นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ในเดือนเมษายน 2551 ว่า รัฐบาลขาดดุลเงินสด 22,471 ล้านบาท โดยรัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 127,166 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 38,449 ล้านบาท หรือร้อยละ 43.3 ส่วนการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลมีจำนวน 154,636 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 38,806 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 33.5 โดยรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 ส่วนของรายจ่ายลงทุนที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 233.3 เนื่องจากมีการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ผ่านกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน 33,170 ล้านบาท
ซึ่งจากรายได้นำส่งคลัง และการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาล ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณในเดือนเมษายน 2551 ขาดดุล 27,470 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณซึ่งเกินดุล 4,999 ล้านบาท (เป็นผลจากการออกตั๋วเงินคลังสุทธิจำนวน 4,000 ล้านบาท) ทำให้ดุลเงินสดขาดดุลจำนวน 22,471 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้กู้เงินด้วยการออกพันธบัตรจำนวน 35,944 ล้านบาท เพื่อชดเชยการขาดดุลดังกล่าว
ขณะที่ในช่วง 7 เดือนแรก ของปีงบประมาณ 2551 รัฐบาลขาดดุลเงินสดรวม 195,857 ล้านบาท ต่ำกว่าการขาดดุลช่วงเดียวกันปีงบประมาณ 2550 ร้อยละ 9.9 โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 187,336 ล้านบาท และการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ 8,521 ล้านบาท ซึ่งช่วง 7 เดือนแรก ปีงบประมาณ 2551 รายได้นำส่งคลังมีทั้งสิ้น 762,781 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีงบประมาณ 2550 จำนวน 61,307 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.7 ซึ่งภาษีที่ยังคงจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูง ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
ขณะที่การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลมีจำนวน 950,117 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีงบประมาณ 2550 จำนวน 96,840 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.3 แบ่งเป็นรายจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบัน 877,007 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 52.8 ของวงเงินงบประมาณ 1.66 ล้านล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีงบประมาณ 2550 ที่มีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 49.5 ของวงเงินงบประมาณ และรายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 73,110 ล้านบาท
นายสมชัย กล่าวว่า ผลจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณในช่วง 7 เดือนแรก ปีงบประมาณ 2551 ขณะที่รายได้ขยายตัวร้อยละ 8.7 ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเงินงบประมาณจำนวน 187,336 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน 8,521 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น 195,857 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลชดเชยการขาดดุลดังกล่าว โดยการออกพันธบัตรและตั๋วสัญญาใช้เงินรวม 121,391 ล้านบาท และใช้เงินคงคลัง 74,466 ล้านบาท
ซึ่งจากรายได้นำส่งคลัง และการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาล ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณในเดือนเมษายน 2551 ขาดดุล 27,470 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณซึ่งเกินดุล 4,999 ล้านบาท (เป็นผลจากการออกตั๋วเงินคลังสุทธิจำนวน 4,000 ล้านบาท) ทำให้ดุลเงินสดขาดดุลจำนวน 22,471 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้กู้เงินด้วยการออกพันธบัตรจำนวน 35,944 ล้านบาท เพื่อชดเชยการขาดดุลดังกล่าว
ขณะที่ในช่วง 7 เดือนแรก ของปีงบประมาณ 2551 รัฐบาลขาดดุลเงินสดรวม 195,857 ล้านบาท ต่ำกว่าการขาดดุลช่วงเดียวกันปีงบประมาณ 2550 ร้อยละ 9.9 โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 187,336 ล้านบาท และการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ 8,521 ล้านบาท ซึ่งช่วง 7 เดือนแรก ปีงบประมาณ 2551 รายได้นำส่งคลังมีทั้งสิ้น 762,781 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีงบประมาณ 2550 จำนวน 61,307 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.7 ซึ่งภาษีที่ยังคงจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูง ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
ขณะที่การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลมีจำนวน 950,117 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีงบประมาณ 2550 จำนวน 96,840 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.3 แบ่งเป็นรายจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบัน 877,007 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 52.8 ของวงเงินงบประมาณ 1.66 ล้านล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีงบประมาณ 2550 ที่มีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 49.5 ของวงเงินงบประมาณ และรายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 73,110 ล้านบาท
นายสมชัย กล่าวว่า ผลจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณในช่วง 7 เดือนแรก ปีงบประมาณ 2551 ขณะที่รายได้ขยายตัวร้อยละ 8.7 ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเงินงบประมาณจำนวน 187,336 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน 8,521 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น 195,857 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลชดเชยการขาดดุลดังกล่าว โดยการออกพันธบัตรและตั๋วสัญญาใช้เงินรวม 121,391 ล้านบาท และใช้เงินคงคลัง 74,466 ล้านบาท