"ไอเอฟเอส แคปปิตอล"ตั้งเป้าปีนี้รายได้เพิ่ม 28% จากปีก่อนที่อยู่ในระดับ 14,500 ล้าน รุกปล่อยสินเชื่อหมุนเวียนให้ผู้ส่งออก ชี้ถือเป็นการเสริมสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจให้ผู้ประกอบการในช่วงน้ำมันแพง-ต้นทุนสูง
นายตัน เล เยน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทไอเอฟเอส แคปปิตอล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการธุรกิจแฟคเตอริ่งและลิสซิ่งเปิดเผยถึงเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจของไอเอฟเอสในปีนี้ว่า บริษัทตั้งเป้าจะมีรายได้ทั้งสิ้น 18,600 ล้านบาท หรือโตขึ้น 28% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาที่มีรายได้ 14,500 ล้านบาท โดยกลุ่มลูกค้าหลักยังเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ การพิมพ์ อิเลคทรอนิกส์ และเคมี พร้อมรักษาสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ไม่ให้เกิน 5%ของยอดสินเชื่อทั้งหมด
“จากสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งมีปัจจัยลบทางด้านการเมืองและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ขีดความสามารถทางการแข่งขันทางการค้าของเอสเอ็มอีไทยลดลง ส่งผลให้ผู้ประกอบการได้รับความลำบากในการดำเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้น ซึ่งบริษัทพร้อมที่จะเข้าไปให้ความมั่นใจในการให้สินเชื่อเพื่อสร้างความมั่นคงทางธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ยังมีกลุ่มเอสเอ็มอีไทยอีกมาก ที่ขาดความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจแฟคเตอริ่ง ซึ่งบริษัทพร้อมที่จะให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้ประกอบการไทยให้เข้าใจในธุรกิจแฟคตอริ่ง ว่ามีส่วนช่วยเหลือผู้ประกอบการให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง"นายตันกล่าว
ทั้งนี้ ธุรกิจแฟคเตอริ่งนั้นเป็นการให้สินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนในรูปแบบของการรับซื้อลูกหนี้การค้าทั้งภายในประเทศและการส่งออก ซึ่งที่ผ่านมามีผู้ประกอบการในไทยที่ธุรกิจมีศักยภาพในการเติบโตแต่ขาดเงินทุนหมุนเวียน ได้เห็นประโยชน์และเข้ามาใช้บริการของไอเอฟเอสอย่างต่อเนื่อง แต่ในส่วนของผู้ที่ทำธุรกิจเพื่อการส่งออกยังมีค่อนข้างน้อย
โดยการใช้บริการแฟคเตอริ่งสำหรับธุรกิจส่งออกนั้นจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกไทยกับต่างชาติได้ และทำให้ผู้ประกอบการรายเล็กแข่งกับรายใหญ่ได้ เพราะการแข่งขันนั้นไม่ได้แข่งเรื่องราคาอย่างเดียว แต่แข่งเรื่องเครดิตด้วย ผู้ค้ารายใหญ่ส่วนใหญ่จะให้เครดิตกับลูกค้าในการชำระเงินภายหลังรับสินค้าแล้ว 30-45 วัน รายเล็กที่ใช้บริการแฟคเตอริ่งก็ให้เครดิตได้เช่นกัน อาจจะยาวถึง 60 วัน
“ธุรกิจแฟคเตอริ่งและลิสซิ่งในเมืองไทยยังมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก โดยดูจากโมเดลในตลาดต่างประเทศ เช่น อังกฤษและอิตาลี ซึ่งเป็นประเทศที่มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจำนวนมาก คล้ายๆ กับของไทย จะเห็นว่ามีผู้ประกอบการที่ใช้บริการแฟคเตอริ่งจำนวนมาก” นายตันกล่าว
นายตัน เล เยน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทไอเอฟเอส แคปปิตอล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการธุรกิจแฟคเตอริ่งและลิสซิ่งเปิดเผยถึงเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจของไอเอฟเอสในปีนี้ว่า บริษัทตั้งเป้าจะมีรายได้ทั้งสิ้น 18,600 ล้านบาท หรือโตขึ้น 28% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาที่มีรายได้ 14,500 ล้านบาท โดยกลุ่มลูกค้าหลักยังเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ การพิมพ์ อิเลคทรอนิกส์ และเคมี พร้อมรักษาสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ไม่ให้เกิน 5%ของยอดสินเชื่อทั้งหมด
“จากสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งมีปัจจัยลบทางด้านการเมืองและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ขีดความสามารถทางการแข่งขันทางการค้าของเอสเอ็มอีไทยลดลง ส่งผลให้ผู้ประกอบการได้รับความลำบากในการดำเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้น ซึ่งบริษัทพร้อมที่จะเข้าไปให้ความมั่นใจในการให้สินเชื่อเพื่อสร้างความมั่นคงทางธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ยังมีกลุ่มเอสเอ็มอีไทยอีกมาก ที่ขาดความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจแฟคเตอริ่ง ซึ่งบริษัทพร้อมที่จะให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้ประกอบการไทยให้เข้าใจในธุรกิจแฟคตอริ่ง ว่ามีส่วนช่วยเหลือผู้ประกอบการให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง"นายตันกล่าว
ทั้งนี้ ธุรกิจแฟคเตอริ่งนั้นเป็นการให้สินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนในรูปแบบของการรับซื้อลูกหนี้การค้าทั้งภายในประเทศและการส่งออก ซึ่งที่ผ่านมามีผู้ประกอบการในไทยที่ธุรกิจมีศักยภาพในการเติบโตแต่ขาดเงินทุนหมุนเวียน ได้เห็นประโยชน์และเข้ามาใช้บริการของไอเอฟเอสอย่างต่อเนื่อง แต่ในส่วนของผู้ที่ทำธุรกิจเพื่อการส่งออกยังมีค่อนข้างน้อย
โดยการใช้บริการแฟคเตอริ่งสำหรับธุรกิจส่งออกนั้นจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกไทยกับต่างชาติได้ และทำให้ผู้ประกอบการรายเล็กแข่งกับรายใหญ่ได้ เพราะการแข่งขันนั้นไม่ได้แข่งเรื่องราคาอย่างเดียว แต่แข่งเรื่องเครดิตด้วย ผู้ค้ารายใหญ่ส่วนใหญ่จะให้เครดิตกับลูกค้าในการชำระเงินภายหลังรับสินค้าแล้ว 30-45 วัน รายเล็กที่ใช้บริการแฟคเตอริ่งก็ให้เครดิตได้เช่นกัน อาจจะยาวถึง 60 วัน
“ธุรกิจแฟคเตอริ่งและลิสซิ่งในเมืองไทยยังมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก โดยดูจากโมเดลในตลาดต่างประเทศ เช่น อังกฤษและอิตาลี ซึ่งเป็นประเทศที่มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจำนวนมาก คล้ายๆ กับของไทย จะเห็นว่ามีผู้ประกอบการที่ใช้บริการแฟคเตอริ่งจำนวนมาก” นายตันกล่าว