นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลมีแผนจะก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าหลายเส้นทาง ดังนั้น จึงมีแนวนโยบายที่จะมอบหมายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ให้ศึกษารวบรวมว่าในอนาคตทั้ง รฟม. และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีความจำเป็นต้องใช้ตู้รถไฟมากน้อยเพียงใด และคิดเป็นจำนวนกี่ขบวน เพื่อจะได้นำมากำหนดแนวทางในการจัดหาขบวนรถที่มีต้นทุนต่ำที่สุด จากเดิมที่มีการสั่งซื้อมาจากต่างประเทศทั้งหมด ดังนั้นเพื่อให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้ในอนาคต เห็นว่าประเทศไทยจะต้องจริงจังในการพัฒนาระบบขนส่งทางราง จึงมีความจำเป็นต้องใช้ขบวนรถจำนวนมากกว่า 1,000 ขบวน ฉะนั้นอาจคุ้มค่าหากจะให้มีการอนุญาตให้จัดตั้งโรงงานเพื่อประกอบชิ้นส่วนขบวนรถในประเทศไทย แทนการสั่งนำเข้าสำเร็จรูปเหมือนที่ผ่านมา และเชื่อว่าทั้ง รฟท. และ รฟม. จะเลือกแนวทางที่จะทำให้ประเทศไทยได้รับขบวนรถไฟฟ้าที่ถูกและคุ้มค่ามากที่สุด
นอกจากนี้ รฟท.จะต้องเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรให้มีความรู้ความชำนาญในการซ่อมบำรุง หัวรถจักร รวมถึงเทคโนโลยีต่างๆ ของรถไฟฟ้าที่จะนำมาใช้ในประเทศไทยในอนาคต เพื่อไม่ต้องพึ่งบริษัทเจ้าของเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวในกรณีที่อาจเกิดปัญหาขึ้นกับการเดินรถ ซึ่งอาจส่งเจ้าหน้าที่ไปฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการกับบริษัทที่ได้สั่งนำเข้ารถไฟฟ้า หรือการฝึกอบรมภายในประเทศ
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมบุคลากรของ รฟท.ในการดูแลการเดินรถ ซ่อมบำรุงรถไฟในเส้นทางต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ทั้งช่วงรังสิต-บางซื่อ และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน รวมถึงการบริหารจัดการโครงการรถไฟทางคู่ที่จะเกิดขึ้นหลายเส้นทาง เพื่อรองรับกับความต้องการในการขนส่งสินค้า และผู้โดยสารในอนาคต
ทั้งนี้ ยอมรับว่า รฟท.ยังประสบปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญในเรื่องนี้ค่อนข้างมาก รวมถึงใช้บุคลากรไม่ตรงกับความรู้ความสามารถทำให้การปฏิบัติงานไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
นอกจากนี้ รฟท.จะต้องเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรให้มีความรู้ความชำนาญในการซ่อมบำรุง หัวรถจักร รวมถึงเทคโนโลยีต่างๆ ของรถไฟฟ้าที่จะนำมาใช้ในประเทศไทยในอนาคต เพื่อไม่ต้องพึ่งบริษัทเจ้าของเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวในกรณีที่อาจเกิดปัญหาขึ้นกับการเดินรถ ซึ่งอาจส่งเจ้าหน้าที่ไปฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการกับบริษัทที่ได้สั่งนำเข้ารถไฟฟ้า หรือการฝึกอบรมภายในประเทศ
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมบุคลากรของ รฟท.ในการดูแลการเดินรถ ซ่อมบำรุงรถไฟในเส้นทางต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ทั้งช่วงรังสิต-บางซื่อ และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน รวมถึงการบริหารจัดการโครงการรถไฟทางคู่ที่จะเกิดขึ้นหลายเส้นทาง เพื่อรองรับกับความต้องการในการขนส่งสินค้า และผู้โดยสารในอนาคต
ทั้งนี้ ยอมรับว่า รฟท.ยังประสบปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญในเรื่องนี้ค่อนข้างมาก รวมถึงใช้บุคลากรไม่ตรงกับความรู้ความสามารถทำให้การปฏิบัติงานไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร