ผู้จัดการรายวัน - ลดภาษีนิติบุคคลตามนโยบายเลี้ยบ 5% สูญเงินอย่างต่ำ 5 หมื่นล้าน วงในระบุผู้ได้ประโยชน์แท้จริงคือกลุ่มการเมืองที่ถือหุ้นในบริษัทยักษ์ใหญ่กลุ่มพลังงาน-ชิ้นส่วนยานยนต์-อสังหาริมทรัพย์ “เลี้ยบ” รับมาตรการภาษีนิติบุคคลสร้างความเชื่อมั่นด้านจิตวิทยาแก่นักลงทุนเท่านั้นแต่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งหมด ด้านนักวิชาการสศค.ออกโรงหนุนมาตรการแจงดึงเงินลงทุนต่างชาติ-เพิ่มฐานผู้เสียภาษีมากขึ้น
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า แนวทางการลดภาษีนิติบุคคลตามนโยบาย นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลังเพื่อส่งเสริมการลงทุนและกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นหากมีการลดภาษีนิติบุคคลลง 5% ตามที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เคยศึกษาไว้นั้นจะทำให้กระทรวงการคลังสูญเสียรายได้จากผู้เสียภาษีกลุ่มนี้ไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาทซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่กระทบต่อเป้าการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลมาก
ซึ่งปัญหาที่เกิดในขณะนี้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการบริหารบ้านเมืองเพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจก้าวหน้าต่อไปจะต้องดำเนินการแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยความจริงใจและเป็นธรรมต่อประชาชนทุกฝ่าย เพราะเมื่อพิจารณาถึงเนื้อแท้ของนโยบายลดภาษีนิติบุคคลแล้วจะพบว่ากลุ่มคนที่ได้รับประโยชน์คือกลุ่มทุนที่มีความใกล้ชิดกับการเมืองทั้งสิ้น
โดยเฉพาะบริษัทที่มีกำไรนับหมื่นนับแสนล้านที่ประกอบไปด้วยกลุ่มธุรกิจพลังงานที่ได้รับประโยชน์มากในช่วงที่ราคาน้ำมันแพง กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ได้มีกำไรมหาศาลจากลดภาษีรถยนต์ประเภทต่างๆ ตามนโยบายประหยัดพลังงาน รวมทั้งผู้ประกอบการด้านอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ทั้งหลายที่ถือเป็นนายทุนของพรรคการเมืองที่เป็นแกนนำรัฐบาล
“เงิน 5 หมื่นล้านที่หายไปถือเป็นจำนวนที่มหาศาลเป็นเนื้อช้างก้อนใหญ่ที่รัฐบาลต้องสูญเสียไป ซึ่งนโยบายที่ออกมาต้องมีความจริงในในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจอย่ามีวาระซ่อนเร้นเพื่อผลประโยชน์แก่กลุ่มหรือพวกพ้องของตนเอง ตามหลักแล้วต้องเอาเงินภาษีจากคนรวยเพื่อมาจุนเจือคนจนส่วนมากของประเทศแต่ที่รัฐบาลกำลังทำคือทำให้คนที่รวยอยู่แล้วร่ำรวยยิ่งขึ้นและซ้ำเติมประชาชนที่ต้องแบกรับปัญหาจากราคาน้ำมันที่แพงขึ้นทุกวัน” แหล่งข่าวกล่าว
***เลี้ยบรับไม่ช่วยแก้ปัญหาทั้งหมด
นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า ได้มอบหมายให้หน่วยงานในกระทรวงการคลังศึกษามาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเน้นการสร้างรายได้เป็นหลักซึ่งมีหลายมาตรการที่ศึกษาไว้แล้ว แต่ยังไม่มีข้อสรุป และอีกหลายมาตรการที่กำลังศึกษา โดยกรณีของมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น ยังไม่ได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้ โดยต้องไปศึกษาถึงผลดีและผลเสียที่จะเกิดขึ้นให้ชัดเจนก่อน ซึ่งได้สั่งให้ไปหาข้อมูลเพิ่มเติมแล้ว จึงจะสรุปภายหลังอีกครั้งหนึ่ง
