นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยมีผู้บริหารธนาคารและสถาบันทางการเงินเข้าร่วมประชุมด้วย ว่า รัฐบาลต้องการดูแลคุณภาพชีวิตของครูโดยเฉพาะปัญหาหนี้สินครู เพื่อให้ครูมีเวลาทุ่มเทให้กับการเรียนการสอนของเด็ก ไม่ต้องพะวงกับปัญหาหนี้สินส่วนตัว โดยผู้บริหารธนาคารและสถาบันการเงินที่เข้าร่วมประชุมได้ให้ข้อคิดในการแก้ปัญหาว่า ควรให้ครูมีวินัยการใช้เงินและรู้จักการจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายของครอบครัวด้วย ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ ได้สำรวจกลุ่มครูที่มีปัญหาหนี้สินที่ต้องได้รับความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนประมาณ 10,000 คน โดยมีภาระหนี้สินทั้งในและนอกระบบ หากสามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับครูกลุ่มนี้ได้เชื่อว่าจะทำให้การศึกษาดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าไม่ใช่เป็นการหาเงินกู้มาให้ครู แต่เป็นการแก้ปัญหาทั้งระบบ เพื่อให้ครูหมดหนี้ได้ในที่สุด
ด้านนายพงษ์ศักดิ์ ชิวชรัตน์ ผู้จัดการใหญ่ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME BANK) กล่าวว่า ที่ประชุมได้สรุปแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยจะโอนหนี้สินของครูที่มีอยู่ทั้งในและนอกระบบให้มาอยู่ในที่เดียวกัน เพื่อให้ครูสามารถชำระหนี้ได้ตามกำลังในอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง นอกจากนี้ อาจต้องมีการไปเจรจากับเจ้านอกระบบให้ลดดอกเบี้ย เพื่อให้ครูชำระหนี้ในอัตราที่เป็นธรรมด้วย ขณะเดียวกันก็ต้องมีวิธีไม่ให้ครูก่อหนี้เพิ่มขึ้น สำหรับเงินที่จะนำมาปล่อยกู้ให้กับครูเพื่อแก้ไขปัญหานี้สินนั้น จะเป็นเงินที่ได้จากสถาบันการเงินเพื่อนำมาจัดตั้งเป็นกองทุนปล่อยกู้ให้ครูในอัตราดอกเบี้ยต่ำ MLR- หรือ MRR- ซึ่งจะไม่ไปรบกวนเงินจากรัฐบาล โดยทางบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมเอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) จะเข้ามาดูแลกลไกการบริหารกองทุน นอกจากนี้ จะต้องหาแนวทางในการเพิ่มรายได้ให้กับครูด้วย เช่น ให้เงินรางวัลสำหรับครูที่ทำสื่อการเรียนการสอน หรือพัฒนาซอฟแวร์ใหม่ๆ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเรียนการสอนด้วย
ด้านนายพงษ์ศักดิ์ ชิวชรัตน์ ผู้จัดการใหญ่ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME BANK) กล่าวว่า ที่ประชุมได้สรุปแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยจะโอนหนี้สินของครูที่มีอยู่ทั้งในและนอกระบบให้มาอยู่ในที่เดียวกัน เพื่อให้ครูสามารถชำระหนี้ได้ตามกำลังในอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง นอกจากนี้ อาจต้องมีการไปเจรจากับเจ้านอกระบบให้ลดดอกเบี้ย เพื่อให้ครูชำระหนี้ในอัตราที่เป็นธรรมด้วย ขณะเดียวกันก็ต้องมีวิธีไม่ให้ครูก่อหนี้เพิ่มขึ้น สำหรับเงินที่จะนำมาปล่อยกู้ให้กับครูเพื่อแก้ไขปัญหานี้สินนั้น จะเป็นเงินที่ได้จากสถาบันการเงินเพื่อนำมาจัดตั้งเป็นกองทุนปล่อยกู้ให้ครูในอัตราดอกเบี้ยต่ำ MLR- หรือ MRR- ซึ่งจะไม่ไปรบกวนเงินจากรัฐบาล โดยทางบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมเอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) จะเข้ามาดูแลกลไกการบริหารกองทุน นอกจากนี้ จะต้องหาแนวทางในการเพิ่มรายได้ให้กับครูด้วย เช่น ให้เงินรางวัลสำหรับครูที่ทำสื่อการเรียนการสอน หรือพัฒนาซอฟแวร์ใหม่ๆ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเรียนการสอนด้วย