นายนพดล กรรณิกา หัวหน้าศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัย อัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง "ความสุข-ความทุกข์ของคนกรุงเทพฯ และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่คนทำงานต้องการ" กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) จำนวน 2,186 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 15-18 สิงหาคม 2551 พบว่าร้อยละ 45.8 มีความสุขมากถึงมากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 43.0 ระบุมีความสุขในระดับปานกลาง ร้อยละ 11.2 ระบุมีความสุขน้อยถึงไม่มีความสุขเลย
สาเหตุที่ทำให้มีความทุกข์มากสุดมาจากปัญหาเศรษฐกิจย่ำแย่ รองลงมาคือปัญหาการจราจรติดขัด/รถติด ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง/การชุมนุมประท้วงต่างๆ ส่วนสิ่งที่ทำให้มีความสุขพบว่า ร้อยละ 22.3 ระบุการมีสวนสาธารณะ/มีพื้นที่สีเขียวอยู่บ้าง ร้อยละ 20.5 ระบุความสะดวกสบายในการเดินทาง ร้อยละ 20.4 ระบุการที่มีครอบครัวอบอุ่น/ไม่มีปัญหาครอบครัว
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีคุณสมบัติของผู้สมัครที่คิดว่าจะเลือกเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครนั้น พบว่า ร้อยละ 73.1 ระบุต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละ 60.9 ระบุเป็นคนกล้าคิดกล้าทำ ร้อยละ 59.6 ระบุรวดเร็วฉับไวในการแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชน ร้อยละ 58.2 ระบุมีผลงานเห็นได้ชัด ร้อยละ 56.7 ระบุมีวิสัยทัศน์กว้างไกลรู้จักป้องกันปัญหา และร้อยละ 51.3 ระบุเข้าถึงและใกล้ชิดประชาชน
อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจพบว่า มีเพียงร้อยละ 2.9 เท่านั้นที่จะเลือกผู้สมัครเพราะมีฐานะร่ำรวย ในขณะที่ร้อยละ 3.5 ระบุจะเลือกผู้สมัครที่สังกัดพรรคการเมือง ร้อยละ 2.1 จะเลือกผู้ที่มีบุญคุณกับตนเอง และร้อยละ 1.7 ระบุจะเลือกผู้ที่มีค่าตอบแทนเป็นเงินมาให้
ส่วนการตัดสินใจที่จะเลือกผู้ตกเป็นข่าวว่าจะเข้าชิงตำแหน่งผู้ว่า กทม. ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 40.6 ระบุตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกคนเคยมีผลงาน ในขณะที่ร้อยละ 37.1 ระบุตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกคนใหม่ และร้อยละ 22.3 ระบุยังไม่ตัดสินใจ/ มีตัวเลือกในใจมากกว่า 1 คน อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจครั้งนี้พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.6 ระบุอาจเปลี่ยนใจได้อีก
สาเหตุที่ทำให้มีความทุกข์มากสุดมาจากปัญหาเศรษฐกิจย่ำแย่ รองลงมาคือปัญหาการจราจรติดขัด/รถติด ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง/การชุมนุมประท้วงต่างๆ ส่วนสิ่งที่ทำให้มีความสุขพบว่า ร้อยละ 22.3 ระบุการมีสวนสาธารณะ/มีพื้นที่สีเขียวอยู่บ้าง ร้อยละ 20.5 ระบุความสะดวกสบายในการเดินทาง ร้อยละ 20.4 ระบุการที่มีครอบครัวอบอุ่น/ไม่มีปัญหาครอบครัว
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีคุณสมบัติของผู้สมัครที่คิดว่าจะเลือกเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครนั้น พบว่า ร้อยละ 73.1 ระบุต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละ 60.9 ระบุเป็นคนกล้าคิดกล้าทำ ร้อยละ 59.6 ระบุรวดเร็วฉับไวในการแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชน ร้อยละ 58.2 ระบุมีผลงานเห็นได้ชัด ร้อยละ 56.7 ระบุมีวิสัยทัศน์กว้างไกลรู้จักป้องกันปัญหา และร้อยละ 51.3 ระบุเข้าถึงและใกล้ชิดประชาชน
อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจพบว่า มีเพียงร้อยละ 2.9 เท่านั้นที่จะเลือกผู้สมัครเพราะมีฐานะร่ำรวย ในขณะที่ร้อยละ 3.5 ระบุจะเลือกผู้สมัครที่สังกัดพรรคการเมือง ร้อยละ 2.1 จะเลือกผู้ที่มีบุญคุณกับตนเอง และร้อยละ 1.7 ระบุจะเลือกผู้ที่มีค่าตอบแทนเป็นเงินมาให้
ส่วนการตัดสินใจที่จะเลือกผู้ตกเป็นข่าวว่าจะเข้าชิงตำแหน่งผู้ว่า กทม. ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 40.6 ระบุตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกคนเคยมีผลงาน ในขณะที่ร้อยละ 37.1 ระบุตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกคนใหม่ และร้อยละ 22.3 ระบุยังไม่ตัดสินใจ/ มีตัวเลือกในใจมากกว่า 1 คน อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจครั้งนี้พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.6 ระบุอาจเปลี่ยนใจได้อีก