“นอกจากนี้ยังต้องประเมินสถานการณ์ปัจจุบันด้วย โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่ยังผันผวนอยู่ อีกทั้งเศรษฐกิจโลกยังชะลอตัว ดังนั้นการที่จะตัดสินใจดำเนินมาตรการอะไร ต้องประเมินถึงกระทบที่จะเกิดขึ้นให้รอบคอบ หากเป็นสถานการณ์ปกติ ก็คงจะตัดสินใจอะไรได้ดีกว่านี้และง่ายกว่านี้ โดยการนำมาตรการด้านภาษีมาใช้ ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะสร้างความเชื่อมั่นกับนักลงทุนต่างชาติได้ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ซึ่งกระทรวงการคลังพยายามที่จะศึกษามาตรการล่วงหน้าต่างๆ เอาไว้ทั้งหมด ไม่ใช่เรื่องภาษีนิติบุคคลเท่านั้น เพื่อให้เข้าใจว่า อยู่ในสถานการณ์อย่างไร และจะนำมาตรการใดมาใช้ได้บ้าง” นพ.สุรพงษ์กล่าว
***นักวิชาการ สศค.หนุนนโยบาย
นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้อำนวยการกลุ่มกลยุทธ์และพัฒนาระบบการเงิน สศค. กล่าวว่า นโยบายการลดภาษีนิติบุคคลถือเป็นเรื่องที่ส่งผลทางจิตวิทยาในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศซึ่งเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคนี้จะเห็นว่าอัตราการจัดเก็บภาษีนิติบุคคลของประเทศไทยสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านโดยในสิงคโปร์และมาเลเซียมีการจัดเก็บภาษีนิติบุคคลเพียง 25% เท่านั้น
ซึ่งหากประเทศไทยสามารถลดการจัดเก็บภาษีส่วนนี้ลงได้จะเกิดแรงจูงใจให้ต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเนื่องจากทรัพยากรในแต่ละด้านนั้นประเทศไทยมีความพร้อมมากกว่า โดยหากพิจารณาในแง่รายได้ของรัฐที่จะสูงเสียไปจากนโยบายนี้ตัวเลขอาจดูสูงแต่เมื่อพิจารณาถึงภาคเอกชาเพิ่มการลงทุนจะทำให้ปริมาณธุรกรรมของผู้เสียภาษีมีมากขึ้นเพราะเมื่อเห็นว่าเสียภาษีน้อยลงจำนวนผู้ประกอบการก็จะเพิ่มขึ้นตาม
“คิดว่าเป็นจังหวะที่ดีหากรัฐบาลจะนำนโยบายเรื่องภาษีนิติบุคคลมาใช้เพราะเป็นช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี โดยนโยบายนี้จะมีส่วนบรรเทาปัญหาเงินเฟ้อและต้นทุนทางการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันได้ในระดับหนึ่ง การเลิกจ้างจะลดลงทำให้คมมีงานทำธุรกิจแข่งขันกันได้และสุดท้ายรัฐบาลก็จะสามารถจัดเก็บภาษีชดเชยส่วนที่หายไปจากนโยบายได้” นายโชติชัยกล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า แนวทางการลดภาษีนิติบุคคลตามนโยบาย นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลังเพื่อส่งเสริมการลงทุนและกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นหากมีการลดภาษีนิติบุคคลลง 5% ตามที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เคยศึกษาไว้นั้นจะทำให้กระทรวงการคลังสูญเสียรายได้จากผู้เสียภาษีกลุ่มนี้ไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาทซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่กระทบต่อเป้าการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลมาก
ซึ่งปัญหาที่เกิดในขณะนี้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการบริหารบ้านเมืองเพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจก้าวหน้าต่อไปจะต้องดำเนินการแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยความจริงใจและเป็นธรรมต่อประชาชนทุกฝ่าย เพราะเมื่อพิจารณาถึงเนื้อแท้ของนโยบายลดภาษีนิติบุคคลแล้วจะพบว่ากลุ่มคนที่ได้รับประโยชน์คือกลุ่มทุนที่มีความใกล้ชิดกับการเมืองทั้งสิ้น
โดยเฉพาะบริษัทที่มีกำไรนับหมื่นนับแสนล้านที่ประกอบไปด้วยกลุ่มธุรกิจพลังงานที่ได้รับประโยชน์มากในช่วงที่ราคาน้ำมันแพง กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ได้มีกำไรมหาศาลจากลดภาษีรถยนต์ประเภทต่างๆ ตามนโยบายประหยัดพลังงาน รวมทั้งผู้ประกอบการด้านอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ทั้งหลายที่ถือเป็นนายทุนของพรรคการเมืองที่เป็นแกนนำรัฐบาล
