นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. แจ้งว่า ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. ว่า บริษัทฯ ได้มีหนังสือลงวันที่ 31 มกราคม 2551 ถึงกรมธนารักษ์ เพื่อขอส่งมอบทรัพย์สินของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (การปิโตรเลียมฯ) ที่บริษัทแบ่งแยกให้ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด
ล่าสุด เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2551 กรมธนารักษ์ และบริษัทฯ ได้ร่วมลงนามบันทึกการแบ่งแยกและส่งมอบทรัพย์สินที่แบ่งแยกให้กระทรวงการคลังตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด เพื่อยืนยันและรับทราบอย่างเป็นทางการว่า กระทรวงการคลังได้รับมอบทรัพย์สินของการปิโตรเลียมฯ ที่แบ่งแยกตามคำพิพากษาของศาล รวมมูลค่าทางบัญชี ณ วันที่ 30 กันยายน 2544 ประมาณ 16,175 ล้านบาท พร้อมเอกสารแสดงรายละเอียดทรัพย์สินที่แบ่งแยก
โดยทรัพย์สินที่แบ่งแยกประกอบด้วย 1. ที่ดินที่การปิโตรเลียมฯ ได้มาจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์รวมประมาณ 32 ไร่ มูลค่าทางบัญชีประมาณ 1 ล้านบาท 2. สิทธิการใช้ที่ดินเหนือที่ดินเอกชนเพื่อวางระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อที่การปิโตรเลียมฯ ใช้อำนาจมหาชนของรัฐเหนือที่ดินเอกชนและจ่ายค่าทดแทนโดยอาศัยทรัพย์สินของรัฐ มูลค่าทางบัญชีประมาณ 1,137 ล้านบาท และ 3.ทรัพย์สินที่เป็นระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติและท่อจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ ซึ่งรวมทั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในที่ดินตามข้อ (1) และ (2) มีมูลค่าทางบัญชีประมาณ 15,037 ล้านบาท โดยทรัพย์สินซึ่งเป็นที่ดินเวนคืนข้างต้นนั้น กรมธนารักษ์และบริษัทจะได้ร่วมกันดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเพื่อให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนต่อไป
ล่าสุด เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2551 กรมธนารักษ์ และบริษัทฯ ได้ร่วมลงนามบันทึกการแบ่งแยกและส่งมอบทรัพย์สินที่แบ่งแยกให้กระทรวงการคลังตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด เพื่อยืนยันและรับทราบอย่างเป็นทางการว่า กระทรวงการคลังได้รับมอบทรัพย์สินของการปิโตรเลียมฯ ที่แบ่งแยกตามคำพิพากษาของศาล รวมมูลค่าทางบัญชี ณ วันที่ 30 กันยายน 2544 ประมาณ 16,175 ล้านบาท พร้อมเอกสารแสดงรายละเอียดทรัพย์สินที่แบ่งแยก
โดยทรัพย์สินที่แบ่งแยกประกอบด้วย 1. ที่ดินที่การปิโตรเลียมฯ ได้มาจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์รวมประมาณ 32 ไร่ มูลค่าทางบัญชีประมาณ 1 ล้านบาท 2. สิทธิการใช้ที่ดินเหนือที่ดินเอกชนเพื่อวางระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อที่การปิโตรเลียมฯ ใช้อำนาจมหาชนของรัฐเหนือที่ดินเอกชนและจ่ายค่าทดแทนโดยอาศัยทรัพย์สินของรัฐ มูลค่าทางบัญชีประมาณ 1,137 ล้านบาท และ 3.ทรัพย์สินที่เป็นระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติและท่อจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ ซึ่งรวมทั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในที่ดินตามข้อ (1) และ (2) มีมูลค่าทางบัญชีประมาณ 15,037 ล้านบาท โดยทรัพย์สินซึ่งเป็นที่ดินเวนคืนข้างต้นนั้น กรมธนารักษ์และบริษัทจะได้ร่วมกันดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเพื่อให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนต่อไป