นายแพทย์ชาตรี บานชื่น เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า กรณีร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในสหรัฐอเมริกา ตรวจพบเชื้อซัลโมเนลลา ซึ่งทำให้เป็นโรคอาหารเป็นพิษนั้น ล่าสุดผลการตรวจพบว่า เชื้อซัลโมเนลลามาจากการใช้มะเขือเทศสดปรุงอาหาร โดยเชื้อโรคปนเปื้อนจากการนำมะเขือเทศแช่น้ำนานเกินไป สำหรับประเทศไทยยังไม่พบเชื้อซัลโมเนลลาในอาหารฟาสต์ฟู้ดแต่อย่างใด อย.ซึ่งเป็นหน่วยงานควบคุมคุณภาพซอสมะเขือเทศที่ใช้ในประเทศและส่งออก ได้กำหนดสัดส่วนเนื้อมะเขือเทศ ส่วนประกอบสำคัญ กระบวนการผลิตผ่านอุณหภูมิเกิน 72 องศาเซลเซียส รวมทั้งคุมเข้มการผลิตทุกขั้นตอน โดยโรงงานผลิตต้องได้มาตรฐานเกณฑ์ผลิตที่ดี (จีเอ็มพี) มีตรา อย.รับรอง อย่างไรก็ตาม ซอสมะเขือเทศเวลาเปิดใช้แล้วควรใช้ให้หมด หรือเก็บในตู้เย็น เพราะการเปิดทิ้งไว้นานๆ เสี่ยงเชื้อโรคปนเปื้อนจนทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษได้
เลขาธิการ อย.กล่าวยืนยัน มั่นใจได้ว่า ซอสมะเขือเทศที่ผลิตในประเทศไทยมีความปลอดภัย ขั้นตอน กระบวนการผลิตล้วนแต่ได้มาตรฐาน ขอให้ดูตรา อย.ที่ขวด หรือซอง ส่วนการที่อาหารแพงนั้น ทาง อย.ได้เฝ้าระวังการปนเปื้อน การใช้น้ำมันทอดซ้ำ ฝากผู้บริโภครับประทานอาหารไทยๆ ขั้นตอนการเตรียมสะอาด สุก ใหม่ๆ ผัก ผลไม้ ได้สารอาหารครบถ้วนดีกว่าการกินพวกยาต้านอนุมูลอิสระ
นายแพทย์ชาตรี กล่าวถึงการเฝ้าระวังอาหารไม่ปลอดภัย ว่า ประเทศไทยเป็นสมาชิกเครือข่ายความปลอดภัยด้านอาหารระหว่างประเทศ หรืออินโฟแซน (The International Food Safety Authorities Network : INFOSAN) ซึ่งเครือข่ายนี้จะแจ้งประเทศสมาชิกหากตรวจพบอาหารปนเปื้อน ซึ่งที่ผ่านมา เคยตรวจพบเชื้อบิดในข้าวโพดอ่อนที่ส่งออกจากประเทศไทยไปขายในสหภาพยุโรป ซึ่งผลการสอบสวนย้อนกลับข้อมูลการส่งออก พบว่าโรงงานผลิตข้าวโพดอ่อนของไทยที่ส่งออกได้มาตรฐานจีเอ็มพี แต่ขั้นตอนการปนเปื้อนของเชื้อบิดเกิดจากเกษตรกรใช้มีดเก่า ไม่ล้าง ซึ่งข้าวโพดอ่อนลอตที่เกิดปัญหา ทางเจ้าหน้าที่ทำลายสินค้าดังกล่าว ส่วนข้าวโพดอ่อนลอตการผลิตอื่น ๆ ก็สามารถส่งออกได้เช่นเดิม
เลขาธิการ อย.กล่าวยืนยัน มั่นใจได้ว่า ซอสมะเขือเทศที่ผลิตในประเทศไทยมีความปลอดภัย ขั้นตอน กระบวนการผลิตล้วนแต่ได้มาตรฐาน ขอให้ดูตรา อย.ที่ขวด หรือซอง ส่วนการที่อาหารแพงนั้น ทาง อย.ได้เฝ้าระวังการปนเปื้อน การใช้น้ำมันทอดซ้ำ ฝากผู้บริโภครับประทานอาหารไทยๆ ขั้นตอนการเตรียมสะอาด สุก ใหม่ๆ ผัก ผลไม้ ได้สารอาหารครบถ้วนดีกว่าการกินพวกยาต้านอนุมูลอิสระ
นายแพทย์ชาตรี กล่าวถึงการเฝ้าระวังอาหารไม่ปลอดภัย ว่า ประเทศไทยเป็นสมาชิกเครือข่ายความปลอดภัยด้านอาหารระหว่างประเทศ หรืออินโฟแซน (The International Food Safety Authorities Network : INFOSAN) ซึ่งเครือข่ายนี้จะแจ้งประเทศสมาชิกหากตรวจพบอาหารปนเปื้อน ซึ่งที่ผ่านมา เคยตรวจพบเชื้อบิดในข้าวโพดอ่อนที่ส่งออกจากประเทศไทยไปขายในสหภาพยุโรป ซึ่งผลการสอบสวนย้อนกลับข้อมูลการส่งออก พบว่าโรงงานผลิตข้าวโพดอ่อนของไทยที่ส่งออกได้มาตรฐานจีเอ็มพี แต่ขั้นตอนการปนเปื้อนของเชื้อบิดเกิดจากเกษตรกรใช้มีดเก่า ไม่ล้าง ซึ่งข้าวโพดอ่อนลอตที่เกิดปัญหา ทางเจ้าหน้าที่ทำลายสินค้าดังกล่าว ส่วนข้าวโพดอ่อนลอตการผลิตอื่น ๆ ก็สามารถส่งออกได้เช่นเดิม