“เงิน 5 หมื่นล้านที่หายไปถือเป็นจำนวนที่มหาศาลเป็นเนื้อช้างก้อนใหญ่ที่รัฐบาลต้องสูญเสียไป ซึ่งนโยบายที่ออกมาต้องมีความจริงในในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจอย่ามีวาระซ่อนเร้นเพื่อผลประโยชน์แก่กลุ่มหรือพวกพ้องของตนเอง ตามหลักแล้วต้องเอาเงินภาษีจากคนรวยเพื่อมาจุนเจือคนจนส่วนมากของประเทศแต่ที่รัฐบาลกำลังทำคือทำให้คนที่รวยอยู่แล้วร่ำรวยยิ่งขึ้นและซ้ำเติมประชาชนที่ต้องแบกรับปัญหาจากราคาน้ำมันที่แพงขึ้นทุกวัน” แหล่งข่าวกล่าว
***เลี้ยบรับไม่ช่วยแก้ปัญหาทั้งหมด
นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า ได้มอบหมายให้หน่วยงานในกระทรวงการคลังศึกษามาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเน้นการสร้างรายได้เป็นหลักซึ่งมีหลายมาตรการที่ศึกษาไว้แล้ว แต่ยังไม่มีข้อสรุป และอีกหลายมาตรการที่กำลังศึกษา โดยกรณีของมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น ยังไม่ได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้ โดยต้องไปศึกษาถึงผลดีและผลเสียที่จะเกิดขึ้นให้ชัดเจนก่อน ซึ่งได้สั่งให้ไปหาข้อมูลเพิ่มเติมแล้ว จึงจะสรุปภายหลังอีกครั้งหนึ่ง
“นอกจากนี้ยังต้องประเมินสถานการณ์ปัจจุบันด้วย โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่ยังผันผวนอยู่ อีกทั้งเศรษฐกิจโลกยังชะลอตัว ดังนั้นการที่จะตัดสินใจดำเนินมาตรการอะไร ต้องประเมินถึงกระทบที่จะเกิดขึ้นให้รอบคอบ หากเป็นสถานการณ์ปกติ ก็คงจะตัดสินใจอะไรได้ดีกว่านี้และง่ายกว่านี้ โดยการนำมาตรการด้านภาษีมาใช้ ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะสร้างความเชื่อมั่นกับนักลงทุนต่างชาติได้ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ซึ่งกระทรวงการคลังพยายามที่จะศึกษามาตรการล่วงหน้าต่างๆ เอาไว้ทั้งหมด ไม่ใช่เรื่องภาษีนิติบุคคลเท่านั้น เพื่อให้เข้าใจว่า อยู่ในสถานการณ์อย่างไร และจะนำมาตรการใดมาใช้ได้บ้าง” นพ.สุรพงษ์กล่าว
***นักวิชาการ สศค.หนุนนโยบาย
นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้อำนวยการกลุ่มกลยุทธ์และพัฒนาระบบการเงิน สศค. กล่าวว่า นโยบายการลดภาษีนิติบุคคลถือเป็นเรื่องที่ส่งผลทางจิตวิทยาในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศซึ่งเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคนี้จะเห็นว่าอัตราการจัดเก็บภาษีนิติบุคคลของประเทศไทยสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านโดยในสิงคโปร์และมาเลเซียมีการจัดเก็บภาษีนิติบุคคลเพียง 25% เท่านั้น
ซึ่งหากประเทศไทยสามารถลดการจัดเก็บภาษีส่วนนี้ลงได้จะเกิดแรงจูงใจให้ต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเนื่องจากทรัพยากรในแต่ละด้านนั้นประเทศไทยมีความพร้อมมากกว่า โดยหากพิจารณาในแง่รายได้ของรัฐที่จะสูงเสียไปจากนโยบายนี้ตัวเลขอาจดูสูงแต่เมื่อพิจารณาถึงภาคเอกชาเพิ่มการลงทุนจะทำให้ปริมาณธุรกรรมของผู้เสียภาษีมีมากขึ้นเพราะเมื่อเห็นว่าเสียภาษีน้อยลงจำนวนผู้ประกอบการก็จะเพิ่มขึ้นตาม
“คิดว่าเป็นจังหวะที่ดีหากรัฐบาลจะนำนโยบายเรื่องภาษีนิติบุคคลมาใช้เพราะเป็นช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี โดยนโยบายนี้จะมีส่วนบรรเทาปัญหาเงินเฟ้อและต้นทุนทางการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันได้ในระดับหนึ่ง การเลิกจ้างจะลดลงทำให้คมมีงานทำธุรกิจแข่งขันกันได้และสุดท้ายรัฐบาลก็จะสามารถจัดเก็บภาษีชดเชยส่วนที่หายไปจากนโยบายได้” นายโชติชัยกล่าว