นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีข่าวที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอขึ้นค่าปรับแพทย์ใช้ทุนจาก 400,000 บาทเป็น 4 -10 ล้านบาท และเพิ่มระยะการใช้ทุนจาก 3 ปี เป็น 6 ปี เพื่อแก้ปัญหาแพทย์ยอมเสียค่าปรับแทนการใช้ทุนด้วยการไปอยู่โรงพยาบาลในชนบท เพื่อไปอยู่โรงพยาบาลเอกชนที่ค่าตอบแทนสูงกว่า ว่ามีการเสนอมาตรการดังกล่าวจริงเมื่อปี 2549 - 2550 แต่ยังไม่ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เพราะเข้าใจถึงภาระที่แพทย์ของรัฐต้องแบกรับเมื่อทำงานในชนบทห่างไกลซึ่งได้ค่าตอบแทนต่ำ ภาระงานที่หนัก และไม่ได้การยอมรับจากสังคม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกำลังคน ซึ่งสถิติแพทย์ที่ลาออกจากราชการไปอยู่กับเอกชนเพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่า จากเมื่อปี 2545 ที่มีเพียง 100 คน ปัจจุบันลาออกแล้วกว่า 500 คนต่อปี จนทำให้เหลือแพทย์ในชนบทไม่ถึง 3,000 คน ไม่อาจรองรับภาระการดูแลสุขภาพประชาชนหลายล้านคนได้ ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเรื้อรังที่ยากจะแก้ไข ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ซึ่งการแก้ปัญหาควรเน้นการเปิดโอกาสคนในพื้นที่ได้เข้าศึกษาวิชาแพทย์ด้วยระบบคัดพิเศษไม่รวมกับระบบปกติ เมื่อจบจะได้กลับภูมิลำเนา ควบคู่ไปกับมาตรการเพิ่มค่าปรับดังกล่าว
ด้านนายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ภายในสัปดาห์นี้จะประชุมร่วมกับแพทยสภา และภาคเอกชน เพื่อกำหนดอัตราจ้างแพทย์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน แก้ปัญหาการดึงคนจากรัฐเข้าเอกชนจนเกิดปัญหาขาดแคลนแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข นอกจากนี้ยังเตรียมปรับการใช้ทุนที่แต่เดิมแพทย์ไม่อาจเลือกพื้นที่เองได้หากอัตราเต็ม เปลี่ยนเป็นให้แพทย์มีอิสระในการแลกเปลี่ยนกันได้เองเพื่อความสบายใจในการทำงาน ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยบรรเทาปัญหาดังกล่าวได้ในระดับหนึ่ง
ด้านนายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ภายในสัปดาห์นี้จะประชุมร่วมกับแพทยสภา และภาคเอกชน เพื่อกำหนดอัตราจ้างแพทย์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน แก้ปัญหาการดึงคนจากรัฐเข้าเอกชนจนเกิดปัญหาขาดแคลนแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข นอกจากนี้ยังเตรียมปรับการใช้ทุนที่แต่เดิมแพทย์ไม่อาจเลือกพื้นที่เองได้หากอัตราเต็ม เปลี่ยนเป็นให้แพทย์มีอิสระในการแลกเปลี่ยนกันได้เองเพื่อความสบายใจในการทำงาน ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยบรรเทาปัญหาดังกล่าวได้ในระดับหนึ่ง