นายแพทย์ณรงศักดิ์ อังคสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย แถลงข่าวการจัดกิจกรรม "กินให้มีสุขยุคอาหารแพง" ว่า จากภาวะค่าครองชีพสูงในปัจจุบันทำให้ประชาชนต้องลดค่าใช้จ่ายในทุกด้าน รวมทั้งการเลือกบริโภคอาหารอาจทำให้ได้ปริมาณและคุณภาพที่น้อยและด้อยลง ซึ่งเทคนิคในการฉลาดกินให้มีสุขและไม่ก่อให้เกิดภาวะขาดสารอาหารหรือภาวะโภชนาการเกินควรยึดหลัก 11 ข้อ คือ 1.กินพออิ่ม ตักอาหารปริมาณพอดี เช่น ข้าวสวย 1-2 ทัพพี ผัก 4-6 ช้อนข้าว เนื้อสัตว์ 2-3 ช้อนข้าว ผลไม้ 1-2 ส่วน หรือประมาณ 8-16 ชิ้น และน้ำสะอาด 1-2 แก้ว 2. ไม่กินทิ้งกินขว้าง 3. เลือกอาหารดีมีคุณค่าราคาถูก โดยอาหารประเภทโปรตีนอาจใช้เต้าหู้หรือถั่วเมล็ดแห้งผสมรวมกับเนื้อสัตว์ เลือกกินอาหารที่มีในท้องถิ่น ผักพื้นบ้านที่หาง่าย 4.กินผักผลไม้ไทยแทนของหวาน โดยเฉพาะผลไม้ตามฤดูกาลจะมีราคาถูกและไม่มีน้ำตาลหรือกะทิทำให้อ้วน 5.ลดการกินจุกจิก 6. ดื่มน้ำเปล่า งดหรือลดเครื่องดื่มที่รสหวานต่าง ๆ 7. กินอาหารไทยซึ่งราคาถูกและได้รับคุณค่าทางอาหารครบถ้วน 8. ลดการสั่งอาหารราคาพิเศษ เช่น การเพิ่มลูกชิ้น ข้าว หรือกับข้าว จะสิ้นเปลือง และทำให้อ้วน 9. งดการกินอาหารมื้อดึก 10. เคี้ยวอาหารช้า ๆ ไม่รีบร้อนจะทำให้อิ่มเร็วกว่า 11. เลี้ยงลูกนมแม่แทนนมกระป๋อง ช่วยประหยัดและสร้างภูมิคุ้มกันทางกายและใจแก่เด็ก
นอกจากนี้ จะต้องฉลาดปรุงอาหารอย่างประหยัดโดยยึดหลัก 7 ข้อ คือ 1.ปรุงอาหารกินเองที่บ้าน 2.ดัดแปลงอาหารที่เหลือเป็นอาหารจานใหม่ 3.ทำอาหารปริมาณมากกินได้หลายมื้อ 4.ใช้เครื่องปรุงรสแต่น้อยเท่าที่จำเป็น 5.หุงข้าวผสมข้าวโพด ถั่ว เผือก มัน ช่วยประหยัดข้าว 6. ดัดแปลงเมนูอาหารเลือกใช้วัสดุที่มีความใกล้เคียงแต่ราคาถูกกว่า และ 7. อาหารบางชนิดซื้อถูกกว่าปรุงกินเอง จึงควรพิจารณาว่าอาหารไหนถูกหรือแพงกว่ากัน
ทั้งนี้ ในวันที่ 25 สิงหาคม กรมอนามัยจะจัดกิจกรรมรณรงค์กินให้มีสุขยุคอาหารแพงที่สถานีรถไฟหัวลำโพง เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกบริโภคอาหารให้เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และยังได้จัดทำคู่มือกินให้มีสุขยุคอาหารแพงแจกประชาชน ซึ่งภายในเล่มมีเนื้อหาเกี่ยวกับการซื้อ การปรุง การกินอาหารเพื่อให้ทุกคนนำไปปฏิบัติ จะทำให้สุขภาพดีขึ้น และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในครอบครัว
นอกจากนี้ จะต้องฉลาดปรุงอาหารอย่างประหยัดโดยยึดหลัก 7 ข้อ คือ 1.ปรุงอาหารกินเองที่บ้าน 2.ดัดแปลงอาหารที่เหลือเป็นอาหารจานใหม่ 3.ทำอาหารปริมาณมากกินได้หลายมื้อ 4.ใช้เครื่องปรุงรสแต่น้อยเท่าที่จำเป็น 5.หุงข้าวผสมข้าวโพด ถั่ว เผือก มัน ช่วยประหยัดข้าว 6. ดัดแปลงเมนูอาหารเลือกใช้วัสดุที่มีความใกล้เคียงแต่ราคาถูกกว่า และ 7. อาหารบางชนิดซื้อถูกกว่าปรุงกินเอง จึงควรพิจารณาว่าอาหารไหนถูกหรือแพงกว่ากัน
ทั้งนี้ ในวันที่ 25 สิงหาคม กรมอนามัยจะจัดกิจกรรมรณรงค์กินให้มีสุขยุคอาหารแพงที่สถานีรถไฟหัวลำโพง เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกบริโภคอาหารให้เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และยังได้จัดทำคู่มือกินให้มีสุขยุคอาหารแพงแจกประชาชน ซึ่งภายในเล่มมีเนื้อหาเกี่ยวกับการซื้อ การปรุง การกินอาหารเพื่อให้ทุกคนนำไปปฏิบัติ จะทำให้สุขภาพดีขึ้น และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในครอบครัว