บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด คาดว่าปริมาณการส่งออกรถยนต์ของไทยในปี 2552 จะมีอัตราขยายตัวประมาณร้อยละ 8 ชะลอลงกว่าปี 2551 ที่คาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 14 ขณะที่มูลค่าการส่งออกอาจจะขยายตัวประมาณร้อยละ 9.9 ชะลอลงกว่าปี 2551 ที่คาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 17 ซึ่งผลดังกล่าวอาจเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ตามแผนแม่บทอุตสาหกรรมยานยนต์ระยะที่ 2 ซึ่งมีเป้าหมายที่จะเพิ่มปริมาณการผลิตรถยนต์เป็น 2 ล้านคันต่อปีให้ได้ภายในปี 2554
ในส่วนของผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องปรับตัวเพื่อรับกับปัญหาวิกฤติการเงินในสหรัฐฯ ซึ่งมีโอกาสที่จะส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน และต้นทุนปัจจัยการผลิตบางตัว เช่น น้ำมัน และราคาเหล็ก ที่อาจจะมีทิศทางที่ผันผวน ผู้ประกอบการจึงควรหาแนวทางในควบคุมต้นทุน เช่น การทำประกันอัตราแลกเปลี่ยน และติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันและเหล็กในตลาดโลกอย่างใกล้ชิด
นอกจากนี้ เพื่อกระจายความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากเศรษฐกิจโลก ชะลอตัวอาจจะใช้ประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ ที่ไทยไปทำข้อตกลงร่วมด้วย โดยการพยายามผลักดันให้เกิดการค้ากับประเทศเหล่านี้มากขึ้น รวมถึงหาตลาดใหม่ที่มีศักยภาพเพื่อกระจายการส่งออก
นอกจากนี้ จากสภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอลง ผู้ประกอบการอาจไม่สามารถปรับราคาขายขึ้นได้มากนัก ในระยะยาวจึงควรหาวิธีการที่จะลดต้นทุนการผลิตในระยะยาว โดยการเพิ่มขีดความสามารถด้านการผลิต เช่น การลงทุนด้านเทคโนโลยีในการผลิต การจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนารวมถึงตรวจสอบคุณภาพในประเทศ การสร้างความแข็งแกร่งของเครือข่ายอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งระบบในประเทศ โดยเฉพาะชิ้นส่วนยานยนต์ต่างๆ รวมถึงการพัฒนาบุคลากรของบริษัทฯ ให้มีทักษะความชำนาญที่สูงขึ้น เพื่อรองรับกับอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูงเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิผลในการผลิตสูงสุด
ในส่วนของผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องปรับตัวเพื่อรับกับปัญหาวิกฤติการเงินในสหรัฐฯ ซึ่งมีโอกาสที่จะส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน และต้นทุนปัจจัยการผลิตบางตัว เช่น น้ำมัน และราคาเหล็ก ที่อาจจะมีทิศทางที่ผันผวน ผู้ประกอบการจึงควรหาแนวทางในควบคุมต้นทุน เช่น การทำประกันอัตราแลกเปลี่ยน และติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันและเหล็กในตลาดโลกอย่างใกล้ชิด
นอกจากนี้ เพื่อกระจายความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากเศรษฐกิจโลก ชะลอตัวอาจจะใช้ประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ ที่ไทยไปทำข้อตกลงร่วมด้วย โดยการพยายามผลักดันให้เกิดการค้ากับประเทศเหล่านี้มากขึ้น รวมถึงหาตลาดใหม่ที่มีศักยภาพเพื่อกระจายการส่งออก
นอกจากนี้ จากสภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอลง ผู้ประกอบการอาจไม่สามารถปรับราคาขายขึ้นได้มากนัก ในระยะยาวจึงควรหาวิธีการที่จะลดต้นทุนการผลิตในระยะยาว โดยการเพิ่มขีดความสามารถด้านการผลิต เช่น การลงทุนด้านเทคโนโลยีในการผลิต การจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนารวมถึงตรวจสอบคุณภาพในประเทศ การสร้างความแข็งแกร่งของเครือข่ายอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งระบบในประเทศ โดยเฉพาะชิ้นส่วนยานยนต์ต่างๆ รวมถึงการพัฒนาบุคลากรของบริษัทฯ ให้มีทักษะความชำนาญที่สูงขึ้น เพื่อรองรับกับอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูงเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิผลในการผลิตสูงสุด