการเมืองแบบใหม่ และหาก ส.ส.ร.ชุดใหม่ตั้งไม่ได้ รัฐบาลก็ควรยุบสภา หรือลาออก เพราะหากเปลี่ยนผ่านในช่วงนี้ไม่ได้ ประเทศอาจถอยหลังไปอีกไกล
ส่วนนายปริญญา กล่าวว่า คณะกรรมการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ควรยุติการดำเนินการไว้ก่อน เพราะไม่มีฝ่ายค้าน หรือวุฒิสภาเข้าร่วม จึงอาจไม่เป็นที่ยอมรับ เดินหน้าต่อไปไม่ได้ ดังนั้น ทางออกจึงอยากเสนอให้รัฐสภาเป็นผู้ตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมาศึกษารับฟังความเห็นจากฝ่ายต่างๆ ในรูปแบบที่เหมาะสม รวมถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ก่อนที่จะมีการตั้ง ส.ส.ร.ชุดใหม่ และเมื่อมีการตั้งคณะกรรมการอิสระแล้ว รัฐบาลควรยุบสภา และหากมีการยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ ก็ควรมีการทำประชามติ
นายสาทิตย์ กล่าวว่า ความขัดแย้งที่เป็นวิกฤติสะสมมา 6 ปี มาจากคนที่เห็นด้วยและต่อต้านระบอบทักษิณ ดังนั้น การตั้ง ส.ส.ร.ขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ อาจไม่ใช่ทางออกที่แท้จริงของปัญหา ยิ่ง ส.ส.ร. มาจากองค์ประชุมไม่ครบ 4 ฝ่าย จึงไม่ใช่ทางออกที่จะแก้ไขปัญหาได้ ในขณะที่ทุกภาคส่วนของสังคมต้องการให้รัฐบาลรับผิดชอบในเหตุการณ์สลายการชุมนุม 7 ตุลาคม จึงเห็นว่า ส.ส.ร.ชุดใหม่ อาจจะสร้างปมปัญหามากกว่าแก้ปัญหา
นายสาทิตย์ กล่าวต่อว่า การออกมาผลักดันตั้ง ส.ส.ร.ดังกล่าว อาจต้องการทำให้บ้านเมืองถึงทางตัน เพื่อให้เกิดทฤษฎีอะไรจะเกิดก็ต้องเกิด เพื่อบีบทหารออกมาปฏิวัติ เพื่ออาศัยเงื่อนไขมาสร้างการต่อสู้คล้ายกับช่วงที่มีการต่อสู้กับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และชูธงแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อหาเสียงเลือกตั้ง ดังนั้น จึงขอเสนอให้ยุบสภาเพื่อพักความขัดแย้ง และหากวิกฤติการเมืองยังแก้ไขไม่ได้ค่อยหยิบแนวทางการตั้ง ส.ส.ร.ชุดใหม่มาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ถือว่ายังไม่สาย
ด้าน น.ส.รสนา กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญช่วงนี้ จะทำให้ถูกมองว่าทำเพื่อประโยชน์ฝ่ายการเมือง ปลดล็อกแก้คดีให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ทำให้คนบางกลุ่มไม่เชื่อว่ารัฐบาลจะทำเพื่อส่วนรวม และจะทำให้เกิดแรงบีบจากคนที่ไม่เห็นด้วย ดังนั้น การแก้ไขรัฐธรรมนุญไม่ใช่การแก้วิกฤติ ซึ่งส่วนตัวมองว่า เป็นการรัฐประหารในรูปแบบของสภามากกว่า
นายอนุสรณ์ กล่าวว่า แม้บางคนจะมองว่า ส.ส.ร. ไม่ใช่ทางออกของปัญหา แต่ยังดีกว่าไม่มีคนกลไกที่จะช่วยคลี่คลายวิกฤติ ทั้งนี้ ในสัดส่วนของ ส.ส.ร.ชุดใหม่ ควรมีฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน ส.ว.สรรหา ส.ว.เลือกตั้ง พันธมิตรฯ และกลุ่ม นปช. เปิดใจหาทางออก และแสดงความเป็นห่วงประเทศอย่างจริงใจ เพื่อให้เกิดการปฏิรูปการเมืองแบบใหม่ และหาก ส.ส.ร.ชุดใหม่ตั้งไม่ได้ รัฐบาลก็ควรยุบสภา หรือลาออก เพราะหากเปลี่ยนผ่านในช่วงนี้ไม่ได้ ประเทศอาจถอยหลังไปอีกไกล
ส่วนนายปริญญา กล่าวว่า คณะกรรมการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ควรยุติการดำเนินการไว้ก่อน เพราะไม่มีฝ่ายค้าน หรือวุฒิสภาเข้าร่วม จึงอาจไม่เป็นที่ยอมรับ เดินหน้าต่อไปไม่ได้ ดังนั้น ทางออกจึงอยากเสนอให้รัฐสภาเป็นผู้ตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมาศึกษารับฟังความเห็นจากฝ่ายต่างๆ ในรูปแบบที่เหมาะสม รวมถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ก่อนที่จะมีการตั้ง ส.ส.ร.ชุดใหม่ และเมื่อมีการตั้งคณะกรรมการอิสระแล้ว รัฐบาลควรยุบสภา และหากมีการยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ ก็ควรมีการทำประชามติ