“พงศกร” โวโมเดลใหม่แก้ปัญหาหนี้สินครู ระดมทุน 1.5 แสนล้านจากสถาบันการเงินตั้งเป็นกองทุน เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ครูในระบบ ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ส่วนหนี้นอกระบบใช้วิธีประนีประนอม ผู้บังคับบัญชาที่เซ็นหนังสือรับรองเงินเดือนให้ครูไปยื่นกู้ต้องรับผิดชอบเป็นลูกหนี้ร่วมด้วย
นายพงศกร อรรณนพพร รมช.ศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ตนได้มอบหมายให้คณะทำงานแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ที่มี นายพงษ์ศักดิ์ ชิวรัตน์ ประธานคณะทำงาน ไปจัดทำโมเดลกรอบการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูนั้น ขณะนี้คณะทำงานฯชุดดังกล่าวได้ข้อสรุปของการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูแล้ว โดยได้สรุปออกเป็น 2 ลักษณะ คือ หนี้สินครูในระบบสถาบันการเงิน และหนี้สินครูนอกระบบ ซึ่งในส่วนของหนี้สินในระบบนั้น จะให้สถาบันการเงินที่ตลาดหลักทรัพย์รับรองมาจัดตั้งเป็นกองทุน เพื่อศึกษาหนี้ของครูแต่ละคนที่มีหลักประกัน และปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กับครูที่เป็นหนี้ ซึ่งกองทุนดังกล่าวจะมีเงินในการจัดตั้ง 1.5 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ครูที่จะเข้าสู่ระบบดังกล่าวจะต้องมีการลงทะเบียนใหม่อีกครั้ง เพื่อแจ้งความจำนงในการแก้ปัญหาหนี้สิน ซึ่งเมื่อครูเข้าสู่ระบบดังกล่าวจะไม่สามารถไปกู้เงินจากแหล่งอื่นได้อีก โดยการปล่อยก็จะพิจารณาตามความสามารถของชำระหนี้ เช่น ดูจากรายได้ และอายุงานที่เหลือ หรือให้กู้ตามจำนวนของหลักประกัน ที่สำคัญหากต่อไปผู้บังคับบัญชาทำหนังสือรับรองเงินเดือนให้ข้าราชการครูไปยื่นกู้อีก ก็จะต้องถือเป้นลูกหนี้ร่วมด้วย
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า สำหรับครูที่มีหนี้สินนอกระบบนั้น ก็จะมีการจัดตั้งทีมจาก ศธ. เพื่อเจรจาประนอมหนี้ว่าจะช่วยเหลือลดหย่อนมูลค่าหนี้ได้อย่างไรบ้าง ส่วนคลินิกครูยังต้องเดินหน้าต่อไป เพราะคลินิกครูถือเป็นหน่วยงานช่วยเหลือและให้ความรู้เรื่องหนี้ครูได้อย่างดี ซึ่งจะต้องมีการดำเนินการต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม คณะทำงานชุดดังกล่าวจะเสนอโมเดลแก้ปัญหาหนี้สินครูต่อที่ประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนและมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา ในวันที่ 3 มิ.ย.2551 หลังจากนั้นจะมีการประชุมปฎิบัติการแก้ปัญหาหนี้สินครูร่วมกับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นการศึกษา 185 เขต เพื่อนำโมเดลดังกล่าวไปใช้แก้ไขปัญหาหนี้สินครูต่อไป
นายพงศกร อรรณนพพร รมช.ศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ตนได้มอบหมายให้คณะทำงานแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ที่มี นายพงษ์ศักดิ์ ชิวรัตน์ ประธานคณะทำงาน ไปจัดทำโมเดลกรอบการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูนั้น ขณะนี้คณะทำงานฯชุดดังกล่าวได้ข้อสรุปของการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูแล้ว โดยได้สรุปออกเป็น 2 ลักษณะ คือ หนี้สินครูในระบบสถาบันการเงิน และหนี้สินครูนอกระบบ ซึ่งในส่วนของหนี้สินในระบบนั้น จะให้สถาบันการเงินที่ตลาดหลักทรัพย์รับรองมาจัดตั้งเป็นกองทุน เพื่อศึกษาหนี้ของครูแต่ละคนที่มีหลักประกัน และปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กับครูที่เป็นหนี้ ซึ่งกองทุนดังกล่าวจะมีเงินในการจัดตั้ง 1.5 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ครูที่จะเข้าสู่ระบบดังกล่าวจะต้องมีการลงทะเบียนใหม่อีกครั้ง เพื่อแจ้งความจำนงในการแก้ปัญหาหนี้สิน ซึ่งเมื่อครูเข้าสู่ระบบดังกล่าวจะไม่สามารถไปกู้เงินจากแหล่งอื่นได้อีก โดยการปล่อยก็จะพิจารณาตามความสามารถของชำระหนี้ เช่น ดูจากรายได้ และอายุงานที่เหลือ หรือให้กู้ตามจำนวนของหลักประกัน ที่สำคัญหากต่อไปผู้บังคับบัญชาทำหนังสือรับรองเงินเดือนให้ข้าราชการครูไปยื่นกู้อีก ก็จะต้องถือเป้นลูกหนี้ร่วมด้วย
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า สำหรับครูที่มีหนี้สินนอกระบบนั้น ก็จะมีการจัดตั้งทีมจาก ศธ. เพื่อเจรจาประนอมหนี้ว่าจะช่วยเหลือลดหย่อนมูลค่าหนี้ได้อย่างไรบ้าง ส่วนคลินิกครูยังต้องเดินหน้าต่อไป เพราะคลินิกครูถือเป็นหน่วยงานช่วยเหลือและให้ความรู้เรื่องหนี้ครูได้อย่างดี ซึ่งจะต้องมีการดำเนินการต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม คณะทำงานชุดดังกล่าวจะเสนอโมเดลแก้ปัญหาหนี้สินครูต่อที่ประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนและมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา ในวันที่ 3 มิ.ย.2551 หลังจากนั้นจะมีการประชุมปฎิบัติการแก้ปัญหาหนี้สินครูร่วมกับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นการศึกษา 185 เขต เพื่อนำโมเดลดังกล่าวไปใช้แก้ไขปัญหาหนี้สินครูต่อไป