“อภิรักษ์” เลือกลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.หนีความผิดกฎหมายเลือกตั้ง เหตุถ้าอยู่จนครบวาระกฎหมายเลือกตั้งย้อนหลัง 60 วันมีผล
แหล่งข่าวจากศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า หลังจากที่พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) ได้มีมติส่งตัว นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม.เป็นตัวแทนลงสมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.อีกครั้ง ทำให้ นายอภิรักษ์ ต้องมาศึกษาข้อกฎหมายต่างๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ซึ่งฝ่ายกฎหมายของ กทม.ได้ชี้ประเด็นเรื่องวิธีการดำรงตำแหน่งจนครบวาระกับการลาออกก่อนที่จะครบวาระจะมีผลแตกต่างกัน ดังนั้น หาก นายอภิรักษ์ ตัดสินใจอยู่จนครบวาระในวันที่ 28 ส.ค.นี้ นายอภิรักษ์ จะต้องทำหน้าที่รักษาการไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ครั้งใหม่ ซึ่งนายอภิรักษ์ เห็นว่า จะทำให้ไม่สามารถมีเวลาทำหน้าที่ผู้สมัครได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งอาจจะเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่าใช้อำนาจหน้าที่เอาเปรียบผู้สมัครคนอื่นได้
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า หากเลือกวิธีลาออกก่อนครบวาระตามกฎหมาย นายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลัด กทม.จะเป็นผู้รักษาการแทน ขณะที่อีกฝ่ายตีความตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 ว่า หาก นายอภิรักษ์ อยู่จนครบวาระแล้วมาลาออกภายหลัง ก็ไม่ต้องทำหน้าที่รักษาการอยู่ดี เพราะเป็นหน้าที่ปลัด กทม.โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว นอกจากนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เคยตีความว่าผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.ต้องไม่ทำหน้าที่รักษาการผู้ว่าฯ กทม.ดังนั้น การที่ นายอภิรักษ์ตัดสินใจเลือกวิธีการลาออกก่อนที่จะครบวาระก็เพื่อความไม่ประมาท อีกทั้งในช่วงตั้งแต่วันที่ 25 ส.ค.นี้ นายอภิรักษ์ จะต้องเดินทางพาลูกชายไปสมัครเรียนมหาวิทยาลัยที่บอสตัน ประเทศสหรัฐฯ อยู่แล้วด้วย โดย นายอภิรักษ์ จะเดินทางกลับมาในวันที่ 29 ส.ค.ก่อนที่จะไปสมัครผู้ว่าฯ วันที่ 1 ก.ย.นี้
ขณะที่แหล่งข่าวจาก กทม.อีกราย กล่าวว่า สาเหตุที่ นายอภิรักษ์ ตัดสินใจลาออกก่อนครบวาระครั้งนี้ น่าจะเกิดจากการกลัวความผิดกฎหมายเลือกตั้ง ซึ่งระบุว่า หากอยู่ครบวาระแล้วมีกฎหมายบังคับว่าย้อนหลัง 60 วันก่อนครบวาระผู้ว่าฯ กทม.ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งจะไม่สามารถแจกของหรือดำเนินการที่เป็นการชี้นำประชาชนให้มาลงคะแนนเลือก ซึ่งหากทำการลาออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ กม.ตัวนี้จะไม่มีผลบังคับใช้
แหล่งข่าวจากศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า หลังจากที่พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) ได้มีมติส่งตัว นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม.เป็นตัวแทนลงสมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.อีกครั้ง ทำให้ นายอภิรักษ์ ต้องมาศึกษาข้อกฎหมายต่างๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ซึ่งฝ่ายกฎหมายของ กทม.ได้ชี้ประเด็นเรื่องวิธีการดำรงตำแหน่งจนครบวาระกับการลาออกก่อนที่จะครบวาระจะมีผลแตกต่างกัน ดังนั้น หาก นายอภิรักษ์ ตัดสินใจอยู่จนครบวาระในวันที่ 28 ส.ค.นี้ นายอภิรักษ์ จะต้องทำหน้าที่รักษาการไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ครั้งใหม่ ซึ่งนายอภิรักษ์ เห็นว่า จะทำให้ไม่สามารถมีเวลาทำหน้าที่ผู้สมัครได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งอาจจะเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่าใช้อำนาจหน้าที่เอาเปรียบผู้สมัครคนอื่นได้
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า หากเลือกวิธีลาออกก่อนครบวาระตามกฎหมาย นายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลัด กทม.จะเป็นผู้รักษาการแทน ขณะที่อีกฝ่ายตีความตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 ว่า หาก นายอภิรักษ์ อยู่จนครบวาระแล้วมาลาออกภายหลัง ก็ไม่ต้องทำหน้าที่รักษาการอยู่ดี เพราะเป็นหน้าที่ปลัด กทม.โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว นอกจากนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เคยตีความว่าผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.ต้องไม่ทำหน้าที่รักษาการผู้ว่าฯ กทม.ดังนั้น การที่ นายอภิรักษ์ตัดสินใจเลือกวิธีการลาออกก่อนที่จะครบวาระก็เพื่อความไม่ประมาท อีกทั้งในช่วงตั้งแต่วันที่ 25 ส.ค.นี้ นายอภิรักษ์ จะต้องเดินทางพาลูกชายไปสมัครเรียนมหาวิทยาลัยที่บอสตัน ประเทศสหรัฐฯ อยู่แล้วด้วย โดย นายอภิรักษ์ จะเดินทางกลับมาในวันที่ 29 ส.ค.ก่อนที่จะไปสมัครผู้ว่าฯ วันที่ 1 ก.ย.นี้
ขณะที่แหล่งข่าวจาก กทม.อีกราย กล่าวว่า สาเหตุที่ นายอภิรักษ์ ตัดสินใจลาออกก่อนครบวาระครั้งนี้ น่าจะเกิดจากการกลัวความผิดกฎหมายเลือกตั้ง ซึ่งระบุว่า หากอยู่ครบวาระแล้วมีกฎหมายบังคับว่าย้อนหลัง 60 วันก่อนครบวาระผู้ว่าฯ กทม.ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งจะไม่สามารถแจกของหรือดำเนินการที่เป็นการชี้นำประชาชนให้มาลงคะแนนเลือก ซึ่งหากทำการลาออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ กม.ตัวนี้จะไม่มีผลบังคับใช้