นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ "โค้งแรกเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ใครนำใครตาม" จากกลุ่มตัวอย่างประชาชนในกรุงเทพมหานคร (กทม.) จำนวน 2,074 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 3-4 กันยายน พบว่า หลัง ม.ล.ณัฎฐกรณ์ เทวกุล ไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ผู้ว่า กทม.พบการเปลี่ยนแปลงในสัดส่วนของเลือกสมัคร กล่าวคือ คนกรุงเทพฯ เลือกนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน พรรคประชาธิปัตย์ เพิ่มจากร้อยละ 40.2 ในเดือนสิงหาคม มาที่ร้อยละ 45.9 เพราะเห็นว่าวิสัยทัศน์ดี มีผลงานเป็นรูปธรรม รองลงมาคือ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ เพิ่มจากร้อยละ 11.3 เป็นร้อยละ 15.1 เพราะดูเด็ดขาด ตั้งใจดี เป็นนักธุรกิจ ทันสมัย ทำจริง กล้าชน เป็นทางเลือกใหม่ อันดับที่ 3 นายเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ เพิ่มจากร้อยละ 5.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 9.6 เพราะเป็นแนวทางคิดใหม่ เปลี่ยนมุมมอง มีความรู้ความสามารถ ส่วนนายประภัสร์ จงสงวน พรรคพลังประชาชน ได้คะแนนร้อยละ 4.4 เช่นเดียวกับผู้สมัครอื่น รวมกันอยู่ที่ร้อยละ 4.4
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ยังไม่ตัดสินใจในการสำรวจครั้งนี้ยังอยู่ที่ร้อยละ 20.6
นอกจากนี้ พบว่าคนกรุงเทพฯ รู้วันเลือกตั้งเพิ่มจากร้อยละ 10 ในเดือนสิงหาคม มาที่ร้อยละ 39 แต่อีกร้อยละ 61 ยังไม่ทราบวันเลือกตั้งผู้ว่า และเมื่อถามถึงความตั้งใจไปใช้สิทธิเลืกตั้ง พบว่าร้อยละ 67.9 ตั้งใจจะไปใช้สิทธิ์ และยังพบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 89.6 เห็นควรให้มีการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้สมัคร ร้อยละ 61.9 อยากเห็นนายอภิรักษ์ ดีเบตกับนายชูวิทย์ ขณะที่ร้อยละ 25.7 อยากเห็นนายเกรียงศักดิ์ ดีเบตกับนายอภิรักษ์ ซึ่งประเด็นที่ควรนำมาเป็นเรื่องเร่งแก้ไขและดีเบตคือปัญหาจราจร ร้อยละ 27.1 รองลงไปคือ ปัญหาปากท้อง ค่าครองชีพ ร้อยละ 14.5 ปัญหายาเสพติดร้อยละ 10.1
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ยังไม่ตัดสินใจในการสำรวจครั้งนี้ยังอยู่ที่ร้อยละ 20.6
นอกจากนี้ พบว่าคนกรุงเทพฯ รู้วันเลือกตั้งเพิ่มจากร้อยละ 10 ในเดือนสิงหาคม มาที่ร้อยละ 39 แต่อีกร้อยละ 61 ยังไม่ทราบวันเลือกตั้งผู้ว่า และเมื่อถามถึงความตั้งใจไปใช้สิทธิเลืกตั้ง พบว่าร้อยละ 67.9 ตั้งใจจะไปใช้สิทธิ์ และยังพบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 89.6 เห็นควรให้มีการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้สมัคร ร้อยละ 61.9 อยากเห็นนายอภิรักษ์ ดีเบตกับนายชูวิทย์ ขณะที่ร้อยละ 25.7 อยากเห็นนายเกรียงศักดิ์ ดีเบตกับนายอภิรักษ์ ซึ่งประเด็นที่ควรนำมาเป็นเรื่องเร่งแก้ไขและดีเบตคือปัญหาจราจร ร้อยละ 27.1 รองลงไปคือ ปัญหาปากท้อง ค่าครองชีพ ร้อยละ 14.5 ปัญหายาเสพติดร้อยละ 10.1