การทำวิจัยด้วยกลโกงมิชอบต่างๆ ในบรรดาสถาบันของสหรัฐฯนั้น อาจจะมีเกลื่อนกล่นกว่าที่เราเคยคิดกัน เพราะจากผลสำรวจล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ราว 9 เปอร์เซ็นต์ยอมรับว่า พวกเขาเคยพบเห็นด้วยตัวเอง ถึงเรื่องการปลอมงานวิจัย หรือทำวิจัยอันเป็นเท็จ หรือขโมยความคิดผู้อื่น อีกทั้งนักวิจัยเองก็ลังเลใจอย่างมากกับการรายงานการทำผิดพลาดของตน เพราะห่วงผลประโยชน์จะหลุดมือ
ผลสำรวจดังกล่าวตีพิมพ์ใน "เนเจอร์" วารสารทางวิทยาศาสตร์ชื่อดังของอังกฤษฉบับกลางสัปดาห์ที่แล้ว โดยเป็นการสอบถามนักวิทยาศาสตร์ 2,212 รายประจำมหาวิทยาลัยและสถาบันการวิจัย 605 แห่งในสหรัฐฯ และส่วนใหญ่เป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านชีววิทยาการแพทย์
การสำรวจพบว่างานวิจัยที่ต้องสงสัยว่าอาจมีการทำมิชอบลักษณะต่างๆ จำนวนถึง 37 เปอร์เซ็นต์ ไม่เคยมีการรายงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ ซึ่งอาจเป็นเพราะนักวิจัยกลัวเพื่อนร่วมงานแก้แค้น หรืออาจต้องการปกป้องเงินทุนสนับสนุนการวิจัยเอาไว้ต่อไป
ผลการสำรวจชิ้นนี้เผยแพร่ออกมา ในช่วงเวลาเดียวกับที่พวกสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ และฝ่ายอื่นๆ กำลังกังวลกันเกี่ยวกับความซื่อตรงในการทำวิจัยทั้งในสหรัฐฯ และในต่างประเทศ ตลอดจนปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนในทางการเงินของนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับเงินจากทางบริษัทผู้ผลิตยา และการที่ผลการศึกษาวิจัยอาจถูกบิดเบือนไปตามอิทธิพลของแหล่งทุนวิจัยซึ่งมาจากอุตสาหกรรมยา
ผลสำรวจดังกล่าวตีพิมพ์ใน "เนเจอร์" วารสารทางวิทยาศาสตร์ชื่อดังของอังกฤษฉบับกลางสัปดาห์ที่แล้ว โดยเป็นการสอบถามนักวิทยาศาสตร์ 2,212 รายประจำมหาวิทยาลัยและสถาบันการวิจัย 605 แห่งในสหรัฐฯ และส่วนใหญ่เป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านชีววิทยาการแพทย์
การสำรวจพบว่างานวิจัยที่ต้องสงสัยว่าอาจมีการทำมิชอบลักษณะต่างๆ จำนวนถึง 37 เปอร์เซ็นต์ ไม่เคยมีการรายงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ ซึ่งอาจเป็นเพราะนักวิจัยกลัวเพื่อนร่วมงานแก้แค้น หรืออาจต้องการปกป้องเงินทุนสนับสนุนการวิจัยเอาไว้ต่อไป
ผลการสำรวจชิ้นนี้เผยแพร่ออกมา ในช่วงเวลาเดียวกับที่พวกสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ และฝ่ายอื่นๆ กำลังกังวลกันเกี่ยวกับความซื่อตรงในการทำวิจัยทั้งในสหรัฐฯ และในต่างประเทศ ตลอดจนปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนในทางการเงินของนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับเงินจากทางบริษัทผู้ผลิตยา และการที่ผลการศึกษาวิจัยอาจถูกบิดเบือนไปตามอิทธิพลของแหล่งทุนวิจัยซึ่งมาจากอุตสาหกรรมยา