นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยสกัดเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ลงร้อยละ 0.75 นับว่าเป็นการปรับลดดอกเบี้ยในอัตราที่ค่อนข้างสูง ซึ่งมีผลกระทบต่อไทยทั้งบวกและลบ ทั้งนี้ การที่เฟดประกาศว่าจะลดอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องหากสถานการณ์ยังจำเป็น แสดงให้เห็นว่าหลายประเทศเริ่มวางใจในการแก้ปัญหาซับไพร์มของสหรัฐฯ มากขึ้น ทั้งนี้การที่เฟดเข้ามาแก้ปัญหาซับไพร์มฉุกเฉินจะช่วยให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ทรุดตัวลงมากและฟื้นเศรษฐกิจได้ร้อยละ 1 - 1.5 ในปีนี้ และทำให้เกิดความมั่นใจในตลาดสหรัฐฯ มากขึ้น และไม่ทำให้เศรษฐกิจโลกมีปัญหาและเติบโตได้ร้อยละ 3 ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการส่งออกไทยในระยะยาว โดยการส่งออกไทยปีนี้จะเป็นไปตามเป้าที่ร้อยละ 10 - 12.5 และเศรษฐกิจไทยจะเติบโตใกล้เคียงร้อยละ 5 ส่วนแนวโน้มการปรับลดดอกเบี้ยในอนาคตของเฟดจะทำให้ตลาดหุ้นหยุดการทรุดตัวลงและปรับตัวดีขึ้น นักลงทุนจะกล้าเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นมากขึ้น ที่สำคัญเป็นการหยุดราคาน้ำมันและทองคำที่พุ่งสูงขึ้นด้วย โดยราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีโอกาสกลับมาอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในไตรมาสสุดท้ายของปี
นายธนวรรธน์ กล่าวอีกว่า การปรับลดดอกเบี้ยยังส่งผลลบต่ออัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนค่าลงทำให้ค่าเงินเอเชียแข็งค่าขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อไทยที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นทำให้นักลงทุนหันมาลงทุนในไทยมากขึ้น เพราะผลตอบแทนดอกเบี้ยต่างจากสหรัฐฯ มาก ในขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย จำเป็นต้องเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทและผู้ประกอบการที่ใช้วัถุดิบในประเทศเป็นหลักจะได้รับผลกระทบ
นายธนวรรธน์ กล่าวอีกว่า การปรับลดดอกเบี้ยยังส่งผลลบต่ออัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนค่าลงทำให้ค่าเงินเอเชียแข็งค่าขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อไทยที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นทำให้นักลงทุนหันมาลงทุนในไทยมากขึ้น เพราะผลตอบแทนดอกเบี้ยต่างจากสหรัฐฯ มาก ในขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย จำเป็นต้องเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทและผู้ประกอบการที่ใช้วัถุดิบในประเทศเป็นหลักจะได้รับผลกระทบ