กทม.ขยายเส้นทางจักรยานเพิ่มเติม ไปพญาไท-ราชประสงค์ เพิ่มจุดจอดเป็น 30 จุด รับรถได้ 500-1,000 คัน พร้อมเตรียมหารือ บช.น.ออกข้อบังคับให้ประชาชนเรียกรถแท็กซี่ในจุดจอดที่ กทม.กำลังดำเนินการ
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะผู้บริหาร กทม.ว่า กทม.มีมาตรการประหยัดพลังงานเพื่อช่วยเหลือประชาชนในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ได้แก่ โครงการจุดจุดรถแท็กซี่ โดยขณะนี้สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม.ได้สำรวจเป้าหมายจุดจอดแท็กซี่ที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในถนนสายหลัก 28 สาย จำนวน 980 แห่ง สามารถจอดรถแท็กซี่ได้ไม่น้อยกว่า 2,500 คัน งบประมาณ 85 ล้านบาท โดยจะพัฒนาจุดจอดรถแท็กซี่แบบใหม่แทนทำทางเว้า หรือจุดจอดรถแท็กซี่อัจฉริยะเดิม ด้วยการลดระดับทางเท้า หรือทำการลาดเอียงทางเท้ากว้างประมาณ 75 ซม.เพื่อให้รถแท็กซี่จอดคร่อมบนทางเท้ากับผิวจราจร โดยไม่กระทบต่อจำนวนช่องจราจรในถนน ทั้งนี้ ต้องดำเนินการในถนนที่มีสภาพการจราจรคับคั่งและมีทางเท้ากว้างพอ
ด้านนายจุมพล สำเภาพล ผอ.สจส.กล่าวว่า เบื้องต้น กทม.จะดำเนินโครงการจุดจอดรถแท็กซี่เป็น 3 ระยะ โดยในระยะแรกจะนำร่องดำเนินการในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน 2-3 จุด ได้แก่ บริเวณสีลม สาทร เป็นต้น คาดว่า ภายใน 1-2 เดือนข้างหน้าจะแล้วเสร็จ อย่างไรก็ตาม กทม.จะนัดหารือกับกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ก่อนดำเนินการ เพื่อไม่ให้ขัดต่อกฎหมาย พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ในการจอดรถบนทางเท้า นอกจากนี้ อาจจะหารือในการออกข้อบังคับเรื่องกำหนดโทษสำหรับผู้ขับแท็กซี่ และผู้โดยสาร กรณีที่ไม่จอดรอหรือโบกรถแท็กซี่ในจุดจอด ซึ่งถือว่าไม่เคารพกฎจราจร
นายจุมพล กล่าวว่า ส่วนโครงการส่งเสริมการใช้รถจักรยานที่ กทม.นำร่องในเส้นทางสาทร-นราธิวาสราชนครินทร์ ขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการตีเส้นเลนเฉพาะสำหรับรถจักรยานเสร็จเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างรอรื้อถอนศาลาที่พักผู้โดยสารจำนวน 8 แห่ง นอกจากนี้ ยังจะขยายเส้นทางเพิ่มเติมให้สามารถเชื่อมโยงกันได้ในเส้นทางพญาไท และราชประสงค์ รวมจุดจอดทั้งสิ้น 30 จุด สามารถรองรับได้ 500-1,000 คัน ทั้งนี้ คาดว่า จะเปิดประกวดราคาให้เอกชนดำเนินการจัดหารถจักรยานมาให้บริการได้ภายในเดือน ส.ค.เพื่อแลกกับการให้สิทธิโฆษณาแก่เอกชน โดยขณะนี้มีบริษัทเอกชนให้ความสนใจสอบถามรายละเอียดเข้ามา 3 รายแล้ว ประกอบด้วย บริษัท JCDecaux จากฝรั่งเศส บริษัท มาร์โก สหรัฐอเมริกา และบริษัทสามารถฯ ประเทศไทย เป็นต้น
ผอ.สจส.กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ในส่วนของ กทม.เองจะมีการส่งเสริมให้ข้าราชการให้ระบบรถร่วม (คาร์พูล) เดินทางระหว่างศาลาว่าการ กทม.1.เสาชิงช้า และศาลาว่าการ กทม.2.ดินแดง เพื่อลดการใช้รถยนต์ส่วนกลาง จะเริ่มทดลองเดินรถในวันที่ 24 ก.ค.2551 รวมเป็นจำนวนรถตู้ 9 คัน เดินรถทั้งหมด 18 เที่ยว/วัน เดินรถทุก 15 และ 30 เที่ยวแรกออกจากศาลาว่าการ กทม.เวลา 08.30 น.และสิ้นสุดในเวลา 16.00 น.ทั้งนี้ คาดว่า การดำเนินการดังกล่าวจะช่วยประหยัดงบประมาณด้านเชื้อเพลิงของ กทม.ได้ถึงปีละ 40 ล้านบาท หากโครงการได้รับความร่วมมือและตอบรับดีจากข้าราชการ กทม.ในอนาคตอาจพัฒนาให้บริการด้วยรถไมโครบัส รวมทั้งเพิ่มจำนวนเที่ยวโดยเบื้องต้นจะประเมินผลทุกๆ 3 เดือน ซึ่งหากส่วนราชการใดไม่ปฏิบัติตามอาจมีมาตรการตักเตือน
