นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหาร ว่า หลังจากที่ กทม.ประชุมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนพื้นที่ชั้นในเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในยุคน้ำมันราคาแพง ว่า ขณะนี้ กทม.เตรียมทดลองทำเลนสำหรับรถจักรยานนำร่องในพื้นที่ชั้นในย่านธุรกิจเป็นระบบเชื่อมโยงกัน ทั้งถนนสาทร ถนนสีลม ถนนพระราม 4 และถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ระยะทาง 3 กิโลเมตร และมีจุดจอด 290 คัน ที่ กทม.นำร่องในพื้นที่ดังกล่าวก่อน เนื่องจากเป็นที่ตั้งของบริษัทมาก หากมีการหันมาปั่นจักรยานแทน จะช่วยลดปริมาณการใช้รถยนต์มากขึ้น อีกทั้งยังจะช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองได้ด้วย โดยช่องทางจักรยานดังกล่าวจะอยู่เลนซ้ายสุดของถนน จะตีเส้นจราจร กว้าง 1.20 เมตร แยกออกมาจากช่องจราจรรถยนต์ โดยจะมีการบีบช่องจราจรให้เหลือประมาณ 3 เมตร ซึ่งเป็นขนาดเดียวกับถนนในพื้นที่ชั้นใน สำหรับจุดใดที่ติดป้ายศาลาที่พักผู้โดยสาร ก็จะใช้วิธีทำเลนจักรยานอ้อมไปด้านหลังแทน นอกจากนี้ สจส.จะได้ปรับโครงสร้างในบางส่วนที่เป็นปัญหาด้วย เช่น ย้ายศาลาที่พักผู้โดยสาร ปรับทางเท้าในบางจุดที่ไม่เรียบเสมอกัน ปาดคันหิน เป็นต้น ทั้งนี้ กทม.จะเปิดให้ใช้บริการได้ในวันที่ 18 มิถุนายน ในเวลา 16.00 น.
นายอภิรักษ์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ กทม.ได้ประสานกับกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) และ สน.ในพื้นที่คอยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ปั่นจักรยานในเส้นทางดังกล่าวด้วย และหากประชาชนให้การตอบรับดี และไม่ทำให้สภาพการจราจรในย่านนั้นๆ ติดขัด กทม. จะทำเส้นทางจักรยานดังกล่าวเพิ่มเติมไปยังย่านสยามสแควร์ จุฬาฯ สีลมและพญาไท ทั้งนี้ หากมีปริมาณผู้ใช้เยอะ กทม.ก็อาจจะมีการออกกฎหมายรองรับหรือรื้อฟื้นการใช้ใบขี่จักรยานเพื่ออบรมให้ความรู้เกี่ยวกับผู้ใช้จักรยาน
รายงานข่าวจากกรมการขนส่งทางบก แจ้งว่า ปัจจุบันกฎหมายที่จะดูแลการใช้รถจักรยานบนท้องถนน มีระบุ อยู่ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ที่ยังคงมีผลบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน ซึ่งจะระบุเกี่ยวกับการติดอุปกรณ์เช่น กระดิ่ง โคมไฟ และลักษณะการขี่ให้เกิดความปลอดภัย แต่ในทางปฏิบัติที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกตรวจใบขี่รถจักรยาน ประกอบกับการใช้รถจักรยานร่วมกับรถอื่นบนถนนหลวงมีน้อย ทั้งนี้หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสนับสนุนให้มีทางจักรยานก็จะทำให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ขับขี่มากขึ้น รวมทั้งให้ความรู้ การขี่ให้ปลอดภัยด้วย
นายอภิรักษ์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ กทม.ได้ประสานกับกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) และ สน.ในพื้นที่คอยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ปั่นจักรยานในเส้นทางดังกล่าวด้วย และหากประชาชนให้การตอบรับดี และไม่ทำให้สภาพการจราจรในย่านนั้นๆ ติดขัด กทม. จะทำเส้นทางจักรยานดังกล่าวเพิ่มเติมไปยังย่านสยามสแควร์ จุฬาฯ สีลมและพญาไท ทั้งนี้ หากมีปริมาณผู้ใช้เยอะ กทม.ก็อาจจะมีการออกกฎหมายรองรับหรือรื้อฟื้นการใช้ใบขี่จักรยานเพื่ออบรมให้ความรู้เกี่ยวกับผู้ใช้จักรยาน
รายงานข่าวจากกรมการขนส่งทางบก แจ้งว่า ปัจจุบันกฎหมายที่จะดูแลการใช้รถจักรยานบนท้องถนน มีระบุ อยู่ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ที่ยังคงมีผลบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน ซึ่งจะระบุเกี่ยวกับการติดอุปกรณ์เช่น กระดิ่ง โคมไฟ และลักษณะการขี่ให้เกิดความปลอดภัย แต่ในทางปฏิบัติที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกตรวจใบขี่รถจักรยาน ประกอบกับการใช้รถจักรยานร่วมกับรถอื่นบนถนนหลวงมีน้อย ทั้งนี้หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสนับสนุนให้มีทางจักรยานก็จะทำให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ขับขี่มากขึ้น รวมทั้งให้ความรู้ การขี่ให้ปลอดภัยด้วย