ศูนย์ข่าวภูเก็ต - สำรวจพบว่าครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชุมพรมีภาระหนี้สินรวมกว่า 1,200 ล้านบาท
รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมคณะ เดินทางลงพื้นที่ตรวจราชการที่จังหวัดชุมพร พร้อมรับฟังและติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล
รวมทั้งเยี่ยมเยียนเพื่อรับทราบปัญหาอุปสรรคต่างๆ ในพื้นที่เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่อไป โดยมีนายสมศักดิ์ ตะเภาน้อย รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร พร้อมด้วยข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมโรงแรมชุมพร แกรนด์พาเลซ
ในการนี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้บรรยายพิเศษเรื่อง “ ชีวิตที่มีความสุขกับเงิน ” ในการประชุมให้บริการปรึกษาการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา (คลินิกการเงิน) โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) กระทรวงศึกษาธิการ จัดขึ้นเพื่อให้คำปรึกษาด้านการเงิน การปรับโครงสร้างหนี้ การลงทุนให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีปัญหาด้านการเงินและต้องการลงทุนเสริมรายได้
ปรากฎพบว่าปัจจุบันในพื้นที่จังหวัดชุมพรมีครูที่ลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้สินทั้งสิ้น 1,309 คน เป็นสมาชิกโครงการพัฒนาชีวิตครู 275 คน มีหนี้สินรวมทั้งหมด 1,203,505,372 บาท แยกเป็นหนี้ในระบบ 1,126,817,165 บาท หนี้นอกระบบ 65,284,750 บาท และเป็นหนี้บัตรเครดิต จำนวน 11,403,457 บาท เฉลี่ยหนี้ต่อคนจำนวน 0.92 ล้านบาท
รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมคณะ เดินทางลงพื้นที่ตรวจราชการที่จังหวัดชุมพร พร้อมรับฟังและติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล
รวมทั้งเยี่ยมเยียนเพื่อรับทราบปัญหาอุปสรรคต่างๆ ในพื้นที่เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่อไป โดยมีนายสมศักดิ์ ตะเภาน้อย รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร พร้อมด้วยข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมโรงแรมชุมพร แกรนด์พาเลซ
ในการนี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้บรรยายพิเศษเรื่อง “ ชีวิตที่มีความสุขกับเงิน ” ในการประชุมให้บริการปรึกษาการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา (คลินิกการเงิน) โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) กระทรวงศึกษาธิการ จัดขึ้นเพื่อให้คำปรึกษาด้านการเงิน การปรับโครงสร้างหนี้ การลงทุนให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีปัญหาด้านการเงินและต้องการลงทุนเสริมรายได้
ปรากฎพบว่าปัจจุบันในพื้นที่จังหวัดชุมพรมีครูที่ลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้สินทั้งสิ้น 1,309 คน เป็นสมาชิกโครงการพัฒนาชีวิตครู 275 คน มีหนี้สินรวมทั้งหมด 1,203,505,372 บาท แยกเป็นหนี้ในระบบ 1,126,817,165 บาท หนี้นอกระบบ 65,284,750 บาท และเป็นหนี้บัตรเครดิต จำนวน 11,403,457 บาท เฉลี่ยหนี้ต่อคนจำนวน 0.92 ล้านบาท