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะผู้บริหาร กทม.ว่า กทม.มีมาตรการประหยัดพลังงานเพื่อช่วยเหลือประชาชนในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ได้แก่ โครงการจุดจุดรถแท็กซี่ โดยขณะนี้สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม.ได้สำรวจเป้าหมายจุดจอดแท็กซี่ที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในถนนสายหลัก 28 สาย จำนวน 980 แห่ง สามารถจอดรถแท็กซี่ได้ไม่น้อยกว่า 2,500 คัน งบประมาณ 85 ล้านบาท โดยจะพัฒนาจุดจอดรถแท็กซี่แบบใหม่แทนทำทางเว้า หรือจุดจอดรถแท็กซี่อัจฉริยะเดิม ด้วยการลดระดับทางเท้า หรือทำการลาดเอียงทางเท้ากว้างประมาณ 75 ซม.เพื่อให้รถแท็กซี่จอดคร่อมบนทางเท้ากับผิวจราจร โดยไม่กระทบต่อจำนวนช่องจราจรในถนน ทั้งนี้ ต้องดำเนินการในถนนที่มีสภาพการจราจรคับคั่งและมีทางเท้ากว้างพอ
ด้านนายจุมพล สำเภาพล ผอ.สจส.กล่าวว่า เบื้องต้น กทม.จะดำเนินโครงการจุดจอดรถแท็กซี่เป็น 3 ระยะ โดยในระยะแรกจะนำร่องดำเนินการในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน 2-3 จุด ได้แก่ บริเวณสีลม สาทร เป็นต้น คาดว่า ภายใน 1-2 เดือนข้างหน้าจะแล้วเสร็จ อย่างไรก็ตาม กทม.จะนัดหารือกับกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ก่อนดำเนินการ เพื่อไม่ให้ขัดต่อกฎหมาย พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ในการจอดรถบนทางเท้า นอกจากนี้ อาจจะหารือในการออกข้อบังคับเรื่องกำหนดโทษสำหรับผู้ขับแท็กซี่ และผู้โดยสาร กรณีที่ไม่จอดรอหรือโบกรถแท็กซี่ในจุดจอด ซึ่งถือว่าไม่เคารพกฎจราจร
นายจุมพล กล่าวว่า ส่วนโครงการส่งเสริมการใช้รถจักรยานที่ กทม.นำร่องในเส้นทางสาทร-นราธิวาสราชนครินทร์ ขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการตีเส้นเลนเฉพาะสำหรับรถจักรยานเสร็จเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างรอรื้อถอนศาลาที่พักผู้โดยสารจำนวน 8 แห่ง นอกจากนี้ ยังจะขยายเส้นทางเพิ่มเติมให้สามารถเชื่อมโยงกันได้ในเส้นทางพญาไท และราชประสงค์ รวมจุดจอดทั้งสิ้น 30 จุด สามารถรองรับได้ 500-1,000 คัน ทั้งนี้ คาดว่า จะเปิดประกวดราคาให้เอกชนดำเนินการจัดหารถจักรยานมาให้บริการได้ภายในเดือน ส.ค.เพื่อแลกกับการให้สิทธิโฆษณาแก่เอกชน โดยขณะนี้มีบริษัทเอกชนให้ความสนใจสอบถามรายละเอียดเข้ามา 3 รายแล้ว ประกอบด้วย บริษัท JCDecaux จากฝรั่งเศส บริษัท มาร์โก สหรัฐอเมริกา และบริษัทสามารถฯ ประเทศไทย เป็นต้น
ผอ.สจส.กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ในส่วนของ กทม.เองจะมีการส่งเสริมให้ข้าราชการให้ระบบรถร่วม (คาร์พูล) เดินทางระหว่างศาลาว่าการ กทม.1.เสาชิงช้า และศาลาว่าการ กทม.2.ดินแดง เพื่อลดการใช้รถยนต์ส่วนกลาง จะเริ่มทดลองเดินรถในวันที่ 24 ก.ค.2551 รวมเป็นจำนวนรถตู้ 9 คัน เดินรถทั้งหมด 18 เที่ยว/วัน เดินรถทุก 15 และ 30 เที่ยวแรกออกจากศาลาว่าการ กทม.เวลา 08.30 น.และสิ้นสุดในเวลา 16.00 น.ทั้งนี้ คาดว่า การดำเนินการดังกล่าวจะช่วยประหยัดงบประมาณด้านเชื้อเพลิงของ กทม.ได้ถึงปีละ 40 ล้านบาท หากโครงการได้รับความร่วมมือและตอบรับดีจากข้าราชการ กทม.ในอนาคตอาจพัฒนาให้บริการด้วยรถไมโครบัส รวมทั้งเพิ่มจำนวนเที่ยวโดยเบื้องต้นจะประเมินผลทุกๆ 3 เดือน ซึ่งหากส่วนราชการใดไม่ปฏิบัติตามอาจมีมาตรการตักเตือน